เมษายน 24, 2024

    ครบ 4 ปี เลือกตั้ง’62 เกิดอะไรขึ้นบ้าง ก่อนเจอกันเลือกตั้ง’66

    Share

    จำกันได้ไหมว่าวันนี้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ประชาชนทุกคนได้เลือกตั้งกัน หลังจากที่เกิดการรัฐประหารโดย คสช. เมื่อปี 2557 แล้วก็รอกันเกือบ 5 ปี ถึงจะมีการจัดการเลือกตั้ง แม้จะเลื่อนไปหลายครั้งเลยก่อนจะจบที่วันที่ 24 มีนาคม 2562

    แน่นอนว่าหลังจากที่ประชาชนทุกคนได้ใช้สิทธิ์ใช้เสียงลงปากกาเลือกอนาคตที่แต่ละคนอยากเห็นเพื่อกำหนดอนาคตของประเทศนี้ แต่การเลือกตั้งในปี 62 กลับเกิดหลายปรากฎการณ์ที่คาดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นเยอะแยะมากมาย

    ก่อนที่ในปีนี้ 2566 การเลือกตั้งจะวนกลับมาอีกครั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เรามาย้อนกลับไปเมื่อ 4 ปีที่แล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง

    มีชื่อผู้เสียชีวิตกลับมาเลือกตั้งอีกครั้ง

    เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่งได้โพสต์รูปภาพ เกี่ยวกับรายชื่อผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ประจำเขตเลือกตั้งที่ 3 อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยทางด้านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ใส่รายชื่อผู้เสียชีวิต และทางครอบครัวโพสต์รูปของผู้เสียชีวิต ซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่ตั้งปี พ.ศ. 2538 นานกว่า 24 ปีแล้ว

    ด้านผู้โพสต์ระบุว่า “อาม่าxxตายไป 20 กว่าปีละ แต่มีรายชื่อมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ละอย่ามาอ้างว่าไม่ได้แจ้งรายชื่อตอนตาย อาxxเป็นทนาย อาxxแจ้งไปแล้ว ตรงกันข้ามกับอีกครอบครัวนึงอยู่หมู่เดียวกันแต่ไม่มีรายชื่อ งงใจ กกต. หรือเขาจะให้กูไปขุดอาม่าออกมาเหรอวะ หรือยังไง ?? ตอนแจกบัตรเลือกตั้งก็ไม่ตรวจบัตรประชาชน งี้ใครก็กาแทนอาม่าxxได้ป่ะวะ ประชาชนเป็นคนไม่ใช่ควาย ใครว่าแน่มาตรวจสอบหน่อย อย่าว่าแต่ชื่ออาม่าเลย ถ้ากูไม่ไปเลือกตั้งหรือไปช้าแม่งอาจมีคนสวมรอยกาบัตรแทนxxไปแล้วก็ได้ บัดซบของบัดซบอีก 18 ที อาม่าไม่ถูกใจสิ่งนี้”

    ตอนนั้นก็มีการวิพากษ์วิจารย์ถึงการทำงานของ กกต. อย่างล้นหลาม

    กกต.ปัดตอบจำนวน สส.บัญชีรายชื่อ ตอบนักข่าวว่า ผมไม่มีเครื่องคิดเลข

    นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กกต. แถลงสรุปผลเลือกตั้ง ส.ส. อย่างไม่เป็นทางการ แต่เมื่อผู้สื่อข่าวถึงเรื่องการหาจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อ อย่างไร กลับตอบผู้สื่อข่าวว่า “ผมไม่มีเครื่องคิดเลข”

    ไม่นับคะแนนบัตรเลือกตั้งที่มาจากนิวซีแลนด์

    กกต.แจ้งว่าบัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์ 1,542 ใบมาไม่ทันการนับคะแนนที่ไทย ทั้ง ๆ ที่ส่งออกจากนิวซีแลนด์ในวันที่ 18 มีนาคม 2562 ทำให้เกิดคำถามว่าเหตุใดจึงใช้เวลานานผิดปกติ และวันที่ 26 มีนาคม 2562 กกต. ลงมติให้บัตรเลือกตั้งจากนิวซีแลนด์เป็นบัตรที่นำมานับคะแนนไม่ได้

    หลังจากที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้จัดการเลือกตั้งที่เมือง Blenheim เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2562 เป็นแห่งสุดท้ายและได้ดำเนินการคัดแยกซองบัตรเลือกตั้งจนแล้วเสร็จในวันที่ 17 มีนาคม 2562 จึงได้ส่งซองบัตรเลือกตั้งออกจากกรุงเวลลิงตันในวันที่ 18 มีนาคม 2562 โดยการขนส่งทางอากาศ ซึ่งมีกำหนดถึงประเทศไทยในวันที่ 19 มีนาคม 2562

    แต่บัตรเลือกตั้งทั้งหมดมาถึงไทยในเวลา 20.50น. ของวันที่ 23 มีนาคม 2562. โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ชี้แจงวันนี้ว่า ได้รับแจ้งเป็นการภายในจากเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ว่าระยะเวลาดำเนินการไม่เพียงพอต่อการจัดส่งบัตรไปยังสถานที่นับคะแนนเลือกตั้งได้ทันตามเวลาที่ได้กำหนดร่วมกันไว้

    จำนวนผู้ใช้สิทธิ ไม่ตรงกับบัตรที่ถูกใช้เพราะมี “บัตรเขย่ง” 

    เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2562 กกต. แถลงข่าว ถึงตัวเลขผู้มาใช้สิทธิกับตัวเลขบัตรที่ถูกใช้ไปไม่ตรงกัน ผู้มาใช้สิทธิ 32,268,375 คน แต่บัตรเลือกตั้งถูกใช้ไป 38,268,366 ใป กกต. ชี้แจงว่าทีจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับยอดบัตรที่ใช้จำนว 9 ใบ อาจเกิดจาก “บัตรเขย่ง” 

    สามารถรับชมวิดีโอ เตรียมพร้อมก่อนเลือกตั้ง’66 ต่อได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=QqZJ1i7PxDo&ab_channel=LANNERNews

    Related

    วิกฤตฝุ่น PM2.5 เมื่อรวมศูนย์แบบเดิมไม่เท่าทัน จะได้ไหม ‘กระจายอำนาจ’

    เรื่อง: วิชชากร นวลฝั้น กระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่กำลังร้อนแรงล่าสุดในขณะนี้คงหนี้ไม่พ้น กรณีที่นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นำแถลงข่าวการปฏิบัติการทางการแพทย์และบริการสาธารณสุข เพื่อรักษาผู้ป่วยทางเดินหายใจและกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งมาตรการดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่...

    De Lampang: ลำปางลมหายใจเปื้อนฝุ่น ท่ามกลางควันไฟที่เผาไหม้ป่า

    เรื่อง: พินิจ ทองคำ เมษายนช่วงเวลาของการเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ลำปางถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีสถิติอุณหภูมิร้อนแรงติดอับดับต้น ๆ ของรัฐไทย จากการติดตามข่าวผ่านสื่อในรอบสัปดาห์ คำว่า “ลำปางร้อนมาก”...

    วิกฤติการณ์ฝุ่น PM2.5 ระยะยาวของชีวิต สภาะวะการตายผ่อนส่ง ของคนภาคเหนือ

    เรื่อง: จิณห์วรา ช่วยโชติ วิกฤตการณ์ทางสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในภาคเหนือนั้น ไม่ว่าจะปีไหน ๆ ทุกคนจะต้องได้รับรู้ มีเสียงหรือคำวิจารณ์จากคนในพื้นที่ที่ต้องประสบกับปัญหาฝุ่นพิษดังกล่าวโดยตรง พื้นที่ของข่าวมีการนำเสนอปัญหาและนโยบายจากรัฐบาล หรือภาพเจ้าหน้าที่รวมไปถึงอาสาสมัครที่ดมควัน...