พฤษภาคม 20, 2024

    ชาวบ้านเขากะลา 500 ชีวิต ยื่นหนังสือยุติเวที EIA หวั่นกระทบนิเวศ-วิถีชีวิต

    Share

    25 กันยายน 2566 เวลา 08.00 น. ณ องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เครือข่ายชุมชนและชาวบ้านกลุ่มรักเขากะลาในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเหมืองแร่หินเก่าและโครงการเหมืองแร่หินใหม่ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการจัดทำ EIA (Environmental Impact Assessment)

    “รณรงค์ปกป้องเขากะลาป่าต้นน้ำบึงบอระเพ็ดและคัดค้านเหมืองแร่” เพื่อยื่นหนังสือขอให้ยุติเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (EIA) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2566 ณ สโมสรนายทหารประทวน ร.4 พัน.1 กรมทหารราบที่ 4 ค่ายจิรประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ โดยขบวนเริ่มต้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และเคลื่อนไปยัง

    -ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์

    -สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์

    -สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครสวรรค์

    -สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 4 จังหวัดนครสวรรค์

    โดยมีรถร่วมขบวนนับได้ 200 คัน และเครือข่ายคนรักเขากะลากับชาวบ้านกว่า 500 คน ร่วมขบวนอย่างมีความหวังที่จะปกป้องทรัพยากรและบ้านเกิดของตัวเอง เขากะลาที่ตอนนี้เต็มไปด้วยเหมืองแร่หินปูนและโรงโม่ และยังถูกจับจองขอประทานบัตรเพื่อที่จะทำเหมืองเพิ่ม เป็นพื้นที่ที่ชาวบ้านได้ช่วยกันอนุรักษ์เพื่อเป็นป่าต้นน้ำของบึงบอระเพ็ด มีระบบนิเวศธรรมชาติที่สมบูรณ์และวิถีชีวิตของชุมชนที่เรียบง่าย

    เครือข่ายชุมชนและชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ต้องการยื่นหนังสือขอยุติการจัดเวที EIA ถึงหน่วยงานที่ได้เคลื่อนขบวนไปในวันนี้และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อยุติเวทีการประชุมรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนครั้งที่ 2 (EIA) ของ บริษัท ตถาตาสิ่งแวดล้อม จำกัด (บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม) ของบริษัท ศิลาพรนอน จำกัด เพื่อให้ชาวบ้านและชุมชนกลับมาทบทวนอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับลูกหลานและทุกคนในชุมชน

    Related

    “ฝันเราไม่เคยจนตรอก” เชียงใหม่ส่งพลังบอลเกงกิ สมัครเพื่อโหวต สว. เปลี่ยนอนาคตประเทศ

    19 พฤษภาคม 2567 เครือข่าย Senate67 จัดกิจกรรม สมัครเพื่อเปลี่ยน: จังหวะนี้มีแต่พี่ที่ทำได้ บริเวณประตูท่าแพ...

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...