เมียนมาและความตายของอาเซียน

แปลจาก https://www.irrawaddy.com/opinion/guest-column/myanmar-and-the-death-of-asean.html 

เป็นเวลากว่า 2 ปีครึ่งแล้วที่พลเอกอาวุโสมินอ่องหล่ายส่งรถถังเข้าย่างกุ้งและเนปิฎอว์เพื่อรัฐประหาร ซึ่งคำถามที่สำคัญในเวลานี้ไม่ใช่ความเป็นสมาชิกของเมียนมาในประชาคมอาเซียนจะแก้ปัญหาเรื่องการยึดอำนาจอย่างไรแต่เป็นการรวมตัวระดับภูมิภาคนี้จะผ่านพ้นวิกฤตในปัจจุบันไปได้อย่างไร เหล่านักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นจุดอ่อนและช่องโหว่ของอาเซียนอีกครั้งจากความไม่มีประสิทธิภาพทางการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญในภูมิภาค ทุกสัญญานบ่งชี้ว่าจีนได้ช่วงชิงการนำและเสริมสถานะของตนในภูมิภาคนี้ในขณะที่ตะวันตกซึ่งเป็นพลังที่สำคัญในการกดดันเหล่านายพลเมียนมากำลังยึ่งกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ความพยายามครั้งแรกที่อ่อนแอในการพูดถึงปัญหาการยึดอำนาจของมินอ่องหล่ายเกิดขึ้นใน 24 เมษายน ปี 2021 ในการประชุมอาเซียนที่จาการ์ตาซึ่งเหล่าผู้นำอาเซียนเห็นชอบ”ฉันทามติ 5 ข้อ” ที่เรียกร้องให้ยุติความรุนแรงโดยทันทีรวมถึง ”การพูดคุยอย่างสร้างสรรค์” ระหว่าง “ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง” คำว่า “ฉันทามติ” ถูกเลือกอย่างระมัดระวังเนื่องจากหนึ่งในสองหลักการหลักของประชาคมอาเซียน คือการแทรกแทรงกิจการภายในของประเทศอื่น หมายถึงประชาคมไม่สามารถใช้มาตรการใด ๆ กับประเทศสมาชิกได้ในช่วงวิกฤตหรือแทรกแทรงความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก ตั้งแต่การก่อตั้งอาเซียนในปี 1967 อาเซียนได้พบกับปัญหาเหล่านี้มากมาย เช่น การรุกรานติมอร์ตะวันออกของอินโดนีเซีย ในปี 1975 ความขัดแย้งของชายแดนระหว่างไทยและลาว กัมพูชาและเวียดนาม มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และการปะทะทีชายแดนไทย-กัมพูชาตั้งแต่ปี 2008-2011 ซึ่งยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ยังไม่กล่าวถึง อาเซียนไม่เคยมีมาตรการหรือปฏิบัติการใด ๆ ที่จะแก้ปัญหาและความขัดแย้งนี้

ภาพ: Thai PBS World

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่มินอ่องหล่ายรู้สึกว่าสามารถเมินเฉยต่อ “ฉันทามติ” นี้และยังคงเดินหน้าใช้ความรุนแรงกับกลุ่มที่ต่อต้านเผด็จการทหาร ขณะเดียวกันกลุ่มต่อต้านรัฐประหารเผาธงอาเซียนบนถนนของย่างกุ้งและมันฑาเลย์ โดยกล่าวหาว่าประชาคมอาเซียนไม่มีความน่าเชื่อถือและให้ความชอบธรรมกับการปกครองของทหาร ตัวแทนของอาเซียนที่ถูกส่งไปเมียนมาและตัวแทนจากสหประชาติพร้อมทีมกฎหมายไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าพบอองซานซูจีผู้นำรัฐบาลที่ถูกคุมขังภายหลังการยึดอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2021

แต่ก็น่าประหลาดใตที่ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทยได้เข้าพบอองซานซูจีในคุกที่เมืองเนปิฏอว์ ในวันที่ 11 มิถุนายน การพบปะครั้งนี้คาดว่าใช้เวลา”กว่าหนึ่งชั่วโมง” ตามที่ดอนกล่าวไว้ภายหลัง เขาได้เข้าพบมินอ่องหล่ายและในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศในอาเซียนเขาได้เล่าถึงการเดินไปเยือนเนปิฏอว์หนึ่งวัน เขายังกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าอองซานซูจี “สนับสนุนการพูดคุยโดยไม่มีเงื่อนไขใด” แต่ไม่ได้อธิบายถึงรายละเอียดเพิ่มเติม

การเดินทางของดอนเกิดขึ้นได้อย่างไรและใครเป็นคนจัดการยังไม่ชัดเจน เขากล่าวอย่างคลุมเครือว่าทุกฝ่ายเห็นด้วยกับการเดินทางไปพบปะครั้งนี้เนื่องจากเขาติดต่อกับอองซานซูจีตั้งแต่ก่อนเดินทางไปเนปิฏอว์แล้ว สิ่งที่อาจอธิบายเกี่ยวกับเบื้องหลังของเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อทูตพิเศษด้านเมียนมาเติ้งซีจุนเดินทางเยือนเมียนมาในปลายเดือนกรกฎาคม เชื่อกันว่าเติ้งได้เข้าพบอองซานซูจีที่ถูกย้ายจากห้องขังในเรือนจำไปสู่สถานที่ที่สะดวกบายกว่าของรัฐในเมืองหลวงเช่นกันแม้ว่ายังไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการก็ตาม ในเวลาเดียวกันรัฐบาลทหารได้ประกาศนิรโทษกรรมบางส่วนให้กับอองซานซูจี ซึ่งผู้สังเกตุการณ์ภายนอกบางกลุ่มชื่นชมว่าเป็น “การก้าวไปข้างหน้า” เช่นเดียวดอนที่เรียกการนิรโทษกรรมนี้ว่าเป็น “ก้าวที่ยิ่งใหญ่” แต่หลายคนละเลยไปว่าแท้จริงแล้วการนิรโทษกรรมนี้เป็นเพียงเชิงสัญลึกษณ์เท่านั้น อองซานซูจีต้องโทษจำคุกทั้งหมด 33 ปี ได้รับโทษลดลง 5 ปี จาก 19 ข้อหาที่ถูกกล่าวหาและอีกหนึ่งข้อหารอง หมายความว่าผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยวัย 78 ปี ยังต้องรับโทษอีก 27 ปี

มาเลเซียและฟิลิปปินส์พูดถึงการประชุมในเนปิฏอว์ว่าควรมีพื้นที่ให้ชาติอาเซียนอื่นและปัจเจกได้เลือกแนวทางการจัดการวิกฤตการของเมียนมา กล่าวคือประชาคมอาเซียนในฐานะการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคกลายเป็นความซ้ำซ้อน ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด กล่าวในวันที่ 8 สิงหาคมว่า ประชาคมอาเซียนรวมถึงเมียนมาต้องทำงานร่วมกันต่อไปเพื่อแก้ไขวิกฤตนี้ “อาเซียนในฐานะเรือใหญ่ต้องเดินไปข้างหน้า เรือใหญ่ลำนี้ต้องล่องต่อไป เรือใหญ่ลำนี้ไม่สามารถจมได้เพราะคนกว่าร้อยล้านในเรือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของเรา” แต่ประชาคมนี้กำลังเริ่มจม แหล่งข้อมูลภายในกล่าวว่าเป็นทางการจีนที่เตรียมการการประชุมของดอนที่เนปิฏอว์ และการที่เติ่งเดินทางไปเมียนมาในเดือนถัดมาเป็นการไปตามผลเพื่อยืนยันถึงสถานะของรัฐบาลปักกิ่งในการเป็นผู้เล่นหลักบนกระดานเมียนมา และด้วยการที่ตะวันตกสนใจเพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่สนใจเมียนมา ทำให้จีนกลายเป็นผู้เล่นคนเดียว

ภาพ: The MYAWADY Daily

การคาดหวังให้อาเซียนเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตย ไม่เป็นผลดีกับเมียนมาและเป็นเรื่องที่โง่เขลาของบางกลุ่ม เช่น เควิน รัดด์ อดีตนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียและเอกอัคราชทูตประจำสหรัฐฯในปัจจุบัน ในการสัมภาษณ์ของ BBC สองอาทิตย์หลังรัฐประหาร และการสัมภาษณ์กับ Asia Society รัดด์กล่าวว่า หนทางไปข้างหน้าควรจะเป็นการพูดคุยกับผู้ทำรัฐประหารภายใต้”การชี้นำของอาเซียน” สหภาพยุโรปซึ่งใช้มาตรการคว่ำบาตรกับผู้ทำรัฐประหาร กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2021 ว่าสหภาพยุโรป “พร้อมสนับสนุนอาเซียน ประธานอาเซียน เลขาธิการอาเซียน และทูตพิเศษในการอำนวยความสะดวกให้เกิดการพูดคุยที่สร้างสรรค์กับทุกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีแนวคิดที่จะนำเมียนมากลับมาสู่หนทางประชาธิปไตย”

การที่อาเซียนประกอบด้วยประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมักถูกหลงลืมไป เวียดนามและลาวถูกปกครองด้วยเผด็จการพรรคคอมมิวนิสต์ และกัมพูชาถูกปกครองโดยระบบอัตตาธิปไตยที่ไม่สนใจหลักการประชาธิปไตย พรรครัฐบาลคือพรรคประชาชนกัมพูชาชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายในการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม ซึ่งหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ สมาชิกรัฐสภาในภูมิภาคที่สนับสนุนประชาธิปไตย และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เป็นกลุ่มที่อธิบายว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ทั้งไม่เสรีและยุติธรรม บรูไนปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเลเซียก็สับเปลี่ยนระหว่างการปราบปรามคนที่ต่อต้านและช่วงเวลาของการเปิดกว้าง สิงคโปร์ก็เป็นประเทศที่ไม่เคารพความคิดเห็นต่อต้านเช่นเดียวกัน และประเทศไทยรัฐบาลประชาธิปไตยที่ได้รับเลือกตั้งก็ถูกกองทัพปฏิวัติหลายครั้ง แม้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคมแต่วุฒิสภาที่แต่งตั้งโดยกองทัพก็ทำให้พรรคที่สนับสนุนประชาธิปไตยไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้

ฟิลิปปินส์เป็นประชาธิปไตยที่ถูกกัดกร่อนไปด้วยการคอรัปชั่นและอดีตประธานาธิบดีโรดริโด ดูเตอร์เต ก็ถูกหัวหน้าอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ(International Criminal Court of crimes:ICC) กล่าวหาด้วยข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการปราบปรามยาเสพติด ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้หรือค้ายาเสพติดถูกวิสามัญเป็นจำนวนหลายพันคนภายหลังเขาได้รับตำแหน่งในปี 2016 ผู้ถูกสังหารหลายคนเป็นคนจนเมืองและเยาวชนที่เชื่อได้ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ และเมียนมาหนึ่งในสมาชิกอาเซียนที่ทราบกันดีว่าเป็นอย่างไร มีเพียงประธานอาเซียนอย่างอินโดนีเซียเท่านั้นที่มีเสถียรภาพและเป็นประชาธิปไตย อินโดนีเซียจึงถูกเรียกร้องจากองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงสหประชาชาติให้แสดงความเป็นผู้นำในการแก้ไขวิกฤตในเมียนมา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าเนื่องจากกฎของประชาคมอาเซียน

ขณะเดียวกันในเดือนสิงหาคม ซานานา กุสเมา นายกรัฐมนตรีติมอร์ตะวันออก กล่าวว่าประเทศของเขาอาจพิจารณาถึงเป้าหมายของการเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 11 ของอาเซียนอีกครั้ง หากประชาคมอาเซียนไม่สามารถแก้ไขปัญหาเมียนมาได้ เขาเสริมว่า “ในฐานะประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย ติมอร์เลสเต ไม่สามารถยอมรับระบอบเผด็จการทหารใดได้ และไม่สามารถละเลยการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา” หนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น โฮเซ่ รามอส-ออร์ตา ประธานาธิบดีติมอร์ตะวันออก เข้าพบซินมาร์อ่อง รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของรัฐบาลเงาเมียนมา (National Unity Government:NUG) ที่ดิลีเมืองหลวงของติมอร์ตะวันออกและถามผู้นำโลกว่าเหตุใดจึงไม่ช่วยเมียนมาในแบบเดียวกับยูเครน

ประธานอาเซียนเปลี่ยนประเทศทุกปีตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของประเทศสมาชิกซึ่งลาวจะได้เป็นประธานในปี 2024 ประเทศลาวนั้นไม่ได้มีนโยบายการต่างประเทศเชิงรุกและพึ่งพาจีนอย่างมหาศาล ซึ่งลาวได้รับการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคเช่นรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมสองประเทศ เขื่อนผลิตไฟฟ้า และเขตเศรษฐกิจพิเศษ กระนั้นลาวพยายามถ่วงดุลอิทธิพลจีนด้วยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการทูตกับเวียดนามและลาว แต่จีนยังคงมีอำนาจต่อรองมากกว่าในนโยบายการต่างประเทศของลาวมากกว่าประธานอาเซียนในปัจจุบันอย่างอินโดนีเซีย

กองทัพเมียนมาที่เป็นชาตินิยมอย่างรุนแรงพยายามลดการพึ่งพาจีนมาหลายปี ด้วยการเข้าสู่ความสัมพันธ์ด้านการป้องกันประเทศกับรัสเซียและเกาหลีเหนือ ภายหลังการเลือกตั้งปี 2010 รัฐบาลทหารเมียนมาใช้นโยบายสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับตะวันตกซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดประเทศและอนุญาตให้เกิดเสรีภาพทางการเมืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน ทั้งหมดถูกเปลี่ยนไปภายหลังการยึดอำนาจของมินอ่องหล่าย ความสัมพันธ์กับรัสเซียแน่นแฟ้นมากกว่าครั้งใด และรัฐบาลทหารได้กลับมาสร้างความร่วมมือในบางระดับกับเกาหลีเหนือ แต่ในท้ายที่สึดไม่ว่านายของเมียนมาจะต้องการหรือไม่ รัฐบาลทหารของมินอ่องหล่ายต้องกลับไปหาจีนและข้อร้องความสนับสนุน

ภาพ: Institute of Chinese Studies

ซึ่งการเข้าหาประเทศจีนมีราคาที่ต้องจ่ายสูง สำนักข่าวอิระวดีรายงานในวันที่ 22 สิงหาคมว่าจีนได้อัดฉีดเงินกว่าพันล้านเพื่อสนับสนุนรัฐบาลทหาร ซึ่งนับเป็นร้อยลละ 23.5 ของการลงทุนต่างชาติทั้งหมด แต่ควรระลึกว่าเงินเกือบทั้งหมดใช้ในการพัฒนาเขื่อนผลิตไฟฟ้าซึ่งจีนเป็นผู้ได้รับประโยชน์หัลกในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งการก่อสร้างทางรถไฟและโครงการสาธารณูปโภคก็ยิ่งทำให้สายสัมพันธ์จีนและเมียนมาแน่นแฟ้นขึ้น หมายความว่าเงินจะเข้าสู่กระเป๋าของทหารและมีเงินเล็กน้อยที่พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนธรรมดาสามัญในเมียนมา เมื่ออาเซียนไม่ได้มีบทบาทและอนาคตของประชาคมนี้อยู่ในอันตรายเนื่องจากไม่มีความสามารถรับมือวิกฤ๖ในเมียนมา จีนจึงรักษาสถานะของอำนาจหลักในเมียนมารวมถึงอาเซียน เมื่อตะวันตกตื่นขึ้นและตระหนักถึงความจริงนี้ เป็นไปได้ว่าภายหลังสงครามยูเครนสิ้นสุดลง อาจสายไปแล้วและการเติมเต็มความฝันที่เมียนมาจะเป็นประชาธิปไตยจะยากขึ้นไปอีก

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง