พฤษภาคม 7, 2024

    นัด “คดีการเมือง” ในภาคเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2566

    Share

    เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ยังมีคดีจากการชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองในพื้นที่ภาคเหนือที่ต้องนัดสืบพยาน และนัดฟังคำพิพากษาในศาลหลายจังหวัด ทั้งคดีตามมาตรา 112 และคดี พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ยังคงไม่สิ้นสุดลงไป         แม้สถานการณ์โควิด-19 จะลดระดับไปแล้วก็ตาม  ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คดีสำคัญที่มีนัดหมายในเดือนนี้ ได้แก่

    1. คดีแสดงงานศิลปะที่มีลักษณะคล้ายธงชาติที่ไม่มีสีน้ำเงิน ของ “รามิล” ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์ และ ยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ สองสมาชิกกลุ่ม Artn’t  ข้อหาตามมาตรา 112 และ พ.ร.บ.ธง

    ศาลจังหวัดเชียงใหม่นัดสืบพยาน วันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566

    2. คดีคาร์ม็อบกำแพงเพชร ของ อภิสิทธิ์ พรมฤทธิ์ ข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และ พ.ร.บ.ชุมนุมฯ

    ศาลจังหวัดกำแพงเพชรนัดฟังคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00 น.

    3. คดีคาร์ม็อบพิษณุโลก ของ ปุณณเมธ อ้นอารี ข้อหา พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

    ศาลแขวงพิษณุโลกนัดฟังคำพิพากษา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00 น.

    4. คดี 4 แกนนำนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชุมนุม #คนเชียงใหม่จะไม่ทนtoo เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2563 ที่ลานประตูท่าแพ ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

    ศาลแขวงเชียงใหม่นัดฟังคำพิพากษา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00 น.

    5. คดีมาตรา 112 ของอานนท์ นำภา และ “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ รวม 3 คดี

    ศาลจังหวัดเชียงใหม่นัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566



    Related

    ชิวๆ กับความไม่แน่นอน: อารมณ์สายมูกับระบอบเวลาที่ยืดหยุ่น

    เรื่อง: ณีรนุช แมลงภู่* ในยุคสมัยที่การดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้อยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนและอากาศแบบละติจูดเดียวกับ ‘สวรรค์’ เป็นประสบการณ์สามัญของคนทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อน ‘สายมู’ ของเราถึงยังมีเวลาไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระดังทั่วไทย สวมชุดขาวร่วมพิธีกกรรมเสริมแต้มบุญ...

    โทษทีพี่ ‘ติด’ งาน

    เรื่อง: การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์*  คุณติดโซเชียลมีเดียหรือไม่ หากคำถามนี้เกิดขึ้นก่อนปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่เฟซบุ๊กนำปุ่มกดถูกใจมาใช้งาน คนส่วนใหญ่จะตอบปฏิเสธ หรือไม่ก็บอกว่าตัวเองก็แค่ชอบเล่นโซเชียลมีเดีย แต่ไม่ถึงกับขั้น “เสพติด”...

    ชีวิตบนเส้นด้ายของเกษตรกรหลังบ้านอีอีซี

    เรื่อง: กัมปนาท เบ็ญจนาวี เกษตรกรหลังบ้านอีอีซีส่วนใหญ่ถูกจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรและอำนาจหลังการปิดล้อมใหม่ โดยเฉพาะการขาดการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงอำนาจในการมีส่วนร่วมกำหนดภูมิทัศน์การพัฒนาในท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรมีเงื่อนไขที่จำกัดในการคาดเดาและกำหนดอนาคตของตนเอง จนนำไปสู่การก่อตัวขึ้นของสถานการณ์ความขัดแย้งและความแตกต่างทางสังคม มากกว่าจะเป็นผลลัพธ์ที่นำไปสู่การกระจายผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม...