พฤษภาคม 19, 2024

    สรุปเสวนา “คลองแม่ข่าใสแล้ว น้ำเสียเมืองเชียงใหม่ยังไงต่อ?”

    Share

    เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา เวลา 13.00 น. มูลนิธิสื่อประชาธรรมได้จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “คลองแม่ข่าใสแล้ว น้ำเสียเมืองเชียงใหม่ยังไงต่อ?” ณ วัดหัวฝาย เพื่อร่วมกันหาทางออกและหารือเกี่ยวกับการจัดการน้ำเสียในเขต อ.เมืองเชียงใหม่ให้มีความยั่งยืนต่อไป โดยมีวิทยากรได้แก่ วงกต โอวาทสกุล วิศวกรสุขาภิบาลชำนาญการพิเศษ เทศบาลนครเชียงใหม่, อำนาจ ฐิตศิริ ผู้อำนวยการองค์การจัดการน้ำเสีย, ธีระ หว่องวัฑฒโน  Operation Manager โรงแรมแทมมาริน วิลเลจ และ อนันต์ ชัยคำกอง ประธานชุมชนกำแพงงาม โดยนันทา เบญจศิลารักษ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อประชาธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ



    วงกต โอวาทสกุล กล่าวว่าความสำเร็จของคลองแม่ข่า จะเกิดจากทางเทศบาลนครเชียงใหม่ไม่ได้ แท้จริงแล้วมีการทำงานหลายภาคส่วน ถ้านับตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันน่าจะมีโครงการที่เกี่ยวกับคลองแม่ข่ามากว่า 30-40 โครงการแล้ว เราเป็นเพียงฟันเฟือนเล็ก ๆ ในการดำเนินการจัดการคลองแม่ข่า ซึ่งแผนการทำงานการจัดน้ำเสียของทางเทศบาลคือการมองภาพรวมทั้งเมือง และเทศบาลได้มีข้อตกลงการให้บริการ รับบริการ จัดการระบบบำบัดน้ำเสียร่วมกับองค์การจัดการน้ำเสีย ที่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 55,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียได้ทั้งเมืองเชียงใหม่

    ด้านอำนาจ ฐิตศิริ กล่าวว่าโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำเทศบาลนครเชียงใหม่ มีเนื้อที่ 100 ไร่ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศ มีสถานีสูบน้ำเสียในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 8 สถานี องค์การจัดการน้ำเสียได้มีการให้ความรู้ ความเข้าใจ การฝึกอบรม การติดตั้ง

    ด้านอนันต์ ชัยคำกอง ประธานชุมชนกำแพงงาม กล่าวว่า เราได้แจ้งเบาะแสให้กับหน่วยงานรัฐเกี่ยวกับปัญหาน้ำเสียในลำคลองต่าง ๆ แต่ละชุมชนก็จะมีปัญหาที่แตกต่างกัน เราก็เป็นผู้ประสานงานให้ระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานรัฐ อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง แก้ไขปัญหาต่าง ๆ จะได้ถูกแก้ไขอย่างยั่งยืน และการให้ข้อมูลกับชาวบ้านอย่างถูกต้องมากขึ้น น้ำเสียมันเป็นปัญหามายาวนานแล้ว จนมาถึงวันนี้ อาจจะเห็นแสงเทียนน้อย แต่ก็ต้องให้ทุกคนเมืองเชียงใหม่มีส่วนร่วม หน่วยงานรัฐต้องเก็บปัญหาจากชาวบ้านไปเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป

    ธีระ หว่องวัฑฒโน กล่าวว่าในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการโรงแรม โรงแรมน่าจะเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมากที่สุด เพราะเรารับนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการเขาเลือกว่าจะพักที่ไหน ที่ไหนที่น่าไป เชียงใหม่จึงมีข้อดีมากที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว วิธีการที่ดีที่สุดของผู้ประกอบการคือเราจะทำอย่างไรให้ทรัพยากรธรรมชาติมันบอบช้ำน้อยที่สุด เราต้องตระหนักว่าหน้าที่ของเราที่ควรทำคืออะไร เพื่อจะสร้างภาระให้ผู้อื่น ๆ ได้มากที่สุด

    นันทา เบญจศิลารักษ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิสื่อประชาธรรมและผู้ดำเนินรายการกล่าวโดยสรุปว่า สิ่งที่เป็นประเด็นใหญ่คือการแก้ปัญหาไปตามปัญหาที่มีมากขึ้นเพราะว่าเราไม่มีการวางผังเมืองมาก่อน และเรื่องการมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานรัฐ ต้องเติมเต็มช่องว่างในเรื่องนี้ รวมถึงการสนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี นวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ ท้ายสุดคือเรื่องกฎหมาย การบังคับใช้ในเรื่องการจัดการน้ำเสีย และการวางผังเมือง เวทีนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่เราจะมาพูดถึงเรื่องน้ำเสียมากกว่าแค่คลองแม่ข่า

    สามารถรับฟังการเสวนาได้ที่

    และ https://www.facebook.com/100083242571578/videos/5694643573921993

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...