เมษายน 27, 2024

    ยืนหยุดทรราชสัปดาห์ที่ 47 การดำเนินคดีนักเคลื่อนไหวยังดำเนินต่อ อย่างน้อย 10 รายยังถูกคุมขัง  

    Share

    เมื่อวานนี้ (18 มีนาคม 2566) เวลา 17.00 – 18.12 น. กลุ่มพลเมืองเสมอกัน We, The People จัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชครั้งที่ 47 บริเวณลานท่าแพจังหวัดเชียงใหม่

    กิจกรรม ยืน หยุด ทรราช ยังคงดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยในสัปดาห์นี้ก็เป็นสัปดาห์ที่ 47 ของการจัดกิจกรรมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมแก่เพื่อนๆนักกิจกรรมที่ถูกคุมขังเนื่องจากออกมาแสดงออกทางการเมือง เพื่อขับเคลื่อนสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น และเรียกร้องสิทธิการประกันตัวแก่ผู้ที่ยังไม่ถูกพิพากษาความผิด เพราะสิทธิการประกันตัวก็เป็นสิทธิพื้นฐานอย่างหนึ่งตามหลักสากล

    สถานการณ์การดำเนินคดีและคุมขังนักกิจกรรมที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าจะมีนักเคลื่อนไหวบางคนได้รับคำสั่งให้ประกันตัวได้แล้วไม่ว่าจะเป็นเชน ชีวอบัญชา สื่ออิสระเพจ “ขุนแผน แสนสะท้าน” วัย 55 ปี และเงินตา คำแสน หรือ “มานี” วัย 43 ปี หรือ ‘พรชัย’ ชาวปกาเกอะญอวัย 38 ปี ผู้ถูกดำเนินคดีข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 แต่ก็ยังมีเพื่อนๆอีกจำนวนมากที่ยังถูกคุมขังอย่างไร้มนุษยธรรม

    การรวบรวมข้อมูลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เผยให้เห็นว่าในตอนนี้ ยังมีเพื่อนๆนักเคลื่อนไหวถูกคุมขังอยู่อย่างน้อย 10 คน แม้ว่าการเรียกร้องของ “แบม-ตะวัน” ให้ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง ประกอบกับมีการยื่นประกันตัวอย่างต่อเนื่องจะส่งผลทำให้มีผู้ต้องขังทางการเมืองได้รับการปล่อยตัวเกือบทั้งหมด จำนวน 15 คนแล้วก็ตาม นอกจากนั้น ยังมีผู้ต้องขังที่คดีถึงที่สุดแล้วอย่างน้อย 6 คน ได้แก่ อัญชัญ (ม.112), ศุภากร (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ), “มะ” ณัฐชนน (ครอบครองวัตถุระเบิด), พลทหาร “เมธิน” (ม.112), กฤษณะ และวรรณภา (คดีสหพันธรัฐไท ข้อหาอั้งยี่) นอกจากนั้นยังมีผู้ต้องขังที่คดีที่ถึงที่สุดในคดีมาตรา 112 ถูกคุมขังอยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ติดต่อมาที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอยู่อีกด้วย

    ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tlhr2014.com/archives/52351?fbclid=IwAR3GSFI8Wt_wawhVjdF_FGelRskPMfgq1RmchqKPJH97zJxlGGCVApcA1Rw
     

    Related

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...