เมษายน 23, 2024

    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเลื่อน “พ.ร.บ.ต้านซ้อมทรมาน-อุ้มหาย” อ้างเครื่องมือไม่พร้อม-ขาดความเข้าใจ

    Share

    เมื่อ 6 ม.ค. 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เรื่อง ปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 โดยมีพลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้ลงนาม โดยมีประเด็นสำคัญเป็นการขอเสนอความเห็นให้ขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ โดยเฉพาะในหมวดที่ 3

    ซึ่งในหมวดที่ 3 นั้นมีสาระสำคัญคือการกำหนดกลไกการป้องการการทรมานและการอุ้มหาย เจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบควบคุมตัว ต้องบันทึกภาพและเสียงขณะจับและควบคุมตัว ต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว กรณีที่มีการอ้างว่าบุคคลถูกกระทำทรมาน พนักงานอัยการหรือผู้เสียหายหรือญาติสามารถร้องขอต่อศาลเพื่อให้สั่งยุติการกระทำนั้นได้ และหากผู้ใดที่พบเห็นหรือทราบการทรมาน การกระทำที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือการอุ้มหาย ก็สามารถไปแจ้งพนักงานอัยการ หรือเจ้าหน้าที่รัฐตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้

    สตช.ยกตัวอย่างการขยายเวลาบังคับใช้กฎหมายขึ้นมาเป็นแนวทางคือกรณีของพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 ที่ออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาแก้ไข พ.ร.บ.และกำหนดแก้ไขวันบังคับใช้กฎหมาย เปิดช่องให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เพื่อกำหนดวันบังคับใช้กฎหมายได้

    โดยเหตุผลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติยกขึ้นมา เพื่อขอเสนอขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายออกไปนั้น มีสามข้อหลักๆ ด้วยกัน

    1. ด้านงบประมาณ กล้องสำหรับรองรับการปฏิบัติงานตามพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ ยังไม่เพียงพอ โดยกล้องติดตัวเจ้าหน้าที่จะต้องจัดซื้ออีก 1.7 แสนตัว กล้องติดรถยนต์ควบคุมผู้ถูกตับอีก 1,578 ตัว และกล้องติดสถานที่ควบคุมผู้ถูกจับ 6,244 ตัว โดยจะต้องใช้งบประมาณดำเนินการ 3,473, ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับการจัดระบบเก็บข้อมูลอีกด้วย ซึ่งงบประมาณดังกล่าว ไม่ได้อยู่ในแผนงบประมาณรายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยจะต้องตั้งคำของบประมาณอย่างเร็วที่สุดคืองบประมาณปี พ.ศ. 2567 

     2. ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากร เจ้าหน้าที่ตำรวจยังขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ เนื่องจากเทคโนโลยีและอุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงในปัจจุบันพัฒนาก้าวล้ำไปมาก ผลิตภัณฑ์มีหลายยี่ห้อ วิธีใช้งานแตกต่างกัน จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง 

    3. ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงาน เนื่องจากความไม่ชัดเจนหรือคลุมเครือในบทกฎหมาย และยังไม่มีระเบียบหรือแนวทางการปฏิบัติอันเป็นมาตรฐานกลาง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมหรือควบคุมยึดถือปฏิบัติ

    ข้อเสนอขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ ของ สตช. ยังเป็นเพียง “ข้อเสนอ” เท่านั้น ยังไม่มีผลให้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ หมวด 3 ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ. 2566 ถูกขยายเวลาบังคับใช้ออกไปในทันที แต่ต้องมีการตัดสินใจจากฝ่ายบริหาร และมีการตรากฎหมาย เช่น พระราชกำหนด เพื่อมาแก้ไขพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ มาตรา 2 ที่กำหนดระยะเวลาบังคับใช้ของกฎหมาย

    ซึ่งผลสุดท้าย พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ หมวด 3 จะถูกขยายเวลาบังคับใช้ออกไปหรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไป

    Related

    De Lampang: ลำปางลมหายใจเปื้อนฝุ่น ท่ามกลางควันไฟที่เผาไหม้ป่า

    เรื่อง: พินิจ ทองคำ เมษายนช่วงเวลาของการเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ลำปางถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีสถิติอุณหภูมิร้อนแรงติดอับดับต้น ๆ ของรัฐไทย จากการติดตามข่าวผ่านสื่อในรอบสัปดาห์ คำว่า “ลำปางร้อนมาก”...

    วิกฤติการณ์ฝุ่น PM2.5 ระยะยาวของชีวิต สภาะวะการตายผ่อนส่ง ของคนภาคเหนือ

    เรื่อง: จิณห์วรา ช่วยโชติ วิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในภาคเหนือนั้น ไม่ว่าจะปีไหน ๆ ทุกคนจะต้องได้รับรู้ มีเสียงหรือคำวิจารณ์จากคนในพื้นที่ที่ต้องประสบกับปัญหาฝุ่นพิษดังกล่าวโดยตรง พื้นที่ของข่าวมีการนำเสนอปัญหาและนโยบายจากรัฐบาล หรือภาพเจ้าหน้าที่รวมไปถึงอาสาสมัครที่ดมควัน...

    น้ำแม่ข่า คลองสวย น้ำใส ไหลดี ชุมชนมีสุข สุขของใคร? หรือสุขที่ฝันไว้ไม่เคยตรงปก? 

    เรื่อง: กองบรรณาธิการ “คลองแม่ข่า” หรือ “น้ำแม่ข่า” คลองที่มีความสำคัญและมีประวัติศาสตร์ของเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน ไล่ไปตั้งแต่เป็นหนึ่งในชัยภูมิ 7 ประการในการสร้างเมืองเชียงใหม่ ไปจนถึงการก้าวกระโดดเติบโตของเมืองเชียงใหม่ในช่วง...