พฤษภาคม 9, 2024

    สรุปแล้วล้านนาแมสบ่แมส? อนาคตของวัฒนธรรมล้านนาในโลกทุนนิยม

    Share

    เรียบเรียง: ธันยชนก อินทะรังษี

    ความงดงามของประเพณีวัฒนธรรมล้านนา ถูกฝังรากลึกและถ่ายทอดเรื่องราว ที่สร้างภาพจำให้กับสังคมในรูปแบบของความ ‘ต๊ะต่อนยอน’ ทว่าในสังคมโลกาภิวัตน์ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามยุคสมัย ถึงแม้วัฒนธรรมล้านนาจะมีจุดเด่นและเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่อสังคมเปลี่ยน สิ่งที่เก่าแก่ต้องเปลี่ยนตาม แต่จะเปลี่ยนอย่างไร ให้อยู่ได้ภายใต้โลกทุนนิยม จึงไปคำถามที่ย้อนกลับไปว่า ล้านนาแมสหรือไม่แมส? ในขณะที่วัฒนธรรมป็อปในภูมิภาคอื่น ๆ ต่างทยอยเข้ามาสร้างสรรค์อิทธิพลในชีวิตของผู้คน แล้วล้านนาล่ะ? ป็อปบ่? แมสบ่?

    เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 มีวงพูดคุยออนไลน์​ในหัวข้อ “ล้านนาแมส/ไม่แมส ? อนาคตของวัฒนธรรมล้านนาในโลกทุนนิยม” เพื่อร่วมกันค้นหาคำตอบในประเด็นนี้ โดย อ้ายมะเดี่ยว-ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์ แห่งคำม่วน สตูดิโอ, อ้ายสง สงกรานต์ สมจันทร์ หมู่แห่นักดนตรีและคนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย, เปีย พรพรรณ วรรณนา นักเขียนและและคนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย, อ้ายเก่ง วัชรินทร์ ยอดคำเหลือง Executive Producer ศิลปินนักดนตรีล้านนา และ​ดำเนินก๋านอู้จ๋าโดย นวลคำ ขะยอมแดง คอลัมนิสต์จาก Lanner

    ความสุข ความทรงจำ และความหวังของภาพยนตร์ล้านนา

    ‘มะเดี่ยว’ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์แห่ง Studio Commuan Chiangmai : สตูดิโอคำม่วน เชียงใหม่ ผู้ฝากผลงานชื่อดังไว้มากมาย อาทิ รักแห่งสยาม, ดิวไปด้วยกันนะ, Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ และคน ผี ปีศาจ เป็นต้น มะเดี่ยวได้บอกเล่าถึงการสร้างสรรค์ความบันเทิงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นละคร ซีรีย์ และเพลง ส่วนใหญ่เขามักจะหยิบจับวัฒนธรรมประชานิยม (Popular culture) ที่เป็น Mass Production วัยรุ่นสามารถเข้าถึงได้ง่าย แน่นอนว่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการถ่ายทำผลงานอยู่เสมอ

    ผลงานล่าสุดของ ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล เรื่อง My Tempo น้อง พี่ ดนตรี+เพื่อน The Series ที่ได้นักแสดงจากวงบอยแบนด์ T-pop ชื่อดัง อย่างวง Proxies เขาก็ได้ใช้ฉากหลังเป็นเชียงใหม่ โดยเขากล่าวว่าเรื่องส่วนใหญ่ที่เคยผลิตนั้น ร้อยละ 90 เป็นเรื่องราวชนชั้นกลางปกติ ทั่วไป ที่เชื่อมโยงกับชีวิตกับตัวเอง จากที่เติบโตมาในเมืองเชียงใหม่ และทำให้คนอื่นเห็นว่าเชียงใหม่นั้น มีความเป็นเมืองที่ทันสมัยและไลฟ์สไตล์ที่น่าหลงใหล ไม่ต่างจากส่วนกลางหรือทั่วโลก พูดให้เข้าใจง่าย ๆ เราก็อยากไปตามรอยปูซาน เที่ยวทะเล เสพบรรยากาศดี ๆ ถึงแม้กรุงโซลจะเป็นเมืองหลวง เพราะเราดูมาจากซีรีส์เกาหลี ดังนั้นการใช้เชียงใหม่เป็นฉากหลังของหนังหลาย ๆ เรื่อง มาตั้งแต่โบราณกาลก่อน ต้องยอมรับว่าการขายวัฒนธรรม (Culture) หรือขายพื้นหลัง (Background) ของความเป็นเหนือ ค่อนข้างจะกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมประชานิยม (Popular culture)

    (ภาพ: My Tempo น้องพี่ ดนตรี เพื่อน) 

    หากถามถึง ‘ความแมส’ หรือ ‘ไม่แมส’ ถ้าเทียบกับวัฒนธรรมอีสาน ปีนี้ก็มีภาพยนตร์สัปเหร่อ ที่กวาดรายได้มหาศาล เพลงอีสาน ภาพยนตร์อีสาน พูดได้ว่าเขา ‘แมส’ มะเดี่ยว กล่าวว่า บ่อยครั้งที่มักจะได้รับคำถามจากสตูดิโอว่า ทำภาพยนตร์เหนือบ้างไหม

    “ผมบ่จ้างไปไหนต่อละ บ่จ้างเยะใดละ”

    เมื่อปีกลายเขาได้ไปร่วมควบคุมการผลิต (Producer) ภาพยนตร์ส้มป่อย ซึ่งมีกระแสและรายได้ค่อนข้างดี โรงภาพยนตร์ทางภาคเหนือบ้านเรา ได้รับข้อติชม (Feedback) จากผู้บริโภคมาว่าอยากให้ผลิตผลงาน ที่เกี่ยวข้อง “ความเป็นเหนือ ความเป็นเมือง” อีกเยอะ ๆ แต่ปัญหานั้นอยู่ที่ว่า คิดไม่ออกว่าจะไปทางไหนดีบ้าง เพราะต้องเข้าใจว่าการทำภาพยนตร์ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก อย่างน้อยก็ราว ๆ 20 ล้าน ดังนั้นจึงต้องคำนึงในแง่นี้อย่างถี่ถ้วน ถึงตอนนี้ก็ยังไม่ได้ผลิตผลงานออกมาที่จะขายวัฒนธรรมล้านนาของเรา

    (ภาพ: ส้มป่อย) 

    “บ่ค่อยแน่ใจ ว่าเฮาจะขายของเก่า กะว่าเฮาจะขายของใหม่ดี”

    ในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ผู้กำกับภาพยนตร์แห่ง Studio Commuan Chiangmai : สตูดิโอคำม่วน เชียงใหม่ กล่าวถึงปัจจัยหลาย ๆ ด้านในการผลิต หากเราขายของเก่าถึงศิลปวัฒนธรรมอันดั้งเดิมของชาวเหนือ ผู้ชมจะเข้าถึงหรือมันจะแมสหรือไม่ รวมไปถึงว่าจะมีคนซื้อวัฒนธรรมเหมือนทางอีสานไหม ตัวเขาครุ่นคิดอยู่เสมอว่า วัฒนธรรมล้านนาของเราจะสามารถนำมาต่อยอดได้อย่างไรให้เข้าสู่สังคม เพื่อประกาศวัฒนธรรมความแมสของเรา

    ทางด้านละคร ซีรีส์ ภาพจำสนิทแนบแน่นของล้านนาที่ผู้จัดชอบผลิต คือ ความเป็นเจ้าเป็นนาย หรือความเป็นวัฒนธรรมอันสูงส่ง แต่ส่วนตัวของมะเดี่ยวไม่ได้มีแนวทางไปฝั่งนั้นสักเท่าไหร่ อย่างล่าสุด ซีรีย์วายย้อนยุค มีการนำพื้นหลังถ่ายทำที่เชียงใหม่ จริง ๆ แล้ว สิ่งนี้ล้วนเป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ที่ผู้คนในสังคมใหญ่ยังจำเราได้จากความเป็นเจ้าเมืองเหนือแบบนี้ แต่ประเด็นคือ ถ้าเปรียบเป็นอาหาร เราก็ไม่ได้สะดวกที่จะรับประทานสิ่งนี้ได้ทุกมื้อ เป็นเรื่องยากที่ใครจะรับชมละครพีเรียดย้อนยุคทุกวันคืน อาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันอยู่ในกระบวนพัฒนาแนวคิดและวิธีการนำเสนอวัฒนธรรมของเฮาชาวเหนือ เพื่อนำไปสู่ความแมส 

    เสียงดนตรี บรรเลง เพลงล้านนา

    “แมสบ่แมสมันสำคัญสำหรับใคร 

    เพราะมิติทางดนตรี คุณค่าและความหมายก็สำคัญเหมือนกัน”

    สงกรานต์ สมจันทร์ อาจารย์สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ กล่าวว่า ในฐานะที่เติบโตบ้านนอก สังคมได้หล่อหลอมวัฒนธรรมทางดนตรีที่เข้มข้นหลากหลายมิติ ชาวบ้านที่ฟังทั้งเพลงพื้นเมืองแบบจารีตประเพณี (Traditional) หรือแบบแผน ขณะเดียวกันเพลงร่วมสมัยอย่างจรัล มโนเพ็ชร รวมถึงดนตรีใหม่ ๆ ชาวบ้านที่นี่ก็เปิดรับเพลงในหลายรูปแบบเสมอ ๆ

    (ภาพ: เอ็ดดี้ ตลาดแตก)

    สำหรับสงกรานต์ ดนตรีจึงไม่ได้เป็นสิ่งที่ระบุได้ว่าใครอยู่บ้านนอกหรืออยู่ในเมืองใหญ่  เสมือนความสัมพันธ์ที่หลากหลาย ก่อตัวจากความชอบของผู้คนในสังคมนั้น ๆ และจากการอยู่พื้นที่ต่างอำเภอ เขาจึงได้ความรู้จากคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน รวมไปถึงการศึกษาในระบบ เพื่อเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้านล้านนา ในทางหนึ่งดนตรีพื้นเมืองล้านนานั้นก็มีความแมส และสร้างภาพจำให้กับคนทั่วไป ในเชิง ความเป็น “ดนตรีต๊ะต่อนยอน” แห่ ฟ้อนเล็บ โดยที่นักวิชาการบางส่วนพยายามพูดเสมอว่าดนตรีล้านนาได้รับอิทธิพลมาจากกรุงเทพฯ เหมือนคำกล่าวที่ว่า “คิดอะไรไม่ออก บอกเจ้าดารา” ในขณะเดียวกันมุมมองชาวบ้านก็มีภาพจำที่แตกต่างกัน แท้จริงดนตรีล้านนา มันไม่ได้มันไม่ได้มีแต่ภาพต๊ะต่อนยอนอย่างเดียว มันมีภาพพะรุงพะรัง และภาพสีเทา

    รักแห่งล้านนา

    ทางด้าน พรพรรณ วรรณา หรือเปีย นักเขียน และอาจารย์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในฐานะของคนมราเขียนหนังสือ เรื่องราวความเป็นล้านนาดั้นเดิม ไม่ว่าจ้อย ซอ หรืองานวรรณกรรมเก่า มีผู้ขีดเขียนสร้างสรรค์กันค่อนข้างมาก อาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้อ่านจดจำภาพล้านนาจากตรงนั้น ในส่วนของงานเขียนสารคดี เรื่องสั้น งานนวนิยาย ของพรพรรณ เธอได้บอกเล่าว่า ผลงานนั้นอาจจะมีชื่อเหมือนสมัยเก่า แต่เป็นเรื่องราวที่ร่วมสมัย เพราะตัวผู้เขียนเอง อยู่ในพื้นที่ท้องถิ่น ฉากและตัวละครของเปีย ไม่ได้หลุดไปจากเชียงใหม่

    (ภาพ: ปกหนังสือสาวเครือฟ้า ศตวรรษที่ 21)

    เล่มแรกที่เขียน อย่างเรื่องสาวเครือฟ้า ศตวรรษที่ 21 เรื่องนี้ทำให้เธอรู้สึกว่า แท้จริงแล้วงานนี้มีความเก่า และเชย เหตุใดถึงต้องเขียนอธิบายประเด็นเรื่องรามเก่า ๆ เพื่อที่พยายามทลายอคติของวัฒนธรรมในสังคมที่มีนับร้อยปี  หนังสือเล่มต่อ ๆ มาของนักเขียนสตรีเพศมากฝีมือ เธอพยายามที่จะเขียนประเด็นใหม่ เป็นสังคมที่ร่วมสมัยมากขึ้น ทั้งการบอกเล่าวิถีชีวิตของคนที่เข้ามาอยู่ในสังคมล้านนาเชียงใหม่  

    ด้านประเด็นในเรื่องความแมส ในฐานะที่เป็นนักเขียนที่ไม่ได้มีชื่อเสียง (No name) มากขนาดนั้น มีหนังสือออกมาเพียง 3-4 เล่ม “เฮาอยู่พื้นที่จำกัด ในท้องถิ่นล้านนา แน่นอนว่าเฮายังบ่สามารถที่จะมีพื้นที่ส่วนกลาง หรือเป๋นที่ฮู้จัก น่าจะยังบ่ได้เตื่อ” พรพรรณ วรรณา กล่าว

    วัตถุดิบทางวัฒนธรรมอันล้ำ(ฆ่า)ค่า

    วัตถุดิบวัฒนธรรมล้านนาของเราที่จะเอาไปขายทำยังไงให้แมส ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ตอบกลับคำถามดังกล่าวว่า ในปัจจุบันคำที่พูดกันอย่างแพร่หลาย คือ ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) จริง ๆ คำนี้มีมานานแล้ว ในสมัยลุงตู่(ประยุทธ์ จันทร์โอชา) เขาได้เข้าไปร่วมพูดคุยเรื่องของการทำภาพยนตร์อย่างไร ใจความหลักคือวัฒนธรรมมันขายได้ “ล้านนามีคนน่าฮัก อาหารอร่อย ผู้คนเป็นมิตร ค่าครองชีพ” อย่างความนิยมชมชอบเกาหลีก็จะมีวงบอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ป มีแฟนคลับแฟนด้อม (Fandom) ของบ้านเราก็จะมีซีรีส์วาย คนจีน คนญี่ปุ่น ก็มาตามรอย แต่งชุดนักเรียน เกิดเป็นคุณค่าด้านเศรษฐกิจขึ้นมา คำถามคือว่าแล้วเราจะคัดเลือกวัฒนธรรมอย่างไร เป็นเรื่องที่น่าสนใจ บ้านเรามีวัตถุดิบอย่างดี คือ คนบ้านเฮาหน้าตาดี น่าฮัก มีการอู้จาน่าฟัง เราก็ส่งออกคนกลุ่มนี้เข้าไปส่วนกลางกลายเป็นวัฒนธรรมป็อบร่วมสมัย แล้วเราจะขายอะไร สุดท้ายก็คือวัฒนธรรมท้องถิ่น กลุ่มที่ทำได้ดีคือชาวอีสาน ทำให้ตอนนี้กลายเป็นวัฒนธรรมหลัก มันทำได้ แต่เราต้องหาพื้นที่ในการมาทำงานร่วมกัน

    ถ้าพูดตามตรงวัฒนธรรมล้านนาเป็นสิ่งที่ยังขายได้ มีเอกลักษณ์ แต่ประชากรเรามีจำนวนน้อย และความหลากหลาย ล้านนามีเชียงใหม่ พี่น้องไต พี่น้องชนเผ่า รวมกันหมด และมีวัฒนธรรมร่วมกัน จะทำอย่างไรให้เราแมสร่วมกัน นายทุนอยากได้ของไปขายอยู่แล้ว และคนของเราก็มีความสามารถ แต่ในปัจจุบันติดปัญหาตรงที่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรให้ไปถึงจุดของความแมส อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดเรามองไปได้ไกล แต่บางทีอาจจะทำให้มองไม่เห็นเรื่องใกล้ตัว

    ทางด้าน วัชรินทร์ ยอดคำเหลือง Executive Producer ศิลปินนักดนตรีล้านนา ผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชน เกี่ยวกับดนตรีล้านนา ทั้งจารีตและร่วมสมัย โดยแบ่งตลาดออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิม งานปอย งานราษฎร์ งานหลวง อีกกลุ่มหนึ่งก็จะเป็นอีเวนต์ (Event) ทันสมัย เราจะทำอย่างไรที่จะรองรับการตลาดทั้งสองได้ ต้องคำนึงถึงในส่วนของเรื่องของราคา ศิลปิน กลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์เทคนิคในสังคมล้านนาร่วมสมัย แน่นอนเรามีทุนทางวัฒนธรรม แต่มีวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม พูดถึง ‘ความแมส’ เราต้องหาวิธีการขายที่เปลี่ยนแปลงไป และเข้าใจบริบททางสังคม แทรกซึมสร้างความเข้าใจของผู้คนเช่นกัน

    ความหวัง ความฝัน ความแมส

    “ผมบ่ติดเลยว่าใครจะเปลี่ยนแปลง ไปตางหน้าแล้วตางหลังจะหายไป”

    ในฐานะคนที่ทำงาน Mass Production อยู่ที่ว่าเราจะพาวัฒนธรรมล้านนาขับเคลื่อนไปทางไหน เหตุเพราะวัฒนธรรมเป็นตัวที่ฉุดเศรษฐกิจ เราจะทำให้ขับเคลื่อนไปทางใด ผมว่าสิ่งที่สำคัญคือเรามีรายได้ให้น้อง ๆ แบรนด์ ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในภาพยนตร์ ซีรีส์ล้วนมีมูลค่าสูง ในส่วนของการที่จะไปถึงจุดที่แมส แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่จะสร้างอะไร อย่างไรนั้น ในอนาคตเขาคิดว่าก็เป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะทำ หากเรามีเป้าหมาย จุดประสงค์ ด้านการอนุรักษ์ ผมไม่ได้กังวลว่าจะไปทางไหน  ขอแค่ให้วัฒนธรรมพัฒนาไปไกลก็เพียงพอแล้ว ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ผู้กำกับภาพยนตร์แห่ง Studio Commuan Chiangmai : สตูดิโอคำม่วน เชียงใหม่ กล่าว

    ทางด้าน พรพรรณ วรรณา หรือเปีย นักเขียน และอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นคำถามในใจว่าสถานการณ์โลกปัจจุบัน เราจะแยกจริง ๆ หรอ ว่าจะแยกเป็นเหนือ อีสาน ใต้ ในเมื่อคนรุ่นใหม่ปรับตัวไปตามโลก ความจะไปสู่โลโค ไปโกโบล เราจะจากล้านนาไปสู่เวทีสากล เราโดดเด่น ใครจะมาสู้เราได้

    สงกรานต์ สมจันทร์ หมู่แห่นักดนตรีและคนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย กล่าวว่าวัฒนธรรมล้านนาของเรามีจุดเด่น 

     “แมสเป็นเรื่องความฝันที่ใกล้จะถึง” 

    ผมก็เป็นคำถามในแง่คนสอนหนังสือ มันแมสบ่แมส ความแมสแน่นอนว่ามันจำเป็นในโลกทุนนิยม มันจำเป็นต้องขาย แต่การที่จะทำให้แมสในสิ่งที่เราจะขาย เราก็ต้องมาดูวัตถุดิบที่เรามีด้วยว่าเป็นอย่างไร เราเล่าเรื่องราวได้เต็มที่หรือยัง พรหมแดนนของการทำงานสื่อสารมวลชน ส่วนตัวคิดว่ายังไงก็ไปเจอกันแน่นอน ด้วยปัจจัยสามารถขับเคลื่อน ในแง่ปัจจุบัน ถ้าเราจะทำให้มีมูลค่าจะทำไง เป็นคำถามไว้เช่นเดียวกัน

    Related

    ไม่ได้ร้องขอ หากแต่มาเพื่อบอกกล่าว ‘บุญร่มไทร’ คนจนเมืองริมทางรถไฟ ความเจริญที่ข้ามผ่านคนริมขอบ   

    เรื่อง : ปภาวิน พุทธวรรณะ ช่วงสายของวันธรรมดาทั่วไปในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลองอย่างที่มันควรจะเป็น รถไฟขบวนมหาชน หมายที่ 371 ได้ชะลอความเร็วเพื่อหยุดรับผู้คนเดินทางกลับบ้านสู่ภาคตะวันออก...

    ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน พลวัตการพลัดถิ่นฐานของผู้คนบนสายธารประวัติศาสตร์ สงครามและสนามรบ

    เรื่อง : นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง “เชียงแสน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้คนทั่วไปว่าคือชื่อของอำเภอชายแดนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป....

    ก้าวไปข้างหน้า กับความไม่แน่นอนของปัญหาไฟป่า-หมอกควันจังหวัดเชียงใหม่

    เรื่อง : ชยา วรรธนะภูติ ไฟ ฝุ่นและมลพิษใน “อุตสาหกรรมนิยมยุคปลาย” นับตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้ว ด้วยอิทธิพลของการล่าอาณานิคม การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติการเกษตรในทวีปต่างๆ...