เมษายน 26, 2024

    ถก-เถียง-กิน ทำอย่างไร ถึงจะสร้างห่วงโซ่อุปทาน สายป่านแข็งแรงเพื่อประชาชน

    Share

    12 เมษายน 2566

    เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ณ ร้าน Goodcery จ.เชียงใหม่ The Goodcery TH, Surin Pitsuwan Foundation และ School of Public Policy Chiang Mai University ร่วมกันจัดกิจกรรม Alliance Against the Haze เพื่อน/สู้/ควัน เพื่อร่วมฟัง ทำความเข้าใจ จากผู้คนในทุกบทบาทที่กำลังพยายามผลักดัน ฟื้นฟู ต่อสู้ ปรับเปลี่ยน ต่อสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ภายในงานมีทั้งวงคุยนโยบายของประชาชนเพื่อประชาชน,“อาหารการกิน และห่วงโซ่อุปทาน สายป่านแข็งแรงเพื่อประชาชน” จากจานข้าว จากคำทุกคำที่รับประทาน มันคือวิตามินป้อนให้ฝุ่นควันได้เติบโตขึ้นทุกปีๆ อย่างไร? และพรรคการเมืองที่มาส่งต่อไม้ความหวังของการจัดการฝุ่นที่ “จริงจัง” ให้กับบ้านของเรา รวมถึงการแสดง Performance Art 

    เสวนาต่อไปในหัวข้อ “อาหารการกิน และห่วงโซ่อุปทาน สายป่านแข็งแรงเพื่อประชาชน” จากจานข้าว จากคำทุกคำที่รับประทาน มันคือวิตามินป้อนให้ฝุ่นควันได้เติบโตขึ้นทุกปีๆ อย่างไร? กับ 3 คน 3 บทบาทในวงจรบริโภค ได้แก่ ผศ.ดร.ปิยะพงศ์ บุษบงก์ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ศึกษาเรื่อง food journey อย่างเข้มข้น, พงษ์ศิลา คำมาก แห่งสันทรายซิสโก และตัวแทนจากกลุ่ม Slow Food Community Chiangmai กลุ่มผู้ขับเคลื่อนความเป็นธรรมและเท่าเทียมทางอาหารที่มีสมาชิกทั่วโลก และแซวะ ศิวกร โอโดเชา ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนผู้คนชนเผ่า ผู้อาศัยและดูแลผืนป่า และผืนป่าคือชีวิตของพวกเขา

    ผศ.ดร.ปิยะพงศ์ บุษบงก์ กล่าวว่าการเดินทางของอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ มาจากกาดเมืองใหม่ ประมาณ 25,000 กก.ต่อวัน ก่อนที่จะกระจายไปที่ตลาดของชุมชน ซึ่งถ้าเราคำนวณระยะการเดินทางในแต่ละวันของอาหาร มันสามารถสร้าง CO2e ประมาณ 12,000-15,000 กก.ต่อวัน ถ้าเทียบกับการตัดต้นไม่ใหญ่ก็เหมือนการตัด 700 ต้นต่อวันเพื่อเป็นระยะทางในการที่พืชผักมายังกาดเมืองใหม่ ยังไม่นับระยะทางของพืชผักที่มาจากที่อื่นอีก ซึ่งอาจจะมาโดยเรือหรือมาโดยรถไฟความเร็วสูง

    “สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ พลังงานที่ใช้ต่อวันอย่างน้อย 6,000 ลิตร หรือประมาณ 200,000 บาท จากกลุ่มตัวอย่างที่เราสำรวจประมาณ 1,400 รายการที่เราสำรวจ เราอาจจะต้องพิจารณาว่าการที่ฝากท้องไว้กับข้างนอกมากมาย ในขณะที่เชียงใหม่ก็มีชื่อเสียง ทำไมเราจึงฝากกระเพาะอาหารของเราไว้กับการเดินทางที่มันไกลขนาดนั้น”

    กล่าวคือ เรื่องห่วงโซ่อาหาร ระบบอาหารที่ว่ามันทิ้ง 6 F ไว้คือ No Fresh มันไม่สดใหม่, No Friendly ผู้ผลิตไม่ได้รู้จักกัน ไม่ได้ทิ้งความรับผิดชอบให้แก่กัน, Not Fair คือมันไม่แฟร์, Fear full คือพูดไม่ได้เยอะมากในเรื่องนี้, Fragile และ No Food Freedom กล่าวคือ มันก่อให้เกิดความบิดเบี้ยวอะไรบางอย่าง ทุกครั้งที่ไปพึ่งพาการเดินทางแบบนั้นมันส่งผลถึงเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม อย่างหมอกควัน ฝุ่นควัน 

    พงษ์ศิลา คำมาก กล่าวว่า เรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมมันรากเป็นเส้นตรงลงมา การใช้ชีวิตเราเปลี่ยนไป รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยน มันส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร อย่างเมื่อก่อนในตามชุมชนจะมีฟาร์มหมูเล็ก ๆ ก็จะมีเศษอาหารมาใช้หมูกิน เอาหยวกกล้วยบ้าง รำข้าวบ้าง ถ้าคำนวณแคลอรี่แล้ว เราเอาให้เขากิน 1 แคลลอรี่ แต่เราเอาเขามากินได้ 30 แคลอรี่ สรุปคือเราได้กำไร 29 แคลอรี่ แต่พอระบบอาหารมันเปลี่ยน มีฟาร์มขนาดใหญ่ มีศูนย์กลางกระจายอาหารอยู่จุดเดียวคือภาคกลาง มันทำให้ไม่สามารถรับเศษอาหารจากที่อื่นมาให้หมูได้ จึงต้องหาอาหารให้หมูซึ่งก็คือข้าวโพด 

    พงษ์ศิลา กล่าวว่า “เราพยายามกลับมาทำวิถีเดิม สร้างความยั่งยืนนั้น เราจะทำแบบขนาดใหญ่ไม่ได้”

    แซวะ ศิวกร กล่าวว่า ในวิถีชีวิตของชาวปะกาเกอะญอมีนิทานเรื่องคนขี้เกียจ คือจะไม่ได้รับการยอมรับจากผู้มีอำนาจ คือคนขี้เกียจเขาอยู่กับธรรมชาติ ฤดูกาล เวลาเขาเพาะปลูกหรือทำการผลิต จะคิดถึงการอยู่กับระยะยาว คือปลูกครั้งนี้ได้กินไปอีก 20-30 ปี แต่ถ้าถามว่ามันจะรวยขึ้นไหม มันอาจจะไม่ แต่คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน ถ้าสะดวกสบายวันนี้ วันหน้าอาจจะลำบากมากก็ได้ กล่าวคืออาจจะลำบากในการทำวันนี้ แต่ก็จะมีชีวิตที่ดีขึ้น สุขภาพที่ดีขึ้นในวันหน้า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย 

    รับชม Live เพิ่มเติมได้ที่ 

    https://www.facebook.com/surinpitsuwanfoundation/videos/548286000623483/

    Related

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...

    รอนานบั่นทอนปอด ศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 

    ล่าสุดวันนี้ (24 เมษายน 2567) ทีมทนายความมีความคืบหน้าสำหรับความคดีฝุ่น PM2.5 ภาคเหนือ โดยศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และมีคำสั่งให้ประชาชนผู้ฟ้องคดีทำคำแก้อุทธรณ์คดีตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ยื่นอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือภายใน...