การฝังยาคุมกำเนิดในวัยรุ่น

การฝังยาคุม คือ วิธีการคุมกำเนิดชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูง ผลข้างเคียงน้อย และ ใช้มานานถึง 40 ปี ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ชั่วคราวได้ 3 – 5 ปี แล้วแต่ชนิดของยา ขั้นตอนไม่ยุ่งยากและป้องกันการตั้งครรภ์ได้ในเวลานาน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ แบบ 6 หลอด ใช้คุมกำเนิดนาน 5 ปี จำนวน 2 หลอด ใช้คุมกำเนิดนาน 3 – 5 ปี แบบ 1 หลอด ใช้คุมกำเนิดนาน 3 ปี 

ผู้ต้องการฝังยาคุมจะสามารถฝังได้ภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน และหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ หรื หลังแท้งบุตรธรรมชาติทันที หรือ 2 – 3 สัปดาห์ 

โดยการทำงานของการฝังยาคุมคือ ในหลอดยาจะบรรจุฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสตินเอาไว้ โดยตัวฮอร์โมนโปรเจสตินจะค่อย ๆ ซึมจากแท่งเข้าสู่กระแสเลือด และไปกดการทำงานของไฮโปทาลามัสที่ต่อมใต้สมองจะทำให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ไม่เกิดการตกไข่ และฮอร์โมนโปรเจสตินยังไปช่วยให้เมือกที่ปากมดลูกเหนียวขึ้น เยื่อบุผนังมดลูก ทำให้ไม่ตั้งครรภ์

การฝังยาคุมกำเนิดนั้นเหมาะกับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ในระยะเวลา 3 ปีขึ้นไป สะดวก ไม่ต้องรับประทานยาคุมกำเนิดบ่อยๆ และผู้ที่มีบุตรแล้วไม่ประสงค์จะมีบุตรอีกในอนาคต

ข้อดีของการฝังยาคุม 

  • ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก ประมาณ 1/200 คน ที่เกิดอัตราล้มเหลว
  • เป็นวิธีที่มีความสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี
  • มีอาการข้างเคียงน้อย
  • สามารถเลิกใช้เมื่อใดก็ได้ เมื่อต้องการจะมีบุตรหรือเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น
  • หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด 90% ตกไข่ใน 1 เดือน
  • ยาฝังคุมกำเนิดยังช่วยลดอาการปวดประจำเดือน ลดภาวะประจำเดือนมามาก 

ข้อพึงระวังของการฝังยาคุม

  • ผู้เข้ารับการฝังยาคุมบางรายอาจจะมีประจำเดือนที่ไม่ปกติ
  • อาจมีอาการระคายเคือง มีอาการปวด บวม แดง มีอาการคันในบริเวณที่ฝังยาคุม แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับจนหายไปเอง
  • เป็นสิว หรืออาจจะมีปัญหาสิวรุนแรง
  • มีการวิงเวียนศีรษะ คัดเต้านม หรือมีอารมณ์แปรปรวนได้
  • มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

งานชิ้นนี้เป็นผลงานผู้เข้าร่วมโครงการ Youth Teller ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสื่อประชาธรรม (Prachatham Media Foundation) และสำนักข่าวลานเน้อ (LANNER News Media) โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Citizen Accountability for Local governance Media (CALM)

พื้นที่สื่อสาร สังคมประชาธิปไตย ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า

ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

วิมพ์วิภา กันทะจันทร์
กราฟิก
ขวัญชนก ชุมกาศ
กราฟิก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง