มีนาคม 29, 2024

    Migrant Working Group เผยผลกระทบของการผ่อนปรนมาตรการต่อแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลไทย พร้อมข้อเสนอแนะ

    Share

    เมื่อต้นปี 2566 เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group) ด้วยการสนับสนุนจาก Global Labor Justice – International Labor Rights Forum (GLJ-ILRF) และ Solidarity Center (SC) ได้เผยแพร่รายงานผลกระทบของการผ่อนปรนมาตรการของรัฐบาลไทยต่อแรงงานข้ามชาติและความเสี่ยงด้านแรงงานบังคับ โดยมีข้อค้นพบหลักจากรายงานดังนี้

    กระบวนการขึ้นทะเบียน

    • 93% ของแรงงานข้ามชาติไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการขึ้นทะเบียนได้ด้วยตนเอง และต้องพึ่งพานายจ้างของตน, นายหน้า, และบริษัทจัดหางาน เพื่อขึ้นทะเบียน
    • 55% ของแรงงานข้ามชาติต้องการความช่วยเหลือในการลงทะเบียนออนไลน์ในเว็บไซต์ของกรมจัดหางาน ส่วนใหญ่เป็นเพราะอุปสรรคด้านภาษาและทางเทคนิค
    • 69% ของแรงงานข้ามชาติระบุว่า การตรวจหาเชื้อโควิด-19 เป็นข้อกำหนดที่ท้าทายมากสุดสำหรับการขึ้นทะเบียน ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียน (59%)
    • ในจำนวนคนงาน 14 คนที่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนจนสำเร็จ เป็นเพราะพวกเขาไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงในการขึ้นทะเบียน ซึ่งดูเหมือนจะเป็นเหตุผลที่สำคัญมากสุด (93%) ตามมาด้วยการขาดเอกสารที่จำเป็นสำหรับการขึ้นทะเบียน (79%) การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบียน (71%) และความซับซ้อนของกระบวนการ (57%)

    ค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียน

    • 79% ของแรงงานข้ามชาติถูกเก็บค่าใช้จ่ายมากเกินจริงในกระบวนการขึ้นทะเบียน โดยต้องจ่ายมากกว่า 10,000 บาท แทนที่จะเป็น 8,480-8,680 บาท ตามที่กำหนดโดยรัฐบาล
    • ในบรรดาแรงงานข้ามชาติที่ต้องพึ่งพานายหน้า เพื่อดำเนินการตามกระบวนการขึ้นทะเบียน 98% ถูกเก็บค่าใช้จ่ายมากเกินจริง เฉลี่ยจ่ายเป็นเงิน 17,000 บาท เพื่อขึ้นทะเบียน ในบรรดาแรงงานข้ามชาติที่ต้องพึ่งพานายจ้างของตน 82% ถูกเก็บค่าใช้จ่ายมากเกินจริง เฉลี่ยจ่ายเป็นเงิน 12,000 บาท เพื่อขึ้นทะเบียน และในบรรดาแรงงานข้ามชาติที่ต้องพึ่งพาบริษัทจัดหางาน 80% ถูกเก็บค่าใช้จ่ายมากเกินจริง เฉลี่ยจ่ายเป็นเงิน 13,000 บาท เพื่อขึ้นทะเบียน
    • 73% ของแรงงานข้ามชาติไม่ทราบว่าได้จ่ายเงินไปมากน้อยเพียงใดสำหรับค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียน

    หนี้ที่เกิดขึ้นจาก

    • โดยภาพรวม 79% ของภาระหนี้สินของแรงงานข้ามชาติ เกิดจากค่าขึ้นทะเบียน คิดเป็นหนี้โดยเฉลี่ย 8,000-12,000 บาท
    • 81% ของแรงงานจ่ายเงินให้กับนายจ้าง 96% ของแรงงานจ่ายเงินให้กับนายหน้า และ 100% ของแรงงานจ่ายเงินให้กับบริษัทจัดหางาน ทำให้เป็นหนี้จากการดำเนินการตามกระบวนการขึ้นทะเบียน
    • แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ (73%) กลายเป็นลูกหนี้ของนายจ้าง เพราะดำเนินการตามกระบวนการขึ้นทะเบียน

    ความเสี่ยงต่อการเป็นแรงงานบังคับ

    • โดยภาพรวม 60% ของแรงงานข้ามชาติระบุว่าถูกหักค่าจ้างเพื่อชำระหนี้
    • 64% ของแรงงานที่ตกเป็นลูกหนี้ของนายจ้าง, 89% ของแรงงานที่ตกเป็นลูกหนี้ของนายหน้า และ 55% ของแรงงานที่ตกเป็นลูกหนี้ของบริษัทจัดหางาน ถูกหักค่าจ้างเพื่อชำระหนี้
    • แรงงานข้ามชาติแปดคนระบุว่า เคยอยู่ในสภาพการทำงานมากกว่าหนึ่งอย่างที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดของแรงงานบังคับ ทั้งการทำงานล่วงเวลาเป็นเวลายาวนาน, นายจ้างค้างค่าแรง, การยึดทรัพย์สิน และการยึดเอกสารประจำตัว
    • แรงงานข้ามชาติ 11 คนระบุว่ามีตัวชี้วัดของการขู่จะลงโทษหลายประการ

    ข้อเสนอแนะ

    เพื่อแก้ไขความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเป็นแรงงานบังคับในบรรดาแรงงานข้ามชาติ โดยเป็นผลมาจากการผ่อนปรนมาตรการ เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ, GLJ-ILRF และ Solidarity Center มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยพิจารณาปฏิรูปนโยบายดังต่อไปนี้

    1. ความรับผิดชอบของนายจ้างต่อค่าธรรมเนียมการจัดหางานและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง: กระทรวงแรงงานควรกำหนดและบังคับใช้ระเบียบห้ามการเก็บค่าธรรมเนียมเอกสาร และขั้นตอนการขึ้นทะเบียนจากแรงงานข้ามชาติ และกำหนดให้นายจ้างต้องรับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายดังกล่าว สอดคล้องตามแนวปฏิบัติของไอแอลโอ

    2. ลดทอนความยุ่งยากของกระบวนการขึ้นทะเบียน: กระทรวงแรงงานควรทบทวนและมุ่งมั่นในการรื้อระบบกระบวนการขึ้นทะเบียน รวมทั้งการออกบัตรประจำตัว/ใบอนุญาตทำงาน สำหรับแรงงานข้ามชาติที่เรียบง่าย มีระบบเดียว และครอบคลุม ก่อนการแก้ไขกระบวนการขึ้นทะเบียน กระทรวงแรงงานควรจัดการปรึกษาหารือในช่วงเวลาหนึ่งกับองค์กรภาคประชาสังคม และแกนนำแรงงาน กระทรวงแรงงานควรทบทวนและแก้ไขมาตรา 63/2 ย่อหน้า 3 ของพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 เพื่อขยายระยะเวลาการทำงานและพำนักอาศัยจากสองเป็นสี่ปี

    3. ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ: กระทรวงแรงงานควรจัดเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือสำหรับขั้นตอนการขึ้นทะเบียนที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ รวมทั้งบริการตรวจสุขภาพที่จำเป็น

    4. การขยายศูนย์พิจารณาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร อนุญาตให้ทำงานและออกเอกสารรับรองบุคคล (ศูนย์ CI): รัฐบาลควรเพิ่มจำนวนศูนย์ที่ออกหนังสือสำคัญประจำตัว (CI) เพื่อลดความล่าช้าในกระบวนการขึ้นทะเบียน

    5. การลงทะเบียนออนไลน์ที่เข้าถึงได้: กระทรวงแรงงานควรออกแบบเว็บไซต์และแอปใหม่ให้เป็นมิตรกับแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางภาษาและเทคนิค ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้คนงานขึ้นทะเบียนได้ด้วยตนเองและเข้าถึงระบบได้

    6. ประกันสุขภาพ และการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่เข้าถึงได้: กระทรวงแรงงานควรจัดให้มีประกันสุขภาพที่เป็นมิตรกับแรงงานข้ามชาติ รัฐบาลควรจัดให้มีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยไม่คิดมูลค่า และเปิดโอกาสให้แรงงานข้ามชาติสามารถขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมได้ทันที หลังดำเนินการตามกระบวนการขึ้นทะเบียนแล้ว เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดซื้อประกันสุขภาพ

    สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่

    https://www.tcijthai.com/news/2023/2/scoop/12766

    Related

    ‘ครรภ์ใต้บงการ’ ในเงาสะท้อนรัฐเจริญพันธุ์

    เรียบเรียง: ธันยชนก อินทะรังษี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดงาน...

    อยู่ระหว่างเหนือล่าง ‘เซ็นทรัลนครสวรรค์’ เมื่อ “ห้างใหญ่มีชื่อ” กลายเป็นมาตรวัดการพัฒนา

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลนครสวรรค์ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ กระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้นและตื่นตัวแกบรรดาผู้คนในจังหวัดนครสวรรค์รวมถึงผู้คนในจังหวัดรอบข้างอย่างมาก ประกอบกับการโปรโมทห้างเซ็นทรัลนครสวรรค์ที่เราจะพบเห็นได้ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะ...

    ต่า โอะ มู วิถีชีวิตปกาเกอะญอ

    เรียบเรียง: กรองกาญจน์ เกี๋ยงภาลัก, สุทธิกานต์ วงศ์ไชย, อิทธิเดช วางฐานภาพ: จิราเจต จันทร์คำ,...