“ประเทศนี้ความสำคัญของสื่อมันไม่ใช่แค่ปัญหาที่สื่อนำเสนอ แต่มันคือสำนึกของตัวสำนักข่าว ผมเห็นว่าสิ่งที่มีความสำคัญของสำนึกตรงนี้มันต้องเกิดจากคำว่าสื่อของประชาชน ที่เป็นตัวแทนของการสะท้อน เปิดโปง เปิดเผย และวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เป็นปมปัญหาที่ประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ เผชิญอยู่ ซึ่งมีหลายมิติมาก ทั้งชีวิต การเมือง เศรษฐกิจ ความเข้าใจทางด้านประวัติศาสตร์

09/05/2022

ซึ่งผมคิดว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว สื่อประชาชนมีส่วนในการทำให้เกิดการพัฒนา การเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในระบบประชาธิปไตยในลักษณะต่าง ๆ สื่อมันไม่ใช่แค่การรายงานข่าวเท่านั้น แต่มันหมายถึงการสร้าง content ให้สังคมได้ยินเสียงของคนที่ไม่เคยถูกได้ยิน ​

สื่อถูกใช้เป็นเครื่องมือของการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ สื่อทางด้านศิลปะวัฒนธรรม นิทรรศการต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบของสถาปัตยกรรม การจัดผังเมือง แม็กกาซีน ภาพยนตร์ ถูกกล่อมเกลาภายใต้อุดมการณ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในสังคมที่ไม่มีประชาธิปไตย สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากสื่อภาคประชาชนจึงเป็นการตอบโต้และทำให้เห็นถึงมหันตภัยของสื่อเดิม เนื้อหาของมัน รวมทั้งทำให้เห็นถึงปัจจุบันของปัญหาที่ประชาชนหลาย ๆ กลุ่มประสบอยู่”​

— ​ ทัศนัย เศรษฐเสรี ​
คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่​

ความเห็นจากการพูดคุยระหว่างกองบรรณาธิการ Lanner กับนักคิด นักวิชาการและศิลปินภาคเหนือ เมื่อเดือนเมษายน 2565 ​

ภาพ: วรรณา แต้มทอง​
#lanner

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง