เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม
ภาพประกอบ: ปรัชญาไชยแก้ว
เรานัด เจ๋ง-สิรศิลป์ ปังประเสริฐกุล บนดานฟ้าตึก Media Arts and Design ในวันฝนพร่ำ ด้วยการนัดแบบรีบๆ ไม่เป็นทางการ แต่อยากคุยจริงๆ เพราะกลุ่ม untitled for film จะจัดงานฉายหนังสั้นจากรรายวิชา จากวิชา 112105 Moving Image and Narratives ที่นักศึกษาปี 1 ของ Media Arts ต้องเรียนและทำหนัง! แต่สิ่งที่น่าใจหายคือหนังสั้นเหล่านี้ไม่ค่อยมีพื้นที่สาดแสงอย่างที่ควรจะเป็น
RAW RARE / ROUGH #1 ร่อว์ แร่ร์ MADs student’s films program จึงเกิดขึ้นเพราะอยากฉาย และไม่อยากปล่อยให้กลายเป็นแค่ขยะมูลฝอยตามอินเทอร์เน็ต หรือเก็บไว้รกฮาร์ดดิสค์ ‘ร่อว์ แร่ร์ ’จึงถูกจัดขึ้นมาเพื่อที่จะรองรับหนังเหล่านั้นโดยไม่คัดไม่เลือก สุกเอา เผาส่งอาจารย์ ที่หลายๆ คนพยายามลืมไปว่าเคยทำอะไรแบบนี้ ขุดประจานความ rough ความสดของนักศึกษา เพราะคำวิจารณ์ไม่จำเป็นต้องมาจากคนที่มีคำนำหน้าชื่อ และอาจจะมีใครสักคนที่ตกหลุมรักหนังร่อแร่ๆ ก็ได้
เราเลยชวนเจ๋งคุยแบบรีบๆ ร่อๆ แร่ๆ เพราะจะจัดฉายกันวันที่ 5-6 สิงหานี้แล้วน่ะสิ
ทำไมต้องทำร่อว์ แร่ร์
ก็คือเรื่องมันมีอยู่ว่า พอเราทำ untitled for film (ชมรมฉายหนังของภาควิชา Media Arts and Design) มาสักพักเราก็เอาหนังเรื่องโน้นเรื่องนั้นมาฉาย ขอจาก Documentary Club มาฉายบ้าง ขอจากไปเรื่อย แล้วทีนี้ก็คิดว่า Media Arts and Design มันก็มีการเรียนเรื่องทำหนังด้วยนี่หว่า อาจจะไม่ได้เป็น main หลัก ซึ่งมันไม่มีอะไรเป็น main ทั้งนั้นแหละ แต่ว่าหนึ่งในนั้นที่ได้เรียนมันคือการทำหนัง แล้วทีนี้เราก็เคยไปเจอหนังเก่าๆ ของรุ่นพี่ที่แบบโคตรดี
เราก็แบบ… ทำไมเราไม่งานพวกนี้มาฉายบ้าง งานแบบเด็กสาขาเราไปจนถึงงานอื่นๆ ที่มันเป็นงานของนักศึกษา งานคนกระจ๊อกง๊อกแง๊กที่มันจู่ๆ จะเอางานไปลง gallery ก็ใช่เรื่อง เราก็อยากเป็นพื้นที่ให้กับงานแบบนี้ เพราะเราก็เป็นหนึ่งในคนที่ทำงานอะไรแบบนั้นอยู่ด้วย untitled for film มันคือชมรมที่มันเป็น space ในการฉายหนังอยู่แล้วอ่ะ
ทีนี้เราก็ร่อแร่เนาะ เพิ่งจบปี 1 มา ก็เพิ่งทำหนังไปเรื่องหนึ่ง เพื่อนๆ ก็ทำหนังตามกลุ่มไปก็แบบ เออ ถ้าทำหนังแล้วแค่ส่งอาจารย์มันก็เท่านั้นปะ คำถามคือทำไปทำไม คิดว่าเวลาทำงานของรายวิชาต่างๆ เราก็คิดว่าในเมื่องานมันถูกสร้างขึ้นมาแล้วอะ ลงแรงไปแล้ว งานมันควรได้ไปต่อไม่ว่าในทางใดทางหนึ่ง เราก็อยากเอางานของเราเองหรือว่าเพื่อนๆ มาฉาย แล้วก็รวมไปถึงอยากไปเก็บงานเก่าๆ ของรุ่นพี่มาฉายเรื่อยๆ เพราะงานนักศึกษามันมีเสน่ห์บางอย่างของมัน เราอยากให้อย่างน้อยงานที่ทำลงแรงไปแล้วคนต้องได้ดู มันเป็นหนังอะ
เสน่ห์ที่ว่ามันคืออะไร?
ความร่อแร่ ความไม่ Perfect โอเคเวลาเราพูดถึงหนังสมมติเราไปดูในโรงหนัง Multiplex สักที่หนึ่ง แบบ หนังมันก็จะเป็นหนังอะ หนังแบบ production หลักสิบล้าน ร้อยวันพันปีจะมีหนังแบบ ‘The Snake เดอะ สเน็ค’ โผล่มาบ้าง คือเราเข้าไปอย่างน้อยเราการันตีตัวเองแล้วประมาณหนึ่งว่าสิ่งที่จะได้ดูอย่างน้อยมันอยู่ในนั้นอะ มันการันตีอะไรบางอย่าง อย่างน้อยมันคือหนังที่นายทุนโอเค หนังที่ Someone โอเคกับมันแล้วเอามาฉายในโรง ซึ่งมันคนละอย่างกับหนังกระจ๊อกง๊อกแง๊กนักศึกษา เพราะพวกนี้มันมีตั้งแต่ตั้งใจทำไปจนถึงอะไรไม่รู้ ถ้าจะให้พูดมันก็คือหนังกากอะ แบบเสียงหาย ไฟล์หาย นักแสดงเล่นแข็งเป็นโอ้โหแข็งกว่าหิน แข็งเป็น Obsidian อ่ะ แต่ว่าสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่อะไรที่เราจะไปดูในโรงหนังแล้วได้ดูไง แต่ว่ามันมีรสชาติที่มันจำเพาะ แบบ Fast food อาหารขยะที่เราชอบ ซึ่งในโรงหนังมันมีพื้นที่ให้แบบนั้นไง แต่ว่าหนังนักศึกษามันหลากหลาย มันอะไรไม่รู้ ซึ่งมันเป็นประสบการณ์ที่เราจะไม่มีวันได้เจอแน่ๆ ถ้าเราไปดูแต่หนังในโรงหนัง
ยากไหมตอนไปชวนเพื่อนๆ ให้เอาหนังตัวเองมาฉาย
ผมทักไปใน LINE กลุ่มไปขอ Contact ผู้กำกับของเทอมที่แล้วทุกคน ได้มาก็ไล่ถามไปทีละคน ก็เกริ่นไปก่อนหน้านี้แล้วว่าอยากฉาย ทั้งกลุ่มมีประมาณ 7 คนที่ตอบรับตั้งแต่แรกเพราะค่อนข้างรู้จักกันประมาณหนึ่ง แล้วก็เป็นสายแบบคนที่เป็นสายตั้งใจทำ งานแบบ เอองานแบบตั้งใจอะ แต่ที่เหลือไม่เอา วันนั้นมาเรียนเดินไปหาทีละคนแล้วก็เดินไปบอกแบบเออทำไมถึงต้องฉายอะไรอย่างนี้
โอเคแหละคือเราเข้าใจว่าในฐานะคนทำอะเราจะมีความรู้สึกว่างานตัวเองกากอยู่แล้ว แม้แต่ผมเองก็ตามแต่แบบในฐานะคนทำงานควรที่จะปล่อยหนังให้มันถูกคำวิจารณ์อื่น หรืออะไรที่ไม่ใช่แค่อาจารย์อะ โอเคอาจารย์ก็วิจารณ์ดี ดีมากๆ เลยแหละ ก็พยายามอธิบายว่าทำไมถึงต้องฉาย ผมในฐานะคนฉายหรืออะไรก็ตามอยากให้มันมีสักโปรแกรมหนึ่งที่ผมไม่ใช่เป็นคนตัดสินคุณค่าของงานที่เอามาฉาย ปกติเวลาเราเลือกหนังเนี่ยมันก็คือหมายถึงว่าโอเคหนังเรื่องนี้ดีแล้วเราอยากให้คนอื่นไปดูใช่ไหม แต่ผมก็อยากให้แบบมีสักโปรแกรมหนึ่งที่ปล่อยอ่ะ ซึ่งนั่นแหละมันก็อยากให้ทุกคนได้เอางานตัวเอง อย่างน้อยตอนนี้ก็เริ่มจากชั้นปีผมก่อน เอามาเผยแพร่ ผมก็พยายามอธิบายไปว่าควรเอามาฉาย
เวลาอ่านบทสำภาษณ์ของผู้กำกับไทยส่วนใหญ่มักจะพูดว่าเวลานักศึกษาทำหนังมันเป็นเหมือนกับการใส่ทุกอย่างที่ได้เรียน หรือว่าประสบการณ์ทุกอย่างยัดใส่ด้วยกันเพราะว่าคิดว่าชาตินี้อาจจะไม่ได้ทำแล้ว จริงปะ?
แน่นอน เพราะหนึ่ง ทำหนังมันคืองาน Production อ่ะ มันไม่ได้ทำกับแบบจู่ๆ อยากทำแล้วทำได้ มันไม่เหมือน Graphic design มันไม่เหมือนอะไรที่จบคนเดียวแล้วทำได้ คือมันใช้คน มันคืองาน Production เหมือนละครอะไรอย่างนี้ มันคืองานที่ต้องใช้คน ใช้หลายศาสตร์ในการสร้างมันขึ้นมา ดังนั้นมันต้องมีทั้งเงิน ทั้งคน ทั้งเวลา ทุกอย่างมันเยอะไปหมด แล้วในคลาสมันคือการบังคับให้ทำอะ แล้วก็ต้องรวมทีมกันทำเพื่ออะไรสักอย่าง สมมติจบจากคาบนี้ไปชีวิตเราจะไปหาเพื่อนร่วมชะตากรรมมาทำหนังมันก็คงไม่ง่าย มันไม่ใช่ของที่จู่ๆ นึกครึ้มขึ้นมาแล้วอย่างทำ เอาจริงสำหรับเราก็มองว่าหนังมันก็เป็นอะไรที่นนึกครึ้มขึ้นมาแล้วอยากทำก็ได้นะ เพียงแต่ว่าพอเรามีภาพจำของหนังในรูปแบบหนึ่ง ในแบบหนังอะ แต่จริง ๆ แล้ว Moving Image ภาพเคลื่อนไหวมันอะไรก็ได้อะ ถ้ามันไม่ได้ทำอีกแล้วอาจจะหมายถึงส่วนหนึ่งว่าขอบฟ้าในการมองสิ่งที่เรียกว่าภาพเคลื่อนไหว Moving Image หรือหนังมันถูกจำกัดอยู่แค่หนังแบบหนั๊งหนังอะ ซึ่งเอาจริงๆ แล้วการทำ Moving Image มันเป็นไปได้มากกว่านั้น ซึ่งมันก็กลับไปพูดถึงนั่นแหละพอ Space การฉายหนังมันมีแต่โรงหนัง Multiplex ที่เราต้องรู้สึกว่า Production มันต้อง Craft จัดอะไรแบบนี้ มันทำให้ขอบฟ้ามันแคบลง
พอหนังกากๆ อะไรพวกนี้มันไม่ได้มีพื้นที่ให้มันมากพอ สุดท้ายแล้วขอบฟ้าในการมองสิ่งที่เรียกว่าภาพยนต์ ภาพที่มันพยนต์ ภาพที่มันเป็นยนต์ มัน Moving มันก็แคบลงเหมือนกัน แบบหนังที่ดีคือหนังที่ Production ดี อะไรอย่างนี้มันไม่ใช่อะ มันเป็นไปได้มากกว่านั้น
กว่าจะออกมาเเป็นหนังสั้นแต่ละเรื่อง เข้าเนื้อบ้างไหม แบบกัดกินความคิด เงิน หรือว่าเจออาจารย์โหด
เป็นบุญของ MEDIA ที่อาจารย์ค่อนข้างน่ารัก แต่ว่าถ้าแกวิจารณ์แกก็วิจารณ์แรง แต่ว่าให้อิสระมากๆ ในการทำ อย่างตอนที่ผมทำหนังที่ผมทำก็เอาจริงส่วนตัวรู้สึกไม่ค่อยตรง Criteria ของอาจารย์เท่าไหร่ เพราะว่าอาจารย์แกตั้งใจสอนเรื่องการเล่าเรื่องอะไรแบบนี้ อย่างผมนี่ก็เกือบ Video Arts แล้วอะไรไม่รู้ คือถ้าเราบอกว่าเราอยากทำอะไรแกค่อนข้าง Support ในสิ่งที่อยากทำก็โอเค ก็ถือว่าดีน่ารัก แต่พองานออกมาก็ด่ายับ
อีกอย่างผมรู้จักคนเยอะประมาณหนึ่ง ดังนั้นก็คือช่วยกันหน่อยสิ แต่กลุ่มเพื่อนผมเห็นแล้วยังตกใจให้ค่าจ้างนักแสดงเป็นพัน โอเคแหละแต่บางทีหนังนักศึกษาชีวิตต้องเข้าเรียกเข้าเนื้อตัวเองขนาดนั้นเลยหรอ อย่างผมคือใช้เส้นสายช่วยกันหน่อยเดี๋ยวเลี้ยงข้าวเลี้ยงน้ำให้สวัสดิการ มีค่าแรงให้นิดหน่อยแต่ว่ากลุ่มอื่นน่าจะเข้าหนักกว่าผม มันก็มีเรื่องเงินเนี่ยตัวใหญ่อยู่เหมือนกันเพราะว่าก็ทำหนังอะมันก็ต้องมีนักแสดงเยอะ อันนี้ก็ส่งผลด้วยตอนเขียนบท ก็พยายามเขียนให้ราคาถูกที่สุด ถ่ายง่ายที่สุด ก็แล้วแต่คนว่าจะ Manage อย่างไรด้วย
ยากกว่าคือหาที่ฉายใช่ไหม
อย่างเก่งไป Thai Short Film & Video Festival เพราะว่าส่วนใหญ่เวลาคุยกับรุ่นพี่ก็จะมีแต่พูดว่า อ๋อก็เรื่องนี้ไปดังอยู่ Thai Short อยู่ช่วงหนึ่งตอนที่นู้นอะไรอย่างนี้ จะอยู่แค่ประมาณนี้ คือด้วยความเป็นหนังนักศึกษาด้วยมันก็ต้องยอมรับว่ามันก็เป็นเหมือนสนามทดลองแล้วก็เป็นบันไดอีกขั้นที่ถ้าคนอยากทำหนังจริง ๆ ก็จะไปทำงานชิ้นต่อๆ ไปอยู่แล้ว แต่ว่าถ้ามันเป็นหนังพวกนี้ส่วนใหญ่ก็จะไป Thai Short หมายถึงไม่ใช่ส่วนใหญ่ ส่วนหนึ่งที่มันจะไปอะส่วนใหญ่ก็ไป Thai Short ไปกรุงเทพฯ ไปฉายนู่น ไปดังนู่นบ้างก็มี แต่ว่าถ้าเป็นส่วนใหญ่จริงๆ อะเก็บเข้าฮาร์ดดิสก์หายบ้าง ไฟล์หายบ้างอะไรอย่างนี้ เพราะมีบางเรื่องเหมือนกันที่เอามาฉายที่นี่ก็ทักไปถามรุ่นพี่ที่ค่อนข้างสนิทกันก็บอกว่าไฟล์หายโหลดจาก YouTube มาให้แล้วกัน อัพลง YouTube แล้วก็หายไปประมาณนั้น ไม่อยากให้เป็นขยะมูลฝอยอินเทอร์เน็ตรอวันโดนฝังกลบนั่นแหละ
งั้นมหาวิทยาลัย รัฐ เอกชน ก็ควรต้องรองรับงานเหล่านี้ไหมหรือไม่ต้อง เพราะกว่าที่เด็กคนนึงจะเข็นหนังของตัวเองออกมาสู่สายตาข้างนอกได้ ก็หนักหนาเอาการ
อ๋อ มันขายไม่ได้ อีกอย่างหนึ่งคือเงินหลวงมันขอยาก ผมไม่อยากขอผมไม่อยากทำงานเกี่ยวกับเงินหลวง ทำเอกสารอะไรเยอะแยะมันลำบาก เพราะเอาจริงนอกจากจอกับโปรเจคเตอร์แทบไม่ต้องใช้เงินเลย เพราะหนังก็ขอฟรีได้ด้วยซ้ำ แต่ล่าสุดก็พยายาม Run เรื่องการจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพราะอยากให้มันกลับไป Support นู่นนั่นนี่ อย่างมหาลัยฯ ก็ชัดเจนตั้งแต่มันออกนอกระบบแล้วว่าอะไรที่มันขายไม่ได้มันไม่เอา ส่วนรัฐที่ควรจะเป็นก็คือต้องยอมขาดทุนเพื่อสิ่งเหล่านี้ เรามีภาพที่ควรจะเป็นอยู่ในหัวกันอยู่แล้วว่ามันต้อง Support อะไรบ้าง ต้องมี Space เงินทุนอะไรให้ แต่สุดท้ายมันไม่ให้ไง สิ่งเราต้องทำกันเลย ทำเองแล้วก็ต่อสู้ ชีวิตมันต้องดิ้นรนในระบบ หอภาพยนตร์ที่มันเกิดขึ้นได้ก่อนหน้านี้มันก็ต้องผ่านการต่อสู้กันมาทั้งนั้น จู่ๆ แบบรัฐเป็นเทวดาฟ้าสวรรค์มาจากไหนอยู่ๆ จะเอาอะไรมาโปรดให้พวกเรา มันก็ต้องมีคนตัวเล็กตัวน้อยที่มันพยายามทำอะไรสักอย่างอะแล้วก็แบบมันถึงโอเคให้ก็ได้ มันมัน Dialectic คือในเมื่อเราอ้อนวอนไม่ได้เราก็เท่าที่มี
งั้นร่อว์ แร่ร์ MADs student’s films program มันเป็นการอารยะขัดขืนไหม
โอเคมันอาจจะทำงานในเชิงนั้นด้วยก็ได้ หมายถึงว่ามันก็เป็นไปได้ที่จะมองในแง่นั้นได้ด้วยเหมือนกันอะไรอย่างนี้ แต่ว่าอีกอย่างหนึ่งสิ่งที่ผมไม่มีคือผมไม่มีข้อเสนออะ อย่างแรกผมไม่มีข้อเสนอ หมายถึงว่าโอเคการฉายของผมอาจจะมีคาแรคเตอร์ความเป็นข้อเสนอในตัวมันเองบางอย่างอยู่แล้ว แต่ว่าถ้าเป็นข้อเสนอที่เป็นลายลักษณ์อักษรเนี่ยผมไม่มีเขียนแถลงการณ์แบบพวก NGOs ทำ ผมไม่มีเป็นข้อๆ มาบอกว่าคุณต้องทำอะไรอะไรอย่างนี้ แต่ผมคิดว่าหมายถึงว่าการทำอะไรพวกนี้อย่างน้อยที่สุดมันคือการบอกว่าพวกเรามีอยู่ หนังพวกนี้มีอยู่จริง Filmmaker รุ่นใหม่มีอยู่จริงอะไรอย่างนี้ อย่างน้อยมันทำให้คนอื่นได้เห็นด้วยว่าหนังมันหนังกากก็ทำได้อะมันมีคนพร้อมดูหนังกาก ดังนั้นคุณไม่ต้องกลัวว่าคุณจะทำหนังออกมากาก ถ้าคุณอยากทำคุณก็ทำมันมีคนที่พร้อมจะดู และใครก็เป็น Filmmaker ได้ เอางานกากมาฉายอย่างน้อยมันคือการบอกว่า เฮ้ยงานอย่างนี้มันยังมีคนดู ยังมีคนที่แบบรู้สึกบางอย่างกับมันอะ แล้วทำไมคุณจะไม่กล้าที่จะลองเอา idea ที่รู้สึกว่ามันกระจ๊องง๊องแง๊งมาทำอะไรสักอย่าง ในเมื่อมันก็มีพื้นที่ เดี๋ยวจะมีเปิด Open call ด้วย หมายถึงว่าจะไม่ใช่เอาหนังเด็ก MEDIA มาอย่างเดียว มันมีคนทำหนังเยอะแยะมากมายแบบตัวเล็กตัวน้อยทั้งหลายอะไรอย่างนี้
เอาจริงที่ขอนแก่นก็มีอยากเอางานเด็กขอนแก่นมาลงเหมือนกันเพราะรู้จักอยู่ประมาณหนึ่ง คือมันมีคนที่มันพยายามทำหนังอยู่เยอะแยะมากมายในภูธรน่ะที่มันไม่ใช่แบบกรุงเทพฯ และงานมันจะคนละ sense แน่นอน
หลายงานจะไม่มีวันได้เจออะไรอย่างนี้จากเด็กกรุงเทพฯ อ่ะ มันไม่เหมือนกัน แล้วแบบนี้แหละมันถึงต้องเปิดพื้นที่ให้ภูธรพวกนี้ เอาจริงเชียงใหม่ก็ยังมีความเป็นเมืองอยู่ ถ้าเกิดการฉายพวกนี้มันสามารถเอาหนังจากพะเยา เชียงราย หรือแบบนครพนม ศรีสะเกษ ยิ่งมีพื้นที่มันก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ และยิ่งมีพื้นที่ก็คือมันจะมีคนดูกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่บางกอกเกี้ยนที่มันสามารถไปได้อะไรอย่างนี้ ยิ่งมีพื้นที่งานมันก็จะถูกเห็นมากขึ้น ไหลต่อไหลหากันมากขึ้น
Program 2 วันนี้จะเจอกับอะไรบ้าง
คืออย่างวันแรกอะก็มีตั้งแต่หนังแบบอะไรไม่รู้อะ หนังแบบอีกนิดหนึ่งจะเป็นละครคุณธรรมแล้วอะไรอย่างนี้ คือแบบหลากหลาย เอาจริงอย่างหนึ่งที่น่าสนใจในรุ่นนี้คนอยากทำหนังสยองขวัญเยอะ หนังผีหนังอะไรอย่างนี้มีคนอยากทำเยอะ มีอยู่ 2-3 เรื่องออกไปแนวแบบหนังเขย่าขวัญ สยอง ผี ลัทธิ อย่างนี้ก็มีคนทำอยู่หลายเรื่อง แล้วก็จะมีหนังจากปีเก่าๆ ก็จะมีแบบเป็น Romantic Comedies หรือเป็นแบบดราม่า เป็นแบบโรแมนซ์หน่อยเพราะว่าเรื่องของคนสองคนนี้มันใช้คนน้อยแล้วก็ทำออกมาได้ปุ๊บปั๊บดี หรือแบบงานที่ทำไม่เสร็จแล้วแบบหันไปทำ Documentary ตัวเองที่กำลังทำหนังไม่เสร็จ หนังการเมืองก็มีบ้างแต่น้อยกว่าที่ส่วนตัวคาดไว้ ที่ชัดสุดบอกเลยว่ามีเรื่องเดียวไม่ใช่หนังผม แล้วก็จะมีพวกสาย Craft จัด Act Arts อะไรอย่างนี้ก็จะมีอยู่บ้าง มันก็หลากหลายจริงๆ
ชวนคนมาดูหน่อย ชี้ช่องหลังจากก็ได้
พลาดวันแรกไม่เป็นไร วันที่สองก็เร้าใจพอๆ กัน ที่ดาดฟ้าตึก MEDIA ARTS AND DESIGN หอศิลป์ฯ มช.ตั้งแต่เวลาเริ่ม 19.30 น. มาก่อนเวลาได้ โปรแกรมวันละ 2 ชั่วโมง มาๆ
ติดตามรายละเอียดของ RAW RARE / ROUGH #1 ร่อว์ แร่ร์ MADs student’s films program ได้ที่: https://www.facebook.com/events/640356531373081?locale=th_TH
บรรณาธิการสำนักข่าว Lanner สนใจหลายเรื่องโดยเฉพาะเรื่องชาวบ้าน : )