มีนาคม 29, 2024

    จับตา APEC 2022 ประชาชนอยู่ตรงไหนในความร่วมมือนี้?

    Share


    APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) เป็นเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งเมื่อปี 1989 มีเป้าหมายหลัก คือส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน และความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น ด้านเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค

    แถมปีนี้ประเทศไทย มีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพ โดยให้ความสำคัญกับการปรับตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ยุคหลัง Covid-19 โดยกำหนดหัวข้อหลักคือ Open. Connect. Balance. หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” ทั้งนี้ ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG) มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้ โดยการประชุมสัปดาห์ผู้นำเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders’ Week: AELW) จะจัดขึ้นในวันที่ 14-19 พฤศจิกายน ที่จะถึงนี้

    อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็เห็นว่ามันฟังดูดีมากๆ แล้วทำไมเราต้องจับตาการประชุม APEC ในรอบนี้ด้วยละ? หรือมันมีอะไรซ่อนอยู่ในประชุมครั้งนี้

    BCG ยั่งยืนบนสมดุลของใคร?


    BCG โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ APEC ครั้งนี้ ที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดัน เพื่อพัฒนาสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ได้ระบุสาระสำคัญหลัก 4 เรื่อง คือ

    1.การจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศที่รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

    2.การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน

    3.การบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

    4.การลดและบริหารจัดการของเสีย

    โดยดำเนินการภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์สำคัญตามนี้

    1. การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ มีตัวชี้วัด

    2. การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่

    3. การยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

    4. การเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

    แน่นอนว่าถ้าทำได้จริงก็คงดี แต่… พอมาดูกลุ่มคนที่กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG แล้วน่าตกใจ เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ กลุ่มอดีตข้าราชการระดับสูง และเครือข่ายของอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของประเทศ แทบทั้งสิ้น จากรายงานของกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ระบุรายชื่อกลุ่มทุนที่เข้าไปบริหารและขับเคลื่อน BCG ไว้ดังนี้

    1) คณะกรรมการบริหาร  มี 2 คณะ โดยคณะกรรมการชุดใหญ่ หรือ “คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว” มีจำนวนทั้งสิ้น 23 คน มีนายกเป็นประธาน ในจำนวนนี้มี 9 คนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบไปด้วยอดีตข้าราชการจำนวน 4 คน (นายปิยะสกล สกลสัตยาทร นายยุคล ลิ้มแหลมทอง นายไพรัช ธัชยพงษ์ นายวิจารย์ สิมาฉายา) และภาคเอกชนรายใหญ่ 5 คนได้แก่ 1)นายอิสระ ว่องกุศลกิจ- บริษัทมิตรผล 2)นายเทวินทร์ วงศ์วานิช- รองประธานกรรมการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด มหาชน ในเครือไทยเบฟ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 3) นายกลินท์ สารสิน-อดีตประธานสภาหอการค้าไทย ผู้บริหาร SCG trading 4)นายธีรพงศ์ จันศิริ-ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในอุตสาหกรรมอาหารทะเล 5) นายกฤษณ์ ณ ลำเลียง (มีนามสกุลเดียวกับ นายชุมพล ณ ลำเลียง ผู้บริหารใหญ่ของเครือ SCG) บอร์ดของสภาดิจิทัล ร่วมกันอิสว์ เตาลานนท์ (นามสกุลเดียวกันกับ อาชว์ เตาลานนท์ ผู้บริหารระดับสูงของซีพี) ที่มี ศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นประธาน

    และส่วน “คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model” มี 29 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นประธาน คณะกรรมการมีรายชื่อใกล้เคียงกับกรรมการชุดแรก เพียงแต่เพิ่ม นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อีก 1 คนร่วมเป็นกรรมการ

    2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน  สาขาต่างๆ ซึ่งชัดเจนว่าเต็มไปด้วยตัวแทนของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่เต็มไปหมด ตัวอย่างเช่น

    คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนด้านอาหาร มีกรรมการรวมทั้งสิ้น 17 คน ประธานคือ นายธีรพงศ์ จันศิริ-ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป กรรมการประกอบไปด้วยตัวแทนของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับชาติ โดยเฉพาะด้านเกษตร อาหาร และค้าปลีก ได้แก่ 1)เจริญโภคภัณฑ์ 2)ไทยเบฟ 3)มิตรผล 4) เบทาโกร 5)เอสซีจี 6)สยามมอดิฟายด์สตาร์ช (กลุ่มหวั่งหลี)

    คณะอุนกรรมการสาขานวัตกรรม  ประธานคือ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ เจ้าของกลุ่มมิตรผล และกรรมการประกอบไปด้วย

    นายประวิทย์ ประกฤตศรี (กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน กลุ่มมิตรผล)

    ผู้แทนบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท พูแรค (ประเทศไทย) จำกัด

    ผู้แทนบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด

    ผู้แทนบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ปูนชิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท โรงเส้นหมี่ชอเฮง จำกัด

    ผู้แทนบริษัท สยาม มอดิฟายด์ สตาร์ช จำกัด

    นางฐิตาภา สมิตินนท์ (เป็นทั้งรองผู้อำนวยการสวทช.และกรรมการบริษัทบีบีจีไอ ซึ่งทำธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ)

    เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ที่ฟังดูแล้วน่าจะเป็นแนวการพัฒนาที่ดูดี น่าจะทำให้ประเทศไทยดูดีในสายตานานาประเทศขึ้นมาบ้าง แต่พอเห็นแบบนี้ แล้วชักไม่แน่ใจว่าจะเกิดสมดุลกับใครกันแน่ และประชาชนอยู่ตรงไหนของความยั่งยืนนี้?


    อ้างอิงจาก

    -APEC 2022 และแผนปฏิบัติการ BCG เพื่อผลประโยชน์ใคร ? โดย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) https://prachatai.com/journal/2022/10/101145

    -เปิดเอกสารแต่งตั้งกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่เป็นคณะขับเคลื่อน BCG

    BCG โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของ APEC ครั้งนี้ ที่รัฐบาลไทยพยายามผลักดัน เพื่อพัฒนาสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น ได้ระบุสาระสำคัญหลัก 4 เรื่อง คือ

    1.การจัดการปัญหาสภาพภูมิอากาศที่รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

    2.การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน

    3.การบริหารจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืนและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

    4.การลดและบริหารจัดการของเสีย

    โดยดำเนินการภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์สำคัญตามนี้

    1. การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรมด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ มีตัวชี้วัด

    2. การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่

    3. การยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจ BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน

    4. การเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก

    แน่นอนว่าถ้าทำได้จริงก็คงดี แต่… พอมาดูกลุ่มคนที่กำหนดทิศทางและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG แล้วน่าตกใจ เพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ กลุ่มอดีตข้าราชการระดับสูง และเครือข่ายของอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของประเทศ แทบทั้งสิ้น จากรายงานของกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ระบุรายชื่อกลุ่มทุนที่เข้าไปบริหารและขับเคลื่อน BCG ไว้ดังนี้

    1) คณะกรรมการบริหาร  มี 2 คณะ โดยคณะกรรมการชุดใหญ่ หรือ “คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว” มีจำนวนทั้งสิ้น 23 คน มีนายกเป็นประธาน ในจำนวนนี้มี 9 คนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประกอบไปด้วยอดีตข้าราชการจำนวน 4 คน (นายปิยะสกล สกลสัตยาทร นายยุคล ลิ้มแหลมทอง นายไพรัช ธัชยพงษ์ นายวิจารย์ สิมาฉายา) และภาคเอกชนรายใหญ่ 5 คนได้แก่ 1)นายอิสระ ว่องกุศลกิจ- บริษัทมิตรผล 2)นายเทวินทร์ วงศ์วานิช- รองประธานกรรมการ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด มหาชน ในเครือไทยเบฟ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 3) นายกลินท์ สารสิน-อดีตประธานสภาหอการค้าไทย ผู้บริหาร SCG trading 4)นายธีรพงศ์ จันศิริ-ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในอุตสาหกรรมอาหารทะเล 5) นายกฤษณ์ ณ ลำเลียง (มีนามสกุลเดียวกับ นายชุมพล ณ ลำเลียง ผู้บริหารใหญ่ของเครือ SCG) บอร์ดของสภาดิจิทัล ร่วมกันอิสว์ เตาลานนท์ (นามสกุลเดียวกันกับ อาชว์ เตาลานนท์ ผู้บริหารระดับสูงของซีพี) ที่มี ศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นประธาน

    และส่วน “คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model” มี 29 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นประธาน คณะกรรมการมีรายชื่อใกล้เคียงกับกรรมการชุดแรก เพียงแต่เพิ่ม นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อีก 1 คนร่วมเป็นกรรมการ

    2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน  สาขาต่างๆ ซึ่งชัดเจนว่าเต็มไปด้วยตัวแทนของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่เต็มไปหมด ตัวอย่างเช่น

    คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนด้านอาหาร มีกรรมการรวมทั้งสิ้น 17 คน ประธานคือ นายธีรพงศ์ จันศิริ-ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป กรรมการประกอบไปด้วยตัวแทนของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับชาติ โดยเฉพาะด้านเกษตร อาหาร และค้าปลีก ได้แก่ 1)เจริญโภคภัณฑ์ 2)ไทยเบฟ 3)มิตรผล 4) เบทาโกร 5)เอสซีจี 6)สยามมอดิฟายด์สตาร์ช (กลุ่มหวั่งหลี)

    คณะอุนกรรมการสาขานวัตกรรม  ประธานคือ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ เจ้าของกลุ่มมิตรผล และกรรมการประกอบไปด้วย

    นายประวิทย์ ประกฤตศรี (กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน กลุ่มมิตรผล)

    ผู้แทนบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท พูแรค (ประเทศไทย) จำกัด

    ผู้แทนบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท บางซื่อโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัด

    ผู้แทนบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท ปูนชิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

    ผู้แทนบริษัท โรงเส้นหมี่ชอเฮง จำกัด

    ผู้แทนบริษัท สยาม มอดิฟายด์ สตาร์ช จำกัด

    นางฐิตาภา สมิตินนท์ (เป็นทั้งรองผู้อำนวยการสวทช.และกรรมการบริษัทบีบีจีไอ ซึ่งทำธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ)

    เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ที่ฟังดูแล้วน่าจะเป็นแนวการพัฒนาที่ดูดี น่าจะทำให้ประเทศไทยดูดีในสายตานานาประเทศขึ้นมาบ้าง แต่พอเห็นแบบนี้ แล้วชักไม่แน่ใจว่าจะเกิดสมดุลกับใครกันแน่ และประชาชนอยู่ตรงไหนของความยั่งยืนนี้?

    อ้างอิงจาก

    -APEC 2022 และแผนปฏิบัติการ BCG เพื่อผลประโยชน์ใคร ? โดย กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) https://prachatai.com/journal/2022/10/101145

    -เปิดเอกสารแต่งตั้งกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่เป็นคณะขับเคลื่อน BCG

    “คาร์บอนเครดิต” ยั่งยืนหรือฟอกเขียว


    คาร์บอนเครดิต อีกเรื่องสำคัญที่กำลังถูกหยิบยกมาพูดในเวที APEC เพื่อหารือกับนานาประเทศนั้น หลายคนอาจเคยได้ยินคำนี้บ่อยๆ และอาจมีข้อสงสัยว่าคืออะไร จะรับมือกับสภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

    คาร์บอนเครดิต (Carbon credit) หมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณและสามารถนำไปซื้อขายในตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ อธิบายให้เข้าใจแบบง่ายคือ สิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมสร้างขึ้นมาโดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อลดภาวะเรือนกระจกและรักษาสิ่งแวดล้อมโดยแปลงมาเป็นคาร์บอนเครดิตแล้วนำมาซื้อขายกันในตลาดกลาง โดยธุรกิจที่ซื้อคาร์บอนเครดิตก็สามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ แต่หากมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่สูงเกินเกณฑ์จะต้องหาเครดิตมาชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้น และหากธุรกิจที่ซื้อคาร์บอนเครดิตไปได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าเกณฑ์  ในส่วนที่เหลือนั้นก็สามารถนำไปขายต่อให้กับบริษัทที่ปล่อยสูงเกินเกณฑ์ได้นั่นเอง

    ที่งงคือแล้วทำไมภาคอุตสาหกรรมถึงไม่แก้ปัญหาที่ตัวเอง เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว น่าจะยั่งยืนกว่าหรือเปล่า หรือนี่จะเป็นการฟอกเขียวให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถทำอะไรได้ตามใจชอบ ผ่านการซื้อเครดิตสิ่งแวดล้อมอย่างนั้นเหรอ อันนี้ไม่เข้าใจจริงๆ

    ในปัจจุบันการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกมีทั้งหมด 2 วิธี ดังนี้

    1. วิธีธรรมชาติ โดยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในต้นไม้ และดิน ซึ่งวิธีการนี้ใช้ต้นทุนน้อยและสามารถปฏิบัติได้ทันที

    2. การใช้เทคโนโลยี (ภาคอุตสาหกรรม) อาทิ ชีวภาพ ชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ ปุ๋ยหมัก ซึ่งวิธีการนี้ใช้ต้นทุนสูง และยังต้องการใช้เวลาในการวิจัยและพัฒนา 

    ประเทศไทยเองได้มีการพิจารณาให้ภาคป่าไม้เข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว บนแพลตฟอร์มการขับเคลื่อน BCG และเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก (GHG : Green House Gas) ของประเทศไทย

    ปริมาณคาร์บอนเครดิต 1 ตัน เท่ากับปริมาณไม้แค่ไหน และปัจจุบันราคาอยู่ที่เท่าไหร่? หากเปรียบเทียบไม้ปริมาณ 1 ลูกบาศเมตร สามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 ตัน โดยปี 2565 นี้ ราคาเฉลี่ยคาร์บอนเครดิตอยู่ที่ 107.23 บาทต่อตัน

    แล้วจะเอาที่ดินตรงไหนมาทำโครงการ?

    1. พัฒนาสวนป่าเชิงพาณิชย์ สวนวนเกษตร สวนเกษตรที่มีอยู่แล้ว เช่น ยางพารา ปาล์ม

    2. ที่ดินเอกชน ที่รกร้างว่างเปล่า ที่ดินที่ไม่เหมาะกับการทำการเกษตร

    3. พื้นที่ของรัฐที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์

    4. พื้นที่ป่าไม้ เช่น ป่าสงวน ที่มีการออกเอกสารสิทธิ์ อาทิ สปก. ที่ดินคทช. หรือพื้นที่เสื่อมโทรม

    ทั้งนี้พื้นที่ที่จะทำโครงการจะต้องมีเอกสารสิทธิ์ หรือได้รับอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งรัฐมีนโยบายการแบ่งปันจากพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ในพื้นที่ของรัฐโดยแบ่งเป็นสัดส่วนคาร์บอนเครดิต ดังนี้ ร้อยละ 90 ให้กับเอกชนที่เข้ามาสัมปทาน และร้อยละ 10 ให้กับหน่วยงานรัฐเจ้าของพื้นที่ โดยเป้าหมายยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี ในปี 2580 กำหนดว่าจะต้องมีการปลูกป่าในพื้นที่เอกชน 51.14%  พื้นที่สปก. 34.78% และพื้นที่คทช./ป่าถาวร 14.08% 

    ซึ่งประเทศไทยมีการซื้้อขายคาร์บอนเครดิตตั้งแต่ปี 2560 แล้ว มีการประกาศเปิดแพลตฟอร์มซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประเทศไทย ในวันที่ 21 กันยายน 2565 ทั้งในภาคบังคับ (ภายใต้พิธิสารเกียวโต) ตั้งแต่ปี 2005 และภาคสมัครใจ (ภายใต้มาตรฐานต่างๆ เช่น VCS Gold standard) และประเทศไทยเองได้มีมาตรฐานการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคสมัครใจภายใต้โครงการ  T-VERs

    สิ่งที่ต้องตั้งคำถามต่อไป ก็มีเยอะมากๆ ระบุออกมาเป็นข้อๆ คือ 

    1. หากกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยหรือนายทุนเข้ามาเป็นเจ้าของป่าไม้เพื่อดำเนินการซื้อขายคาร์บอนเครดิตหรือการเข้าไปเป็นเจ้าของพื้นที่ในการปลูกป่านั้นจะเกิดปัญหาหรือความคัดแย้งเรื่องที่ดินกับชาวบ้านได้ เนื่องจากการที่จะเข้าโครงการปลูกต้นไม้เพื่อซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้นั้นพื้นที่ปลูกจะต้องมีเอกสารสิทธิ์ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์อะไรเลยด้วยซ้ำ 

    2. โครงการนี้จะทำให้ชาวบ้านมีรายได้ มีอาชีพจากการปลูกต้นไม้เพื่อขายคาร์บอนเครดิต แต่ชาวบ้านที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ กลุ่มคนเหล่านี้จะเข้าถึงโครงการดังกล่าวได้อย่างไร 

    3. โครงการนี้อาจเป็นการตอบสนองเพียงกลุ่มนายทุนต่างชาติ และกลุ่มคนที่มีเงินที่ครอบครองที่ดินได้เท่านั้นหรือไม่ หากเป็นเช่นนนั้นคนจนอาจถูกบีบบังคับให้ออกจากพื้นที่ที่เคยอาศัยอยู่

    4. ต่อไปในภายภาคหน้าที่ดินอาจมีราคาสูงขึ้น และคนจนเองไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อที่ดินเหล่านั้นได้ อีกทั้งโครงการยังกำหนดว่าพื้นที่ต้องมีขนาด 10 ไร่ขึ้นไปนั้นยิ่งเป็นการตอกย้ำโอกาสและสิทธิในการเข้าถึงของคนจน

    5. เมื่อถึงระยะเวลา 7-10 ปี ที่คำนวนคาร์บอนเครดิตแล้วจะต้องมีการตัดไม้เหล่านั้นเพื่อที่จะต้องปลูกใหม่ และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่จะต้องตัดไม้ กระบวนการหรือขั้นตอนในการตัดไม้ในพื้นที่ตนเองนั้นจะมีความยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่? เนื่องจากปัจจุบันการจะตัดต้นไม้ในพื้นที่ของตนเองนั้นมีกระบวนการและขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าจะตัดต้นไม้ได้ อีกทั้งหากปลูกต้นไม้หลากหลายชนิดขั้นตอนในการขอตัดต้นไม้แต่ละชนิดต่างกันหรือไม่?


    อ้างอิงจาก

    องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) http://www.tgo.or.th/2020/index.php/th/ 

    MGR online ส่องเทรนด์ซื้อขาย “คาร์บอนเครดิต” ปลูกต้นไม้ 58 พันธุ์ มีเงินเหลือเก็บ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดก๊าซเรือนกระจก https://mgronline.com/daily/detail/9650000103317 

    การสัมมนาหัวข้อ “อุตสาหกรรมป่าไม้: สู่เศรษฐกิจคาร์บอนเป็นกลาง” https://www.youtube.com/watch?v=45_cdYCc-mM&ab_channel=NSTDAChannelTVstation 

    ปลดล็อคกฎหมาย ทุนใหญ่เดินสะดวก


    ความน่าตกใจที่ซุกซ่อนอยู่ใน APEC ครั้งนี้ พ่วงแถมมาด้วย การปลดล็อคกฎหมาย ที่ทำให้ฝ่ายผู้ได้รับประโยชน์เดินสะดวกมากยิ่งขึ้นไปอีก ข้อมูลของกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch) ได้ระบุไว้ว่า มีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการแก้กฎหมายที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์นั้นระบุอย่างชัดเจน คือ

    1. ผลักดันร่างพ.ร.บ.ความหลากหลาย โดยจะผนวกเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีการระบุอย่างชัดเจนว่าต้องการให้เปิดการปลูกพืชจีเอ็มโอ รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับการดัดแปลงยีน (gene editing)

    2. แก้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช 2542 เพื่อแก้นิยามพันธุ์พืชพื้นเมือง ซึ่งสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทยที่มีสมาชิกสำคัญคือบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติและบริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ของไทยตั้งเป้าให้มีการแก้ไขมานาน เพื่อให้สามารถขอรับการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ได้โดยง่าย  และหลีกเลี่ยงการแบ่งปันผลประโยชน์ในกรณีที่นำพันธุ์พืชพื้นเมืองไปใช้ประโยชน์ (เพียงแต่นำพันธุ์พืชพื้นเมืองไปผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์เสียก่อน ก็จะไม่ถือว่าเป็นพันธุ์พืชพื้นเมือง)

    3. แก้พ.ร.บ.พันธุ์พืช 2518 ให้รวมส่วนขยายพันธุ์ที่มาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่

    4. แยกประเภทโรงงานอุตสาหกรรมชีวภาพออกจากเคมีภัณฑ์ อนุญาตให้เอากากอุตสาหกรรมมาใช้ใหม่ แก้นิยามในกฎหมาย

    5. ปรับปรุงมาตรการภาษีสรรพสามิตสร้างมูลค่าเพิ่มแอลกอฮอล์แปลงสภาพ[9] เป็นการสร้างแรงจูงใจและแต้มต่อให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ในขณะที่เกษตรกรรายย่อยที่ปลูกอ้อยไม่ได้ประโยชน์อะไร

    6. เร่งรัดการขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์ทางการเกษตร

    7. การอนุญาตให้ใช้ภาชนะพลาสติครีไซเคิลมาบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม การดำเนินการในเรื่องนี้อาจต้องจับตามองผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค

    8. กำหนดสินค้ามาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย

    9. ปลดล็อคข้อจำกัดการรับซื้อขายไฟฟ้า เป็นการเอื้อต่ออุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าของกลุ่มโรงไฟฟ้าชีวมวล กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ประชาชนที่ติดแผงโซลาร์เซลล์อาจไม่ได้ประโยชน์ใดๆกับการปลดล็อคนี้ เพราะผู้กำกับและขับเคลื่อนใน BCG คือกลุ่มทุนขนาดใหญ่ทั้งสิ้น

    10. ปลดล็อคให้เอกชนสามารถลงทุนปลูกป่าในที่ดินของรัฐ โดยจูงใจให้ค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าสามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากร  อีกทั้งมีการรายงานในที่ประชุมระบุว่า บรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ เช่น เชลล์ ได้ให้ความสนใจจะร่วมในโครงการปลูกป่าด้วย ทั้งๆที่จจะส่งผลกระทบต่อการแย่งชิงทรัพยากรของเกษตรกรรายย่อย เนื่องจากมีพื้นที่เป้าหมายในการปลูกป่าใหม่มากถึง 600,000 ไร่ภายในปี 2566

    11. ปรับปรุงระเบียบของเสียให้สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุหมุนเวียน

    12. ปลดล็อคให้มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตอุทยานพื้นที่อนุรักษ์

    แค่ 12 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น คิดตามก็หนาวแล้ว ถ้าถูกปลดล็อกหมด จินตนาการไม่ออกเลยว่าชีวิตของเราจะเป็นยังไง

    มาถึงตรงนี้แล้ว เราอาจจะตั้งคำถามกับตัวเองว่า แล้วเราจะสามารถทำอะไรกับการประชุม APEC ในครั้งนี้ได้บ้าง?เอาแบบง่ายที่สุด และทำได้ง่ายเลยคือ การร่วมจับตาการประชุมในครั้งนี้ไปด้วยกัน ผ่าน

    1.อย่าเพิ่งฟังแค่คำโฆษณาของรัฐบาลเพียงด้านเดียว ตอนนี้ไปที่ไหนก็น่าจะเห็นว่ามีการโปรโมทประชุม APEC หนักมาก! อยากให้ลองติดตามเนื้อหาในการประชุมด้วยว่าจะมีวาระในการประชุมกันในเรื่องอะไรบ้าง ที่สำคัญคือลองย้อนกลับมาที่ตัวเองว่าเนื้อหาการประชุมในเรื่องไหนบ้างที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรา 

    2.ติดตามการเคลื่อนไหวของประชาชน ลองไปดูกันหน่อยว่าภาคประชาชน มีท่าทีต่อ APEC ครั้งนี้ยังไง อย่าเพิ่งด่วนตัดสินว่ามันห่างไกลตัวเรา ลองฟังสิ่งที่แต่ละเครือข่ายพูด ก็น่าจะดีไม่น้อย

    ร่วมจับตา APEC 2022 ไปด้วยกัน!!!

    Related

    ‘ครรภ์ใต้บงการ’ ในเงาสะท้อนรัฐเจริญพันธุ์

    เรียบเรียง: ธันยชนก อินทะรังษี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดงาน...

    อยู่ระหว่างเหนือล่าง ‘เซ็นทรัลนครสวรรค์’ เมื่อ “ห้างใหญ่มีชื่อ” กลายเป็นมาตรวัดการพัฒนา

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลนครสวรรค์ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ กระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นและตื่นตัวแกบรรดาผู้คนในจังหวัดนครสวรรค์รวมถึงผู้คนในจังหวัดรอบข้างอย่างมาก ประกอบกับการโปรโมทห้างเซ็นทรัลนครสวรรค์ที่เราจะพบเห็นได้ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะ...

    ต่า โอะ มู วิถีชีวิตปกาเกอะญอ

    เรียบเรียง: กรองกาญจน์ เกี๋ยงภาลัก, สุทธิกานต์ วงศ์ไชย, อิทธิเดช วางฐานภาพ: จิราเจต จันทร์คำ,...