เมษายน 25, 2024

    การเลือกตั้งต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน คนพม่ายันไม่ยอมรับการเลือกตั้งจากรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร

    Share

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    เมื่อวานนี้ (1 กุมภาพันธ์) เวลา 16.00 น.  เครือข่ายภาคประชาสังคมพม่าและไทยร่วมจัดกิจกรรม “การรณรงค์ต่อต้านการเลือกตั้งลวงโลก” หรือ “Anti-Sham Election Campaign” ณ ห้อง LB1201 ชั้น 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยภายในงานมีนิทรรศการภาพถ่าย วิดีโอคลิป “อาชญากรรมของคณะเผด็จการทหาร” รวมถึงวงเสวนา “สถานการณ์และผลกระทบของการเลือกตั้งจอมปลอม” 

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    นัทมน คงเจริญ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดงาน โดยยกสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนคือสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก

    “ในการแสดงออกและการเลือกตั้ง ในนามคณะนิติศาสตร์ เราซาบซึ้งอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นใคร เรายืนยันสิทธิในการแสดงออก ขอบคุณสำหรับโอกาส และหวังว่าทุกคนจะได้รับความยุติธรรม”

    “ทุกคนต้องรับผิดชอบที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของตนเอง ทั้งเรื่องสิทธิเสรีภาพ และมนุษยชนในทุกสังคม ต้องยอมรับธรรมนูญสหประชาชาติ เราต้องคุ้มครองสิทธิที่จะมีชีวิตรอด ต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ต้องรับประกันให้แต่ละคนมีเสรีภาพให้พ้นจากการจับกุมโดยพลการและการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกประการ เราต้องสนับสนุนเสรีภาพด้านความคิด เสรีภาพในทุกสังคม การเลือกตั้งต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน ต้องเป็นไปตามกฎหมาย และสนับสนุนศักดิ์ศรีของมนุษย์ ประชาชนต้องมีสิทธิอันเท่าเทียม เราจึงเรียกร้องให้มีสิทธิในการแสดงออก เราต้องส่งเสริมเสียงจากคนระดับรากหญ้าให้คนข้างบนได้ยิน”

     ต่อมาได้ผู้ดำเนินรายการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานรณรงค์ในครั้งนี้ จากการได้มีโอกาสพูดคุยกับประเทศในอาเซียน เห็นความมีข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่แตกต่างจากข้อเท็จจริงในพื้นที่ ได้ทราบว่ามีอีกหลายประเด็นที่ต้องพูดคุย เช่น ประเด็นเกี่ยวกับการลงทุนที่ได้มาจากเลือดเนื้อของประชาชนพม่า สุดท้ายเราได้ตกลงกันว่าควรมีการจัดการรณรงค์อีกครั้งในการต่อต้านการเลือกตั้งจอมปลอมในครั้งนี้ 

    “เนื่องจากรัฐบาลทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการโจมตีทางอากาศ ผลักดันให้ชาวบ้านต้องอพยพ ทางรัฐบาลทหารได้มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทางอาเซียนและประชาคมโลกพยายามไม่ติดต่อกับรัฐบาลพม่า จึงทำให้รัฐบาลทหารพม่าจัดการเลือกตั้งขึ้นมา จริง ๆ แล้วไม่มีสิทธิจะจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้ ประชาชนจึงเห็นว่ามันเป็นการเลือกตั้งที่จอมปลอม เราจึงตัดสินใจ เราจึงรณรงค์ให้ประเทศในอาเซียนทราบ  รวมถึงสถานการณ์คนพม่าในไทย ทั้งเรื่องเงื่อนไขทางการใช้ชีวิต การทำงาน เราอยากเสนอต่อองค์กรประเทศอื่น ๆ ว่ามีคนตายทุกวันในประเทศพม่า อย่าว่าแต่การต่อสู้ในเรื่องประชาธิปไตย วันนี้เราต้องเอาตัวรอดในทุก ๆ วัน”

    ต่อมา มีการเปิดฉายคลิปวิดีโอเล่าถึงสถานการณ์ในพื้นที่ ทหารบุกเข้ามายิงในหมู่บ้าน จากเดิมที่เคยมีหมู่บ้านอยู่ในนี้ ทหารเผาหมู่บ้านทั้งหมด 55 ครัวเรือน จนราบเป็นหน้ากอง ในคลิปเล่าว่า ทุกคนในหมู่บ้านกระเสือกกระสนดิ้นรน หนีตาย รวมถึงมีการโจมตีทางอากาศ

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    สำหรับในเวทีเสวนา หนึ่งในผู้ร่วมเสวนากล่าวว่า “การแสดงความเห็น สำหรับองค์กรของเรา มีการแก้ไขปฎหมายเลือกตั้ง ทำให้การจดทะเบียนพรรคการเมืองยากมากขึ้น เรามองว่า ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน พวกเราไม่ยอมรับ องค์กรติดอาวุธก็ไม่ยอมรับ ทาง NLD ได้มีการประกาศว่ามีการยกเลิกรัฐธรรมนูญไป มีการยกเลิกพรบ. พรรคการเมืองไป ทำให้กกต. ทำหน้าที่เหมือนตำรวจควบคุมการเลือกตั้ง ทำให้กฎหมายพรรคการเมืองเลวร้ายลง ทำให้ SAC เพียงพรรคเดียวสามารถลงเลือกตั้งได้ พรรคอื่นไม่สามารถจดทะเบียนได้ทันภายใน 2-3 เดือน ไม่สามารถทำได้ จึงเป็นการยากลพบากในการยอมรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ขอให้ภาคประชาสังคมโลก ไม่ยอมรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องต่อต้าน บรรดาองค์กรติดอาวุธ กลุ่มชาติพันธุ์ก็มีบทบาทในเรื่องนี้ เขาต่อต้าน SAC หลายหมู่บ้านถูกเผา ชนกลุ่มน้อยเริ่มอพยพเข้ามาในไทย” 

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    หนึ่งในผู้ร่วมเสวนาจาก จากรัฐฉาน กล่าวว่า ในปี 2566 การเลือกตั้ง จะมีขึ้นโดย SAC ก็ทางหลายองค์กรไม่ยอมรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา สงครามกลางเมืองครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะว่าชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มไม่ได้ตอบสนองความต้องการและมีการทำรัฐประหาร มีช่วงนี้ก็รัฐธรรมนูญปี 2008 ทางกองทัพพม่าก็ได้ก่ออาชญากรรมต่าง ๆ มากมาย และใช้การเลือกตั้งปกปิดความผิดของตัวเอง การเลือกตั้งที่จะมีขึ้นก็จะมีความเลวร้ายกว่าเดิม พวกเราอยากเห็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง แต่ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ตรงข้ามกับสิ่งที่เราต้องการ 

    มีการตั้งคำถามต่อความต้องการของ SAC และพรรค USDP รวมถึงกลุ่มพุทธฝ่ายขวาจะได้บทบาทอย่างไร และได้รับประโยชน์อะไรจากการเลือกตั้งครั้งนี้ มองว่าทำอย่างไรจะจัดตั้งประชาชนเพื่อเลือกตั้งและความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย 

    “ในอดีต พม่าก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมาเป็นเวลานาน อยากจะย้ำว่า หากไม่ได้แรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศจะเลวร้ายมากกว่านี้ เราอยู่ในยุคข้อมูลข่าวสาร ทุกคนทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ขึ้นในแต่ละประเทศ เราก็เป็นเอกราชจากอังกฤษ แต่เราก็ยังอยู่ใต้ระบอบเผด็จการทหาร การกดขี่เลวร้ายลง นำไปสู่สงครามกลางเมือง ปัญหาคือระบอบทหารเป็นเงาที่ครอบงำ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง มองดูประเทศเพื่อนบ้านจะเห็นการพัฒนาเกิดขึ้น แต่ประเทศพม่านั้นกลับกัน รัฐบาลทหารอ้างว่าทำรัฐประหารเนื่องจากการเลือกตั้งไม่เป็นธรรม แต่แท้จริงแล้วเขาต้องการสืบทอดอำนาจตัวเอง ต้องการจะควบคุม กระชับอำนาจเท่านั้น แต่ตอนนี้รัฐบาลทหารต้องการความชอบธรรม มีการปฏิวัติเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง บรรดาหลายกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร บางองค์กรเริ่มมีการติดอาวุธเพื่อต่อต้านรัฐบาลพม่า ทางรัฐบาลทหารและพันธมิตรพยายามจะจัดการเลือกตั้งให้ได้ แต่มีความไม่มั่นคง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาคมโลกต้องช่วยกันกดดัน ถ้าการต่อต้านรัฐประหารนั้นสำเร็จจะเกิดโดมิโน่”

    เขาย้ำว่า “การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่ง ในขณะที่ประชาชนยังประสบความทุกข์ยากอยู่ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำให้มีการยกเลิกการเลือกตั้งให้ได้ ถ้าประชาชนไม่สนับสนุน สถานการณ์จะกลับเป็นปี 33 เหมือนเดิม

    มีคำถามในวงเสวนาว่า ประชาคมระหว่างประเทศหลาย ๆ คน รู้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่จอมปลอม มีหลาย ๆ กลุ่มที่พยายามรวมตัวเพื่อต่อต้านการเลือกตั้งในครั้งนี้ รัฐบาลทหารต้องการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเท่านั้นเอง พวกเราทำอะไรบ้าง?

    หนึ่งในผู้ร่วมเสวนากล่าวว่า “ถ้ามองดูที่รัฐธรรมนูญ 2553 ทางกองทัพก็พยายามสร้างความชอบธรรมที่ครอบงำ ชีวิต สังคม เศรษฐกิจของประเทศ เพื่อกระชับอำนาจของตนเอง เป็นการเลือกตั้งที่จะบอกว่าพวกเขามีความชอบธรรมเท่านั้นเอง เมื่อดูปี 2553 ตอนนั้นเป็นรัฐบาลพลเรือน แต่สุดท้ายก็นำไปสู่การทำรัฐบาล อยากจะชี้ว่าในการเลือกตั้งแบบนี้มันเคยเกิดไปแล้วในประวัติศาสตร์ มันจะเป็นเพียงช่องทางในการควบคุมอำนาจเท่านั้นเองอยากจะบอกว่าเหตุที่เราต่อต้านเพราะ มันจะทำให้วิกฤติเลวร้ายลงไปอีก ถ้าบางประเทศสนับสนุนการเลือกตั้ง เท่ากับทำให้วิกฤติเลวร้ายลงไปอีก และกองทัพไม่รัฐบาลที่ชอบธรรม การเลือกตั้งที่เกิดจากรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม จึงเป็นความไม่ชอบธรรมเช่นกัน หลายประเทศที่สนับสนุนการเลือกตั้ง ต้องรับผิดชอบต่ออาชญากรรมสงครามที่เกิดขึ้นด้วย หลายคนเข้าใจสถานการณ์ดี”

    และยังย้ำว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ตรงข้ามกับเจตนารมณ์ของประชาชน ประชาชนจะไม่ให้ความร่วมมือ ในการปฏิวัติของเราในครั้งนี้ จะต่างจากการปฏิวัติที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันเริ่มมี spring revolution มีการประท้วงเงียบ การต่อสู้เกิดขึ้นมากมาย เพราะว่าเรามีการมีส่วนร่วมอย่างมากจากประชาชน

    “เราต้องมีการต่อสู้ในวิธีการต่าง ๆ และทางกองทัพก็ก่ออาชญากรรมสงคราม ต่อมนุษยชาติมากมาย และทำความทารุณโหดร้ายต่อชาติพันธุ์มานาน ในขณะที่กองทัพไม่ต้องรับผิดจนถึงปัจจุบัน เป็นการเลือกตั้งที่ยอมรับไม่ได้สำหรับประชาชน ถ้าเกิดขึ้นมาก็จะยิ่งมีคนตายมากขึ้น มีการนองเลือดมากขึ้น ความทารุณโหดร้าย อาชญากรรมต่อมนุษยชาติก็จะเกิดขึ้นต่อไป เราจึงต้องต่อต้านการเลือกตั้งในครั้งนี้ ต้องมีการทำงาน ประสานงานต่อจากนี้ จะทำให้ประชาคมโลกเข้ามามีส่วนร่วมด้วย”

    ผู้ดำเนินรายการตั้งคำถามว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะส่งกระทบต่อคนรุ่นต่อไปอย่างไร?

    หนึ่งในผู้ร่วมเสวนากล่าวว่า ต้องป้องกันไม่ได้เกิดการเลือกตั้งให้ได้ ต้องยุติระบอบเผด็จการ และต้องสร้างระบบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐให้ได้ สุดท้ายคือประชาชนจะต้องได้รับสิทธิเสรีภาพและการพัฒนา ถ้าพวกเราขัดขวางการเลือกตั้งที่จอมปลอมได้ อาจจะไม่ได้ทำให้เกิดประชาธิปไตยโดยทันที แต่คนรุ่นปัจจุบันใช้เทคโนโลยีเยอะ คนรุ่นใหม่ 70-80% ก็จะมีส่วนร่วมเพื่อหาทางโค่นล้มระบอบเผด็จการ ตอนนี้รัฐบาลทหารอ่อนแอ ประชาคมระหว่างประเทศกดดัน ถ้าเราหยุดการเลือกตั้งไม่ได้ก็จะส่งผลต่อคนรุ่นต่อไป 

    พวกเขาอาจจะไม่ได้มีอุดมการณ์ยิ่งใหญ่แต่พวกเขาต้องการความยุติธรรม ในประวัติศาสตรืที่ผ่านมา คนรุ่นหนุ่มสาวเป็นกำลังสำคัญในการปฏิวัติ และคนหนุ่มสาวยังคงต่อสู้จนถึงปัจจุบัน

    เราต้องต่อสู้ไปอีกเท่าไหร่ หลายชีวิตสูญเสียไป การสังหารเพื่อนมนุษย์เป็นเรื่องไม่ยุติธรรม เพราะฉะนั้นอยากจะสื่อสารไปถึงกองทัพว่าผู้สนับสนุนกองทัพหรือให้ความร่วมมือ ที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ที่ร่วมมือกับนักลงทุนจากประเทศจีน ถึงเวลาที่คุณจะหันมาคิดทบทวนอีกครั้ง ไม่ว่าคุณจะร่วมมืออย่างไรก็ตาม ไม่มีข้ออ้างใด ๆ เราต้องมองในระยะยาว บางคนมองว่าเป็นปัญหาของคนพม่า ชาติพันธุ์ไม่เกี่ยว แต่จริง ๆ แล้วการรัฐประหารทำให้เกิดการตกงาน เกิดสงคราม ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากระบอบเผด็จการ เราจะต้องหาทางขจัดระบอบเผด็จการให้ได้ เราจะต้องมีการประสานงาน

    มีการกล่าวถึงสิ่งที่จะทำในอนาคต รัฐบาลทหารเตรียมที่จะจัดการเลือกตั้ง พยายามที่จะสร้างภาพกับประเทศในอาเซียน อาจจะจัดเลือกตั้งภายในอีก 6 เดือน เชื่อว่าพวกเขาไม่สนใจประชาชน พวกเขาสนใจแต่อำนาจ อาจจะสนใจไม่กี่ประเทศ เช่น ไทย อินเดีย ที่สนับสนุนพวกเขา นับเป็นเรื่องที่โชคร้าย จีนยังคงรักษาระยะห่างจากรัฐบาลทหารพม่า เป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก อินเดียสนิทสนมมากกับรัฐบาลทหารพม่า เราจึงควรตั้งคำถามแต่คุณค่าประชาธิปไตยแบบนี้ เราต้องเน้นที่การนำเอาอำนาจกลับคืนสู่ประชาชนให้ได้ 

    หนึ่งในผู้ร่วมเสวนาทิ้งท้ายว่า “สิ่งที่รัฐบาลทหารทำเป็นการแสดง พวกเขาไม่มีสิทธิ ไม่ว่าพวกเขาจะรณรงค์อย่างไรก็เป็นเรื่องจอมปลอม เราต้องเตือนว่ามันจะเป็นเกิดแบบนี้อีก และเราต้องให้คำตอบที่ชัดเจน ไม่ใช่เฉพาะในพม่า แต่ในระดับสากล เพราะฉะนั้น เราต้องการประชาธิปไตยที่เกิดจากประชาชน บรรดากองทัพ PDF ก็ควรสนับสนุนพวกเรา เราเป็นประเทศโลกที่สาม เป็นเรื่องน่าประหลาดที่อยากจะจัดการเลือกตั้ง”

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    ต่อมาผู้ดำเนินรายการได้มีการพูดถึงสถานการณ์ในไทยอย่างเหตุการณ์ของแบม-ตะวันที่อดอาหารและน้ำอยู่ ซึ่งตอนนี้ เป็นเวลา 14 วันแล้ว และเล่าถึงข้อเรียกร้องสามข้อ และมีการอ่านบทกวีโดยนักกิจกรรมและนักคิดประเทศไทย

    มีการแถลงการณ์และคำรับรองร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โดย KNU, KNPP, WLB GSCN และ 88 Generation ต่อมาได้มีการอ่านบทกวีและสวมหน้ากากตะวัน–แบม โดยนักกิจกรรมไทย และในท้ายสุดของกิจกรรมมีการร้องเพลงร่วมกันในภาษาพม่า

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    Related

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...

    รอนานบั่นทอนปอด ศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคกก.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 

    ล่าสุดวันนี้ (24 เมษายน 2567) ทีมทนายความมีความคืบหน้าสำหรับความคดีฝุ่น PM2.5 ภาคเหนือ โดยศาลปกครองสูงสุดรับอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และมีคำสั่งให้ประชาชนผู้ฟ้องคดีทำคำแก้อุทธรณ์คดีตามที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ยื่นอุทธรณ์คดีฝุ่นภาคเหนือภายใน...

    ‘วาระเชียงใหม่’ เปิดเวทีสุขภาพ ยกระดับ รพ.สต. ดันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

    เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)...