พฤษภาคม 2, 2024

    ยกฟ้องเพิกถอนหมู่บ้านป่าแหว่ง

    Share

    28/07/2022

    วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ มีคำพิพากษาในคดีที่กรมธนารักษ์ ถูกฟ้อง ในกรณีอนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรม ใช้พื้นที่ราชพัสดุแปลง ตําบลดอนแก้ว อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 147 ไร่ 3งาน 30ตารางวา ก่อสร้างอาคารที่ทำการศาล บ้านพักตุลาการและข้าราชการศาลอุทธรณ์ ภาค 5 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมีนายสุวิทย์ รุ่งวิสัย ซึ่งอ้างเป็นผู้มีหน้าที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยื่นฟ้องกรมธนารักษ์ ฟ้องว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่า บางส่วนทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดอยสุเทพ และอำนาจการอนุญาตใช้ประโยชน์เป็นอำนาจของอธิบดีกรมป่าไม้


    โดยศาลฯเห็นว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า พื้นที่ราชพัสดุแปลงพิพาททั้งแปลงอยู่นอกแนวเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยสุเทพ และนอกแนวเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย อำนาจอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุแปลงพิพาทเป็นอำนาจของกรมธนารักษ์


    ซึ่งขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้พื้นที่แปลงพิพาท เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าที่ราชพัสดุแปลงพิพาท แม้มีสภาพเป็นป่าที่ลาดเชิงเขา บางส่วนเป็นที่สูงชันอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคเหนือ (ลุ่มน้ำปิง-วัง) แต่เมื่อพื้นดังกล่าวมิได้มีพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใดทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่อุทยานแห่งชาติ พื้นที่ราชพัสดุแปลงพิพาทจึงไม่อยู่ในบังคับพ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 อีกทั้งพื้นที่ราชพัสดุแปลงพิพาทอยู่ในพื้นที่ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบกำหนดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 2 ชั้น 3 และชั้น 4 สำนักงานศาลยุติธรรมจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับดังกล่าว และไม่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียก่อนเริ่มโครงการตามข้อ 14 (1) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมน ตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 ดังนั้น การพิจารณาอนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้ที่ราชพัสดุแปลงพิพาทจึงเป็นไปตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ข้ออ้างที่ว่าการพิจารณาอนุญาตของกรมธนารักษ์เป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ 50 มาตรา 67 วรรคสอง ที่ใช้บังคับในขณะนั้น จึงไม่อาจรับฟังได้

    และยังฟังไม่ได้ว่าการที่กรมธนารักษ์อนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรมก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลอุทธรณ์ภาค 5 บ้านพักตุลาการและบ้านพักข้าราชการศาลอุทธรณ์ ภาค 5 เป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อสำนักงานศาลยุติธรรมได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ที่ราชพัสดุแปลงพิพาทเพื่อก่อสร้างอาคารดังกล่าวก็ชอบที่จะดำเนินการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อให้การก่อสร้างอาคารดังกล่าวสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ข้ออ้างที่ว่าการก่อสร้างอาคารดังกล่าวเป็นเหตุให้มีการโค่นต้นไม้ ทำลายป่า ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ป่าแหว่ง อันเป็นการทำลายระบบนิเวศของพื้นที่ป่าไม้ที่สวยงามตามธรรมชาติและมีผลกระทบต่อลำห้วยแม่ชะเยือง จึงไม่อาจรับฟังได้ และเมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าการที่กรมธนารักษ์อนุญาตให้สำนักงานศาลยุติธรรมใช้พื้นที่ที่ราชพัสดุแปลงพิพาท จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิของนายสุวิทย์ผู้ฟ้องคดี


    ภายหลังได้มีการชี้แจงโดยนายบัณรส บัวคลี่ โฆษกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ในกรณีดังกล่าว เนื่องจากเกิดความสับสน จากการตัดสินของศาลปกครองจังหวัดเชียงใหม่ โดย นายบัณรส ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวไว้ว่า กรณีดังกล่าว ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ แต่เป็นการฟ้องร้องโดยนายสุวิทย์ ซึ่งเป็นการเลือกวิธีการต่อสู้ ที่แตกต่างไปจากเครือข่ายของตนตั้งแต่ช่วงแรกของการต่อสู้ โดยเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ใช้วิธีเรียกร้องรัฐบาล เพื่อให้ใช้อำนาจในทางปกครอง และบริหาร จนนำไปสู่การส่งพื้นที่ป่าดอยสุเทพส่วนบน คืนแก่ธนารักษ์ในปัจจุบัน


    สามารถรับฟังรายละเอียดการชี้แจงได้ที่
    https://www.facebook.com/lovedoisuthep/videos/955802909152003


    #หมู่บ้านป่าแหว่ง
    #Lanner

    Related

    แผน ‘NAP’ เครื่องมือด้านสิทธิมนุษยชนดักจับฝุ่นพิษข้ามแดน

    เรื่อง: กองบรรณาธิการ ในช่วงที่หลายพื้นที่ในประเทศไทยเผชิญกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน หลายคนมักโฟกัสไปที่ฝุ่นจากการเผาไหม้ตอข้าวโพด แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหนึ่งแหล่งกำเนิดฝุ่นพิษที่น่ากังวลไม่แพ้กัน นั่นคือฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าฝุ่นพิษจากไร่ข้าวโพดข้ามแดนเกิดขึ้นเป็นฤดู แต่ฝุ่นภาคอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเกือบทั้ง...

    เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ ยื่นหนังสือถึง นายก-ผู้ว่าฯ แนะค่าจ้างขั้นต่ำ 700 บาท/วัน

    1 พฤษภาคม 2567 เครือข่ายแรงงานภาคเหนือ จัดขบวนแห่ผ้าป่าเสนอข้อเรียกร้องและยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในเนื่องโอกาสวันแรงงานสากล ปี 2567 ณ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่...

    เศรษฐกิจพัง ค่าแรงยังขึ้นไหม? สำรวจการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วโลกในปี 2024 นี้ ประเทศไหนขึ้นบ้าง

    1 พ.ค. ของทุกปี ถือเป็นวันแรงงานสากล หลายประเทศทั่วโลกมักจะมีการประกาศขึ้นค่าแรงในวันนี้ แต่ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา ทั่วโลกเจอวิกฤติการณ์โควิด-19...