ช่วยกันเอาความจริงออกมา’ ศิลปะ ‘ซุกไว้ใต้หมอน’ ของนิสิตจุฬาฯ กลับโดนแจ้งความ ม.112

เรื่อง: พิชญ์สินี ชัยทวีธรรม

รายงานชิ้นนี้อยู่ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 7 มี.ค.2566 ทางเว็บไซต์ ประชาไท

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซุกอะไรไว้ใต้หมอน

ซุกไว้ใต้หมอน ของ เพชรนิล สุขจันทร์ นักศึกษาคณะศิลปกรรมปี 3 เทอม 2  จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัยได้จัดแสดงงานที่มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2566 และโพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวของตน ในวันที่ 25 ม.ค.ทีผ่านมา พร้อมคำอธิบายงาน

“เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ความขัดแย้งกันของความหมายในสโลแกนสำคัญ ในโลกทุนนิยมที่จุฬาฯเองไม่ได้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง แต่จุฬาฯรับใช้ผู้มีอำนาจและนายทุน โดยเฉพาะผู้บริหาร ในขณะที่นิสิต ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมเพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของตัวนิสิตเองและมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งสำคัญ เช่น เรื่องการรื้อถอนโรงภาพยนต์สกาล่า สิทธิการชุมนุมในรั้วมหาลัยไม่ใช่เรื่องผิด การไล่ที่ชุมชนสามย่าน รวมถึงการรื้อถอนประเพณีที่ล้าหลังอย่างการอัญเชิญพระเกี้ยว ซึ่งทุกๆอย่างเป็นสิ่งที่จุฬาฯไม่ยอมอนุมัติ เพิกเฉยและมักผิดคำสัญญาที่ให้ไว้ เพราะมันขึ้นอยู่กับผู้อยู่เบื้องหลังที่อาจจะไม่ใช่นิสิต แต่คือผู้ที่มีอำนาจ

#เกียรติภูมิจุฬาฯคือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน
#ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียน
สามารถติชมกันได้เหมือนเดิมนิ้นเป็นมือใหม่หัด installed

และรูปภาพผลงานดังกล่าวได้รับคอมเม้นท์จากโซเชี่ยลมีเดียจำนวนมาก ทั้งบวกและลบ โดยในมุมนั้นมองว่าเป็นการทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสื่อมเสียเกียติหรือไม่ จนทางมหาวิทยาลัยต้องออกแถลงการณ์เพื่อขอโทษต่อสังคม รวมทั้ง ‘กลุ่มปกป้องสถาบันกษัตริย์’ เข้าแจ้งความกับ สน.ปทุมวัน โดยอ้างว่าเป็นการด้อยคุณค่าและเสื่อมเสียเกียรติของสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งที่โพสต์รูปผลงานพระเกี้ยวอาหารหมาของเพชรนิล จะเขียนรายละเอียดงานดังกล่าวไว้แล้วก็ตาม

กลุ่มปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์แจ้ง 112 เหตุ เป็นการด้อยค่าสถาบันพระมหากษัตริย์

เฟซบุ๊กเพจ ‘ประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน’ (ปภส.) โพสต์เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่ากลุ่มตนเข้าแจ้งความร้องทุกข์ที่สน.ปทุมวันและยืนยันว่า งานของเพชรนิลเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงนำไปสู่การแจ้งความโดยมี  ตัวแทนภาคีกลุ่มราชภักดี ซึ่งเป็นกลุ่มเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ดำเนินการแจ้งความเพชรนิล

อย่างไรก็ตามในรายการข่าว ‘เจาะข่าวร้อน’ ออกอากาศผ่านช่องยูทูบ ‘TOP News’ เมื่อ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา อุดร แสงอรุณ ผู้ดำเนินรายการ ระบุว่า การกระทำดังกล่าวของนิสิตชั้นปีที่ 2 จากการตีความของนักกฎหมายเบื้องต้นอาจไม่เข้าข่ายมาตรา 112 แต่ยังมองว่าเป็นการด้อยค่าตราสัญลักษณ์ พระเกี้ยว ของจุฬาฯ 

ที่มาของงาน

ซุกไว้ใต้หมอน ขนาดผันแปรตามพื้นที่ Installation art / Mixed Media

ในโอกาสนี้จึงได้สัมภาษณ์ เพชรนิล เจ้าของผลงานที่เป็นประเด็นดังกล่าว เพื่อเข้าใจที่มาของงานศิลปะนี้ ซึ่งเธอเล่าว่า เป็นวิชาเรียนจากปี 3 เทอม 1 Advance Creative ซึ่งเปิดอิสระให้ทำงานอะไรก็ได้ ซึ่งจะมีหัวข้อกำหนดให้ ซึ่งเทอม 2 ต้องหัวข้อไม่ซ้ำ เทคนิคที่เปิดกว้างมากกว่าก็เดิม หัวข้อรอบนี้คือคำว่า Head (หัว) ซึ่งจะทำงานออกมาแบบไหนก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับหัว เช่น จะเอาสีจุ่มหัวตัวเองก็ทำได้ ประติมากรรมที่เกี่ยวกับหัว จะเป็นเทคนิคแบบไหนก็ได้ไม่จำกัด โดยมีเวลาจำกัด 1 สัปดาห์ ซึ่งพระเกี้ยว เป็นเครื่องหัว ก็ยังอยู่ในหัวข้อที่วิชาเรียนกำหนดมา แม้จะมีเวลาที่จำกัดก็ตาม 

เพชรนิล เจ้าของผลงานที่เป็นประเด็นดังกล่าว

“ตอนนั้นนึกถึงความเชื่อ ชายเป็นใหญ่ อย่าง ชฎา มงกุฎ นึกถึงอำนาจทางเพศที่มีอยู่ในสังคม โดยเฉพาะเพศชายที่สามารถสั่งให้ผู้หญิงทำอะไรตามใจตัวเองได้ แต่มันแพงเกินไป เลยเปลี่ยนเป็นงานที่สื่อถึงอำนาจและอยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้น เลยออกมาเป็นพระเกี้ยว ก็เป็นของที่อยู่ในราคาที่เราจ่ายไหวด้วย” เจ้าของผลงาน ‘ซุกไว้ใต้หมอน’ กล่าว

ซึ่งภายหลังเปลี่ยนเป็นพระเกี้ยว เพราะสอดคล้องกับชีวิตของ เพชรนิล ที่เรียนอยู่ที่จุฬา เลยใช้รัดเกล้า และอุปกรณ์อื่นๆ จากสำเพ็ง ส่วนชิ้นที่เป็นผ้า ก็ตัดเย็บขึ้นเองจากผ้า และที่สำคัญอยู่ใกล้ชิดกับชีวิตของศิลปิน

เพชรนิล เล่าถึงขั้นตอนการเตรียมงานชิ้นนี้และแนวคิดก่อนที่จะออกมาเป็นผลงาน ซุกไว้ใต้หมอน โดยเพชรนิลเองก็ใช้เงินที่ได้จากที่บ้านในการซื้อของมาทำผลงานชิ้นนี้จากสำเพ็ง

สัญญาที่ไม่เคยได้รับการตอบรับ

“สัญญาของทางมหาวิทยาลัยที่ได้ให้ไว้กับนักศึกษา เช่น เอกสารที่หมอนทับอยู่ภายใต้หมอนที่จัดแสดงงาน จนล้นออกมา เพราะมีเรื่องที่ทางนิสิตยื่นไปมากมาย แต่ไม่มีอะไรตอบกลับหรือดำเนินการใดๆจากทางมหาวิทยาลัย และในฐานะนิสิตของทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เข้าถึงผู้บริหารของทางมหาวิทยาลัยได้โดยง่าย” เพชรนิล กล่าว และเล่าถึงปัญหาอย่างหนึ่งที่ประสบด้วยตัวเองในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ คือ คณะศิลปกรรม จุฬา ขาดพื้นที่ในการจัดแสดงงาน และพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักศึกษาคณะนี้ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งปัญหามากมายที่เคยถูกร้องเรียนจากทางนักศึกษา และไม่ได้รับการตอบรับหรืออธิบายคำตอบให้แก่นักศึกษา จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทางมหาวิทยาลัยซุกไว้ใต้หมอน และไม่ได้มีการอธิบายใดๆจากทางมหาวิทยาลัย

ตัวอย่างหนังสือข้อเรียกร้องที่ไม่ได้รับการตอบรับ และถูกนำมาใช้ประกอบผลงานนี้

นิสิตก็คือประชาชนที่มหาวิทยาลัยต้องรับฟังปัญหา และดำเนินการ

เจ้าของผลงาน ‘ซุกไว้ใต้หมอน’  อธิบายสัญลักษณ์อื่นๆ อย่าง ‘อาหารหมา’ หมายถึง การที่จุฬาไม่รับใช้ประชาชน ก็คือนักศึกษา เช่น การที่มหาวิทยาลัย ไม่ตอบรับและไม่มีการอธิบายเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกร้องจากนักศึกษา แต่กลับรับใช้นายทุน โดยการอนุญาตให้เกิดการใช้ประโยชน์ของนายทุน นั่นเท่ากับว่ามหาวิทยาลัยเลือกผลประโยชน์ มากกวา่ความต้องกาารของนักศึกษา อาหารหมาจึงนำมาแทนผลประโยชน์ที่ทางมหาลัยเลือกรับใช้นายทุน เหมือนเป็นรางวัลจากนายทุนมามอบให้กับทางมหาวิทยาลัยแทน

ตัวอย่างหนังสือข้อเรียกร้องต่อมหาวิทยาลัยในประเด็นต่างๆ ในผลงาน ‘ซุกไว้ใต้หมอน’ 

เพชรนิลอธิบายถึงมาหารสุนัขที่นำมาจัดแสดงงานว่า อาหารสุนัขที่นำมาจัดแสดงบนชิ้นงานนี้หมายถึงผลประโยชน์ที่ทางมหาวิทยาลัยได้รับจากนายทุนที่มาร่วมลงทุนกับทางมหาวิทยาลัย ในขณะที่คำร้องเรียนจากนักศึกษา ไร้ซึ่งเสียงตอบกลับและไม่มีการติดต่อ ชี้แจงความคืบหน้าใดๆ กับเรื่องที่นักศึกษาร้องเรียน จึงเหมือนกับว่ามหาวิทยาลัยให้ความสนใจไปที่ผลประโยชน์จากนายทุน และหลงลืมหน้าที่ในการดูแลนักศึกษา จึงไม่ต่างจากสุนัขที่รอรับใช้และได้รางวัลจากเจ้าของ

บันได ในวันที่ส่งงาน ผลงานชิ้นนี้เป็น installatione art ซึ่งพื้นที่จัดแสดงงานในตึกคณะมีพื้นที่ไม่เพียงพอและไม่เอื้ออำนวยต่อการแสดงผลงานชิ้นนี้ และชิ้นงานนี้สื่อสารถึงการใช้พื้นที่สาธารณะที่มหาวิทยาลัยไม่สามารถจัดหาให้นิสิตได้ ศิลปินจึงใช้บันไดแท้งค์น้ำของตึกเรียนของคณะตัวเองจัดแสดงงาน เพื่อสื่อสารถึงระบบชนชั้น โดยมีผลประโยชน์อยู่สูงกว่าจุฬา อาหารหมาจึงถูกจัดวางให้อยู่ขั้นบันไดขั้นสูงกว่าพระเกี้ยวแทนซึ่งยังมีปัญหาของจุฬาที่มากมายกว่าแค่ตัวอย่าง 5 แผ่น ที่ถูกซุกไว้ใต้หมอนพระเกี้ยวอีกด้วยซ้ำ

เพชรนิลเล่าว่า หลังจัดแสดงงานก็ทำความสะอาดพื้นที่จัดแสดงด้วยตัวเอง ไม่ได้รบกวนแม่บ้านแต่อย่างใด เพราะเป็นการรับผิดชอบการใช้พื้นที่ของทางมหาวิยาลัย โดยไม่ต้องรบกวนคนอื่นเพิ่ม

ตัวอย่างหนังสือข้อเรียกร้องที่ไม่ได้รับการตอบรับ และถูกนำมาใช้ประกอบผลงานนี้

สังคมที่ขับเคลื่อนด้วยแรงด่า

“สังคมไทยขับเคลื่อนด้วยแรงด่า เพราะงานด้านบวกไม่ได้รับกระแสนิยม สังคมขับเคลื่อนด้วยการด่า งานที่สื่อถึงปัญหา จึงได้รับความนิยมมากกว่างานด้านบวก” เพชรนิล กล่าว พร้อมสะท้อนถึงความนิยมในผลงานชิ้นนี้ว่าได้รับแรงสนใจมากกว่าที่นำเสนอด้านสวยงามของสังคม เพราะในปัจจุบัน เรามองเห็นปัญหาได้ง่าย และใกล้ตัวมากขึ้น แต่ปัญหาในสังคมทุกวันนี้คือ เรามองเห็นปัญหา แต่ปัญหาเหล่านั้นไม่ได้รับการแก้ไข จึงไม่แปลกที่จะมีคนสนใจงานชิ้นนี้มาก

“คิดว่างานชิ้นนี้น่าจะแมส คนเห็นเยอะและคงมีผลกลับมาที่ตัวเองแน่นอน แต่ก็คิดว่างานนี้คือการนำเสนอความจริง จึงไม่ลบโพสต์และเป็นการยืนยันความจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็ให้เสรีภาพในการนำเสนอ และเป็นห่วงสภาพจิตใจของศิลปิน เพราะหลังงานนี้นำเสนอในโลกออนไลน์ได้มีคนเข้ามาคอมเม้นท์มากกว่า” เจ้าของผลงาน ‘ซุกไว้ใต้หมอน’ กล่าว

การคุกคามศิลปิน

เพชรนิล เล่าถึงการเริ่มถูกคุกคามว่า ตนสังเกตุว่าเริ่มมีคอมเม้นท์ประหลาด เรื่องราวส่วนตัวเริ่มเป็นที่พูดถึงในคอมเม้นท์ออนไลน์อย่างน่าสงสัย ประมาณวันที่ 27 ม.ค. 2566

ตัวอย่างคอมเม้นท์คุกคาม

เธอ อธิบายถึงเหตุการณ์ในโซเชี่ยลออนไลน์ว่า มีคนเข้ามาคอมเม้นท์ที่รูปภาพผลงานของตน ซึ่งตอนแรกก็เป็นการแสดงความคิดเห็นทั่วไป ทั้งพอใจและไม่พอใจ 

ภายหลังวันที่ 27 ม.ค.เพชรนิลได้สังเกตุว่า คอมเม้นท์ที่เข้ามาในผลงานของตน เริ่มพูดถึงเรื่องส่วนตัวของตนมากขึ้น จริงบ้าง เท็จบ้าง แต่ก็เริ่มแปลกใจว่าเกิดอะไรขึ้น 

โดย 2 วันต่อมา (29 ม.ค.66) มีรุ่นพี่ทำงานศิลปะการเมืองและอาจารย์มหาวิทยาลัยเดียวกัน ได้แคปข้อความจากไลน์กลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยที่คุยถึงผลงานของตนเอง โดยบิดเบือนว่านิสิตถูกชักใย ไม่ได้ทำงานด้วยตนเอง และยังมีข้อความเล่าถึงเรื่องส่วนตัว เช่น โรคประจำตัว ได้ถูกพูดออกไป

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้เพชรนิลรู้ว่าเรื่องราวส่วนตัวได้หลุดไปในโซเชี่ยล เผยแพร่สู่คนอื่น จนเกิดข้อความคอมเม้นท์ประหลาดที่พูดถึงเรื่องส่วนตัวของศิลปิน

ไม่มีใครไว้ใจได้

“รู้สึกแย่ ที่อาจารย์เอาเรื่องส่วนตัวของเราถูกอาจารย์เอาไปเล่าสู่คนภายนอก และยังเป็นส่วนหนึ่งให้เรื่องความเป็นส่วนตัวถูกนำมาใช้ในการด่าทอในคอมเม้นท์ออนไลน์ มันก็เป็นการละเมิดสิทธิของเราโดยมีอาจารย์เป็นส่วนหนึ่งในนั้นด้วย” เพชรนิล เล่าความรู้สึก

เมื่อมหาวิทยาลัยเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่บาดลึกอยู่ในใจ

เพชรนิล กล่าวต่อว่า การที่ตนป่วยเป็นซึมเศร้า ส่วนหนึ่งก็คือคณะของเรา เมื่อปีที่แล้วมีอาจารย์ที่เป็นคนสอนในคณะตนลวนลามทางเพศ ซึ่งเรื่องนี้ก็ทำให้ตนไม่อยากลงเรียนสาขาภาพพิมพ์ แม้ตนจะชอบงานภาพพิมพ์มากก็ตาม เพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะต้องเจออาจารย์คนนี้ อาจารย์ลวนลามนักศึกษามานานกว่า 10 ปี และมีรุ่นพี่โตกว่าตน 10 ปีก็เล่าให้ฟังว่าโดนลวนลามโดยอาจารย์คนนี้ มันกลายเป็นอีกเรื่องที่ซุกไว้ใต้หมอนมานานแล้วเช่นกัน

“รู้สึกว่าเป็นปัญหานึงที่ซุกไว้ใต้หมอน ทุกปีจะต้องมีนักศึกษาซักคนที่โดนอาจารย์คนนี้ลวนลาม ตอนนั้นตัวสั่นตลอด ร้องไห้เวลากลับบ้าน” เจ้าของผลงาน ‘ซุกไว้ใต้หมอน’ กล่าว โดยตนเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้าเป็นระยะเวลา 1 ปีแล้ว หลังเกิดการลวนลามจากอาจารย์ในวิชาภาพพิมพ์ เมื่อตอนที่ตนเป็นนักศึกษาปีที่ 2 ซึ่งตนเองก็ต้องดูแลรักษาสุขภาพจิตเอง โดยที่อาจารย์ที่ล่วงละเมิดเพชรนิลนั้น ก็ยังคงดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนในวิชาภาพพิมพ์เช่นเดิม

เพชรนิล ยืนยันว่านี่ก็คืออีกหนึ่งปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข แต่เรื่องนี้ได้โดนจัดการคณบดีไปแล้ว แต่เราที่เป็นคนแจ้งก็ไม่ได้รับข้อมูลหรือการสื่อสารอะไรกลับมาจากคณะ ว่าเขาจัดการอย่างไร และไม่มีอะไรมั่นใจที่จะทำให้เรารู้ว่าเรื่องนี้จะไม่เกิดปัญหากับนักศึกษาคนอื่นๆ อีก 

แม้เวลาจะผ่านมา 1 ปี แต่เพชรนิลในฐานะที่เป็นนักศึกษาและผู้ที่ถูกกระทำจากอาจารย์ในคณะของตนก็ยังไม่ได้รับความคืบหน้าหรือคำตอบจากทางมหาวิทยาลัยที่สามารถรับรองได้ว่า เหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นกับนักศึกษาคนไหนอีก

แถลงการณ์ขอโทษจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“อาจารย์ถามว่าต้องแถลงการณ์โดยมีเราไปร่วมขอโทษด้วยตนเองไหมนะ ซึ่งเราก็ปฏิเสธ เพราะงานที่เรานำเสนอไม่ได้มีอะไรผิด” เพชรนิลเล่าและยืนยันต่อผลงานของตนวาเป็นการนำเสนอความจริงที่เกิดขึ้นในรั้วมหาวิทยาลัยของตน ซึ่งการพูดถึงปัญหาก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด จึงปฏิเสธการร่วมขอโทษสังคมในแถลงการณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“อาจารย์ถามว่าทำไมถึงทำแบบนี้ คำตอบเราก็คือ เราคือนิสิต คนที่ได้รับผลกระทบเต็มๆก็คือเรา เราพูดได้เต็มปาก ณ ปัจจุบันเราสัมผัสความรู้สึกและเรื่องที่เราไม่เห็นด้วยกับทางมหาวิทยาลัย มันก็ถูกต้องแล้วที่เราจะพูด”

“ทำไมในขณะที่เราเป็นนิสิตอยู่ทำไมเราต้องทนไปจนถึงช่วงเรียนจบแล้วค่อยมาพูด ในเมื่อตอนนี้เราก็อยู่กับปัญหา” เพชรนิล กล่าว

อัษฎางค์ ยมนาคและ ‘ความศิวิไลซ์ในการแสดงออกทางการเมืองด้วยศิลปะ’

ต่อประเด็นผลงานของเพชรนิล นอกจากการแจ้งความดังที่รายงานข้างต้น วันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าว Top News Online รายงานข่าวถึงการโพสต์ของ อัษฎาค์ ยมนาค ต่อผลงานนี้ โดยเป็นการแสดงความเห็นว่า ศิลปะมาคู่กับความศิวิไลซ์ ระบุไว้ว่า

“ศิลปะที่เหมือนการเอาภาพพ่อแม่ตัวเอง มาวางไว้บนบันได ให้คนเหยียบย่ำ
ไม่เชื่อลองเอาภาพพ่อแม่ตัวเอง มาสร้างงานศิลปะแบบนี้ดูได้
นักศึกษาหรือศิลปินบางคน คิดเอาเองว่านี่คือความศิวิไลซ์ในการแสดงออกทางการเมืองด้วยศิลปะ
แต่คนทั่วไปรู้ว่า นี่คือการเปิดเผยตัวตนของคนหรือสถาบันที่ไร้ความศิวิไลซ์
“สำหรับอารยชน การให้เกียรติผู้อื่นคือการให้เกียรติตนเอง และการดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น คือการเปิดช่องให้คนอื่นดูถูกเหยียดหยามตนเอง”
ถ้าคณาจารย์และผู้บริหารของจุฬาฯ แยกไม่ออกว่าอะไรคือความศิวิไลซ์ อะไรคือขยะ หรืออะไรคือส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง อะไรคือการทำลาย อะไรคือการย้ำยี่สถาบันของตน อนาคตและความเป็นจุฬาฯ จะเป็นอย่างไร
อนาคตของเยาวชนและอนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร ถ้าอาจารย์และสถาบันการศึกษา ส่งเสริมนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้ทำลายทุกอย่างที่ดีงามของไทย
ประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพและความเท่าเทียมกัน คือการทำลายทุกอย่างที่เป็นไทย อย่างนั้นหรือ ?
ปัญญาชนแยกแยะไม่ได้ ก็อย่ามีมันเลยสถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติ์ เพราะเรื่องต่ำทรามแบบนี้ ไม่ต้องเรียนหนังสือมาก็ทำได้ งบประมาณหลายพันหลายหมื่นล้านเพื่อสถาบันการศึกษา เอาไปพัฒนาอย่างอื่นเถิด”

จิตวิญญาณแห่งอิสระชนที่ไม่สมยอมกับรูปแบบสังคมเก่าอีกต่อไป

“ยุคสมัยใหม่ของไทยกับตะวันตกมันมีความต่างกันตรงที่ ‘ความสมัยใหม่สังคมตะวันตก’ มันมาควบคู่กับสำนึกเสรีชน อิสระชนที่ไม่สยบยอมกับรูปแบบการปกครองของสังคมแบบเก่าอีกต่อไป” ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าว พร้อมอธิบายถึงสถานการณ์ปัจจุบันสิ่งที่มันเป็นความแตกต่างศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทยกับตะวันตกว่ามีที่มาที่แตกต่างกัน โดยสังคมตะวันตกเกิดยุคสมัยใหม่ของศิลปะคู่มากับการปฏิวัติ ความคิดที่มีเสรีภาพ จิตสำนึกแห่งเสรีชน และอิสระในการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์จึงเกิดขึ้นมาพร้อมกันและมีผลต่องานศิลปะสมัยใหม่ที่สามารถใช้ศิลปะในการวิพากษ์วิจารณ์ได้ทุกอย่าง ไม่เกี่ยวข้องว่าจะเป็นสถาบันใดก็ตาม

ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.)

“จึงได้เกิดการปฏิวัติในฝรั่งเศสกับรัสเซีย ตามมาด้วยยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม การก้าวหน้าในด้านความเป็นเหตุเป็นผลทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ปัจเจกชนขยายศักยภาพของความเป็นมนุษย์ ทลายข้อจำกัดของยุคสมัยลงได้” ทัศนัย กล่าว

“ในขณะที่สังคมไทย ศิลปะสมัยใหม่ในไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมตาม แม้จะเกิดการปฏิวัติ พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร ขึ้นก็ตาม แต่จิตสำนึกของผู้คนเรื่องอิสระภาพ และประชาธิปไตย มีนัยยะความสำคัญอย่างไรต่อพวกเขา โดยเฉพาะศิลปะสมัยใหม่ที่มาพร้อมกับเสรีภาพและประชาธิปไตย ผู้คนยิ่งไม่เข้าใจ”

อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มช. อธิบายถึงรากฐานของเสรีภาพในงานศิลปะว่า ในยุคสมัยหลังการปฏิวัติพ.ศ.2475 ศิลปินที่ได้ศึกษาศาสตร์และศิลป์ตั้งแต่สมัยของอาจารย์ศิลป์ พีระศรีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปกรณ์และส่งต่อวิทยาการของศิลปะให้แก่นักศึกษาในสมัยนั้น ศิลปินที่ได้ศึกษาในยุคสมัยนั้นกลับไม่ได้ส่งต่อรากฐานของคำว่าเจตจำนงค์เสรีภาพและประชาธิปไตยในงานศิลปะ เพียงส่งความคิดในการทำงานรูปแบบโมเดิร์นอาร์ตไม่ส่งต่อแนวคิด ปรัชญาศิลป์และศาสตร์ความคิดอื่นๆที่สร้างโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้นให้แก่ศิลปินรุ่นถัดไป 

ทัศนัยเรียกว่า ‘การไม่ทำหน้าหน้าที่ของศิลปิน’  ทำให้แวดวงการทำงานศิลปะสมัยใหม่ในไทยจึงยังติดอยู่ในกรอบของการทำงานเพื่อให้ศิลปะทำหน้าที่เพียงงานตกแต่งผู้มีอำนาจ ไม่วิพากษ์วิจารณ์และยังสร้างศิลปะที่เป็นเครื่องประดับให้รัฐไทย หรือทำงานศิลปะเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ แต่ไม่ได้คำนึงถึงจิตวิญญาณความเป็นเสรีภาพในสังคมและไม่พูดถึงประชาธิปไตย งานศิลปะในไทยจึงไม่ก้าวหน้าตามยุคสมัย 

“ศิลปะสมัยใหม่ในไทยไม่ทำหน้าที่ในการเชิดชูอิสระชน ไม่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือของการค้นหาความรู้ใหม่ ไม่ทำหน้าที่ของการกรุยทางให้สังคมแห่งเสรีภาพ” อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มช. กล่าว

ศิลปะกิจกรรมทางสังคมแบบหนึ่งที่มันทำหน้าในการสะท้อนเสรีภาพในยุคสมัยนั้น

“สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคือศิลปินสละทิ้งเสรีภาพของตัวเองไปเอาใจเจ้านาย เอาใจคนที่มีอำนาจไม่น่าอับอาย เกิดกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นเช่นนั้น เพราะการที่จะไปวิพากษ์วิจารณ์ห้างร้าน สถาบันการเงินหรือสถาบันใดก็ตามที่เป็นผู้สนับสนุนแนวคิดอนุรักษ์นิยมและประเพณีนิยม แล้วการที่เราไปวิพากษ์วิจารณ์เขา เท่ากับเป็นการสร้างความไม่มั่นคงให้ตัวเอง ซึ่งผมมองว่ามันเป็นความย้อนแย้งในตัวเอง” อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มช. กล่าวพร้อมเล่าถึงบทบาทของศิลปะในไทยว่า ละทิ้งเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งศิลปะควรทำหน้าที่อย่างมีเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ นำพาสังคมไปสู่แนวคิดใหม่ๆ นำพาสังคมไปสู่ความยุติธรรม เพราะศิลปะคือการทลายข้อจำกัดของสิ่งที่เป็นอิสระภาพ 

พระเกี้ยวจะไม่เป็นปัญหา หากแก้ ม.112

“สิ่งที่เขามองเห็นคือผลงานชิ้นนี้จะเป็นสัญลักกษณ์อะไรก็ตามคือการสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ เป็นการปรามาสกษัตริย์ คำถามคือกษัตริย์อยู่ตรงไหนในสังคมไทย” ทัศนัย กล่าว

ตามความเห็นของอาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มช. เล่าถึงสถาบัน เมื่อเป็นสถาบันทางสังคมต้องวิจารณ์ได้เพราะสถาบันนั้นเกี่ยวข้องกับผู้คน สังคม เมื่อเป็นเช่นนั้นสถาบันต่างๆต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่เว้นแม้แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะนั่นก็คือหนึ่งในสถาบันเช่นกัน

ทัศนัยอธิบายเพิ่มเติมว่า ช่วงหลังสมัยใหม่ ตั้งทศวรรษที่ 90 เป็นต้นมา เรียกว่า institution critic หรือการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันได้กลายเป็นประเพณีและวัฒนธรรมใหม่ของศิลปะร่วมสมัย

สถาบันทุกสถาบันเป็นเป้าในการวิพากษ์วิจารณ์ของศิลปิน เช่นสถาบันศิลปะ สถาบันทางการเงิน สถาบันทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม อาจารย์ทัศนัยอธิบายเพิ่มเติมว่า การมีสถาบันในสังคมนั้น มาพร้อมกับโครงสร้างบัญญัติและการลงทัณฑ์ ลงโทษ รวมถึงการสอดส่อง จับตาเพื่อให้ทุกอย่างอยู่ในโครงสร้างของระเบียบตามที่สถาบันต่างๆต้องการ และมนุษย์ทุกคนไม่กล้าละเมิด พร้อมที่จะสำนึกผิด ไม่กล้ามีอิสระภาพ ไม่กล้าที่จะถามตัวเองว่ามีความต้องการสิ่งใด งานศิลปะจึงได้เกิดวัฒนธรรมการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันต่างๆผ่านงานศิลปะขึ้นมา

“เพราะฉะนั้นในการสร้างงานศิลปะที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบัน อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเป็นเรื่องปกติ และควรทำความเข้าใจว่านี่คือยุคของประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่ศิลปะมีหน้าบทบาทหน้าที่ในการวิพากษ์วิจารณ์สังคม” ทัศนัย กล่าว

ถ้าพระเกี้ยวไม่เชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์

“ปัญหาที่จริงๆมันคือมาตรา 112ในตัวเอง มันจึงนำมาสู่ประเด็นในการฟ้องร้อง ตรงนี้ ลองเป็น มช.ทำล้อเลียนรูปช้างโดยใช้ช้างที่เป็นโลโก้มหาวิทยาลัยสิ มันจะไม่ถูกโยงไปม.112 เพราะเราเป็นช้าง” อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มช. กล่าว และเล่าถึงการที่สถาบันมีโลโก้ที่แตกต่างกัน โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีพระเกี้ยวเป็นรูปสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย จึงทำให้มีความยึดโยงกับสถาบัน สามารถสร้างความเชื่อมโยงไปสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ แต่อำนาจที่ล้นเกินของมาตรา 112 ทำให้มีผู้ประสงค์แจ้งความกับเพชรนิล สุขจันทร์ได้เข้าแจ้งความด้วยมาตรา 112 แม้ภายหลังจะสน.ปทุมวันจะไม่รับฟ้องก็ตาม แต่ก็ยังเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์งานศิลป์ พระเกี้ยวอาหารหมา ว่ายังคงเป็นเรื่องดูหมิ่นสถาบันกษัตริย์ 

ซึ่งศิลปะได้ทำหน้าเป็นเครื่องมือวิจารณ์ทุกสถาบันทางสังคมในไทยจริง และหากมีงานศิลปะที่วิพากษ์สถาบันกษัตริย์ตรงๆจริง มาตรา 112 ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งของกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ตัวสถาบันกษัตริย์ และเป็นการถดถอยของวงการศิลปะไทยที่ยังคงตองรักษาศีลธรรม ความดีงาม และไม่สามารถแตะต้อง วิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นในสังคมได้ กฎหมายไทยจึงขัดต่อเสรีภาพและขัดขวางไม่ให้ศิลปินได้ทำหน้าวิพากย์วิจารณ์ แม้แต่เรื่องสถาบันการศึกษาอย่างจุฬาลงกรณ์ เพียงเพราะมีโลโก้พระเกี้ยวก็กลายเป็นความอ่อนไหว และมีคนบางส่วนของสังคมไม่ยอมรับการวิจรณ์และเชื่อมโยงไปสู่ มาตรา 112 ได้ทันที”

ทัศนัยให้ข้อเสนอต่อปัญหาดังนี้

  • มาตรากฎหมาย 112 มันมีปัญหาในตัวมัน ด้วยอำนาจที่ล้นเกินของมาตรานี้ จึงทำให้ทุกอย่างดูเกี่ยวข้องไปกับสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ตลอดเวลา
  • การวิพากษ์สถาบันต่างๆ มันคือวัฒนธรรมของศิลปะยุคสมัยใหม่ ซึ่งเป็นบทบาทของศิลปินและเป็นหน้าที่ของศิลปะสมัยใหม่

“มันจึงเป็นหน้าที่ศิลปินที่ต้องทลายเรื่องพวกนี้ เรามีอารยะอยู่เพราะมนุษย์ท้าทายตัวเอง ท้าทายความคิดมันจึงก้าวหน้า มันจึงเป็นมนุษย์” ทัศนัย กล่าวทิ้งท้าย


หมายเหตุ
ผลงานชิ้นนี้อยู่ในโครงการ Journalism that Builds Bridges (JBB) สนับสนุนโดย สถานทูตเนเธอร์แลนด์ สถานทูตฟินแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ UNDP และ UNESCO

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

slot deposit pulsa
Wanita Karawang Jackpot 800 Juta dari Mahjong Ways 2