เจี๊ยบ – มัจฉา พรอินทร์ ผู้หญิงสร้างแรงบันดาลใจ 2023 กับการผลักดันสิทธิเด็ก สตรี และความหลากหลายทางเพศ

เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา สำนักข่าวบีบีซี ได้เผยรายชื่อ 100 สตรีผู้เป็นแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลจากทั่วโลก ประจำปี 2023 ซึ่งมีทั้งนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ดาราฮอลลีวูด อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เจ้าของธุรกิจความงาม นักฟุตบอลหญิง และหนึ่งในนั้นคือ เจี๊ยบ – มัจฉา พรอินทร์ นักรณรงค์เพื่อสิทธิชนกลุ่มน้อย และผู้มีความหลากหลายทางเพศอยู่ด้วย


เจี๊ยบ – มัจฉา พรอินทร์

มัจฉา พรอินทร์ ทำงานเป็น NGO เต็มตัวมาตั้งแต่ตั้งแต่ปี 2548 และเป็นนักเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิความหลากหลายทางเพศทั้งในระดับชุมชน ประเทศและนานาชาติ โดยตลอดระยะเวลาร่วม 20 ที่ทำงานมา มัจฉา มักจะพยายามนำเสนอประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน และสิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศมาโดยตลอด อีกทั้งยังต้องพบเจอกับอคติในเรื่องเพศซึ่งไม่ใด้เกิดจากคนในสายงานเดียวกันเพียงอย่างเดียว หลายครั้งความรู้สึกไม่สบายใจก็เกิดจากกลุ่มคนที่ตนต้องไปทำงานด้วย มัจฉาจึงเชื่อว่าเครื่องมือหรือกระบวนการต่างๆ ที่จะช่วยให้คนเข้าใจและมีความตระหนักรู้ในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญระยะเวลาจากจุดเริ่มต้นการทำงานตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน

สำหรับโครงการที่เป็นจุดเริ่มต้นของ มัจฉา นั้น คือโครงการพัฒนาชนเผ่าพื้นเมืองเด็กผู้หญิงที่อยู่ในระบบโรงเรียนและไร้สัญชาติ ซึ่งในปัจจุบันนั้น สถานการณ์ของการพัฒนาสิทธิผู้หญิง เด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในชุมชนเผ่าพื้นเมืองยังคงประสบกับปัญหาความเหลื่อมล้ำและอคติที่มีมาอย่างยาวนาน ซ้ำด้วยกรอบความคิดภายใต้วัฒนธรรมชายเป็นใหญ่ ที่กำหนดวิถีชีวิตของผู้หญิงตามที่สังคมปลูกฝังมาตั้งแต่อดีต และผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศก็ยังคงไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวและคนในชุมชน ยังถูกตีตราเหมารวม ทำให้เสี่ยงที่จะถูกเลือกปฏิบัติ จนบางคนต้องออกจากชุมชนไปในที่สุด

ในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดกฎหมายการรับรองสิทธิและสถานภาพของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ เช่น กฎหมายรับรองการสมรสของบุคคลรักเพศเดียวกัน ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าวทำให้กลุ่มความหลากหลายทางเพศไม่สามารถเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเต็มที่ เช่น สิทธิในการได้รับความคุ้มครองเมื่อถูกกระทำความรุนแรง สิทธิที่เกี่ยวกับบุตร สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม สิทธิในการรับมรดก สิทธิในการทำนิติกรรมต่าง ๆ ร่วมกับคู่สมรส เป็นต้น

มัจฉา ในฐานะที่เป็นเฟมินิสต์ที่เป็นเลสเบียน และเป็นชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อย มัจฉา มีบทบาทนำในการเคลื่อนไหวเพื่อยุติความรุนแรงจากเหตุแห่งเพศในภูมิภาค ขณะเดียวกันเธอก็ทำงานปกป้องสิทธิเรื่องที่ดินทำกินและความยุติธรรมทางสภาพภูมิอากาศ เพื่อกลุ่มคนที่ถูกพลัดพรากจากถิ่นฐานและกลุ่มคนที่ถูกตัดสิทธิ และการอยู่ในสถานะครอบครัวที่ยังเชื่อในระบบที่มีแค่สองเพศ ทำให้มีช่วงเวลาที่ครอบครัวของมัจฉาจะต้องตอบคำถามกับสังคม โดยเฉพาะเมื่อ 12 ปีที่แล้ว กระบวนการสมรสเท่าเทียมยังไม่ได้เป็นที่รับรู้แบบในปัจจุบัน ทำให้ต้องเผชิญหน้ากับการถูกปฏิบัติในหลากหลายระดับและถูกคุกคาม เมื่อไปแจ้งความ กระบวนการยุติธรรมกลับไม่ช่วยอะไร

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง