พฤษภาคม 18, 2024

    ชาวบ้านกลุ่มรักเขากะลา รวมตัวเคลื่อนไหว ค้าน EIA โครงการเหมืองแร่ปูน หวั่นกระทบชาวบ้าน-สมดุลระบบนิเวศ

    Share

    วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2566 เวลา 09.00 น. เครือข่ายชุมชนและชาวบ้านกลุ่มรักเขากะลา ได้รวมกลุ่มออกมาเคลื่อนไหว ณ วัดธารลำไย ตำบลเขากะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อคัดค้านเวทีการประชุมรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 (EIA) โครงการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง วัดธารลำไย หมู่ 5 ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจัดโดยบริษัท ตถาตาสิ่งแวดล้อม จำกัด (บริษัทที่ปรึกษสิ่งแวดล้อม) คำขอประทานบัตรที่ 5/2564 หมายเลขหลักหมายเลขเขตเหมืองแร่ที่ 32333 ของบริษัท ศิลาพระนอน จำกัด



     

    การออกมาเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นจากผลกระทบที่ชุมชนจะได้รับจากการทำเหมืองแร่หิน โดยการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นในพื้นที่หมู่ 10 ตำบลพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ และพื้นที่หมู่ 5 ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 

    การทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่หินดังกล่าว สร้างผลกระทบโดยตรงกับพื้นที่หมู่ 7 บ้านพุตานวล หมู่ 9 บ้านหัวครัก หมู่ 10 บ้านพุน้อย ในตำบลพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ หมู่ 5 บ้านธารลำไย หมู่ 10 บ้านพุวิเศษ หมู่ 11 บ้านเขาพระไกร หมู่ 12 บ้านเขาสนามชัย หมู่ 13 บ้านพุตาเมือง ตำบลเขากะลา อำเภอพยุหะคีรี ซึ่งจะมีหลายร้อยหลังคาเรือน เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหากมีการระเบิดเขาทำเหมืองแร่



    ด้านตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่าเขากะลาเคยเป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งสมุนไพรพื้นบ้าน เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศให้ชาวบ้านกับป่าได้พึ่งพาอาศัยกันอย่างสมดุล แต่ถ้าหากเกิดการสร้างเหมืองแร่หินและระเบิดเขา มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง การทำเกษตรกรรมรวมถึงชุมชนเขากะลาที่เป็นแหล่งต้นน้ำของบึงบอระเพ็ด จะปนเปื้อนสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นำความความเดือดร้อนมายังชาวบ้านในพื้นที่ 

    เครือข่ายชุมชนและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างไกล้ชิด ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ต้องการยื่นหนังสือผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ อุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ รวมถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติเวทีการประชุมรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 1 (EIA) ของ บริษัท ตถาตาสิ่งแวดล้อม จำกัด (บริษัทที่ปรึกษสิ่งแวดล้อม) ของบริษัท ศิลาพระนอน จำกัด เพื่อให้ชาวบ้านและชุมชนกลับมาทบทวนอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานและทุกคนในชุมชน


    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...