พฤษภาคม 21, 2024

    จิตร ภูมิศักดิ์กับคนเมือง เมื่อ ‘คนล้านนา’ ถูกเหยียดหยาม การนิยามใหม่จึงบังเกิด

    Share

    25 กันยายน 2473 เป็นวันเกิดของ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนนักปฏิวัติ นักประวัติศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ คนสำคัญของไทย ผู้มีอิทธิพลทางความต่อนักเคลื่อนไหวทางสังคมตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน รวมไปถึงเป็นผู้วางรากฐานทางความคิดที่ส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน

    แม้ในช่วงชีวิตของจิตร จะใช้เวลาในการผลิตผลงานวิชาการที่มีเนื้อหาเกี่ยวพันกับการตั้งคำถามและท้าทายอำนาจของศักดินาไทย รวมไปถึงเนื้อหาที่ครอบคลุมในอาณาบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และประเทศเพื่อนบ้านในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ไม่ว่าจะเป็น กัมพูชา (เขมร) และ ลาว ซะเป็นส่วนมาก แต่กระนั้นเอง จิตร ก็เคยกล่าวถึง ‘ล้านนา’ หรือ ‘คนเมือง’ อยู่บ้าง ซึ่งอยู่ในหนังสือ “ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2519 หลังจากจิตรเสียชีวิตแล้วร่วม 10 ปี

    หนังสือ ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ ได้ชี้ให้เห็นถึงความหมายของ ‘คนเมือง’ ว่าเป็น กลุ่มชาติพันธุ์ ไทเมือง ที่มีข้อมูลอยู่ในตำนานและพงศาวดารต่างๆ ซึ่งปรากฎชัดในตำนานสุวรรณโคมคำ สืบค้นว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวไท หรือ ไต ที่เป็นประชากรหลักในล้านนา มีเชื้อสายกับชาวไทเหนือ ไทใหญ่ และไทลื้อในยูนนาน ได้อพยพมาตั้งอาณาจักร ตั้งแต่ อาณาจักรโยนก หิรัญนครเงินยาง และอาณาจักรล้านนา

    เนื่องจากล้านนาเป็นรัฐในที่สูงหรือรัฐในหุบเขาจึงไม่สามารถสร้างระบบรัฐที่แข็งแกร่งได้ รวมไปถึงฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า ล้านนาจึงถูกคุกคามโดยอาณาจักรที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านทรัพยากรและการสร้างรัฐที่มีประสิทธิภาพมากกว่าตั้งแต่พม่าไปจนถึงสยาม ด้วยเหตุนี้เองล้านนาจึงเกิดการดูถูกว่าเป็นลาว ซึ่งเหมารวมกับลาวล้านช้าง 

    เหตุนี้เอง จิตร อธิบายว่าเดิมทีชาวล้านนานิยามตนเองว่าเป็นคน ไท หรือ ไต ที่ใช้มาแต่เดิมไม่เพียงพอ เนื่องจากถูกสยามและพม่าดูเหยียดหยามว่าเป็น “ลาว” เป็นพวก “นุ่งผ้าซิ่น กินกิ้งกือ” ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับคนล้านนาที่นิยามตนเองว่าเป็นคน ไท หรือ ไต จึงนิยามคำใหม่ขึ้นมาและเรียกตนเองว่า ‘คนเมือง’ ที่ชาวล้านนาประกาศและยืนยันตัวตนว่าเป็นชาวเมืองไม่ใช่ชาวป่า – คนเมืองมิใช่คนป่า รวมไปถึงเพื่อใช้ตอบโต้การถูกเหยียดหยาม

    อ้างอิง

    Related

    60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง...

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...

    “ฝันเราไม่เคยจนตรอก” เชียงใหม่ส่งพลังบอลเกงกิ สมัครเพื่อโหวต สว. เปลี่ยนอนาคตประเทศ

    19 พฤษภาคม 2567 เครือข่าย Senate67 จัดกิจกรรม สมัครเพื่อเปลี่ยน: จังหวะนี้มีแต่พี่ที่ทำได้ บริเวณประตูท่าแพ...