พฤษภาคม 19, 2024

    ‘ไพบูลย์ เลาหจิรพันธ์’ คนเชียงรายที่เสียชีวิตในวันฟ้าสาง 6 ตุลาคม 2519 

    Share

    ความรุนแรงในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เจ้าหน้าที่รัฐบาลและกลุ่มฝ่ายชาตินิยมขวาจัดหลายกลุ่มร่วมมือกันปราบปรามสังหารหมู่นักศึกษาและประชาชนอย่างเลือดเย็นใจกลางกรุง ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์และท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีมูลเหตุการณ์คือการที่ประชาชนออกมาประท้วงการเดินกลับมาบวชเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร ของจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี 

    ภาพ: บันทึก 6 ตุลา

    มีการบิดเบือนข่าวสาร ใส่ร้ายป้ายสีนักศึกษาและประชาชนที่ออกมาประท้วง ถูกกล่าวหาว่าเป็น คอมมิวนิสต์ รวมไปถึงการกล่าวหาว่ามีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จึงสร้างความไม่พอใจให้แกกลุ่มฝ่ายชาตินิยมขวาจัดเช่น กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้าน และนวพล มีการเรียกรวมพลและยั่วยุกลุ่มคนเหล่านี้ให้เกลียดชังนักศึกษามากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดการสังหารหมู่ในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม 2519 

    การสังหารหมู่ในครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 คนที่มีการชันสูตรพลิกศพ ซึ่งเสียชีวิตด้วยอาวุธปืน การถูกทุบตี และการถูกเผาทั้งเป็น จากเจ้าหน้าที่รัฐรวมไปถึงกลุ่มฝ่ายชาตินิยมขวาจัดที่ร่วมมือกันในการปราบปราม ซึ่ง 1 ในเหยื่อของความรุนแรงในครั้งนี้มีคนที่มีพื้นเพเป็นคนภาคเหนือ คือ ไพบูลย์ เลาหจิรพันธ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

    ภาพ: บันทึก 6 ตุลา

    ไพบูลย์ เลาหจิรพันธ์ เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อายุ 22 ข้อมูลจาก บันทึก 6 ตุลา ระบุว่า ไพบูลย์ พื้นเพเป็นคนตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีการสัมภาษณ์สมาชิกในครอบครัว (ไม่ประสงค์เปิดเผยชื่อ) ของไพบูลย์ เล่าว่า พื้นเพเป็นคนจังหวัดเชียงราย มาจากครอบครัวที่มีฐานะดีและกว้างขวางในตัวจังหวัด ไพบูลย์เสียชีวิตในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในครอบครัว เอกสารชันสูตรพลิกศพระบุสาเหตุการเสียชีวิตของไพบูลย์ว่า ถูกกระสุนปืนเข้าช่องอกและคอ

    ภาพ: บันทึก 6 ตุลา

    โดยในเอกสารชันสูตรพลิกศพของ ไพบูลย์ เลาหจิรพันธ์ ได้มีความเห็นของแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุ ได้ให้ความเห็นว่า ศพชาย รูปร่างสมส่วน ผิวค่อนข้างขาว ผมยาวพอประมาณ สวมถุงเท้าสีเหลือง อายุประมาณ 20-30 ปี นุ่งกางเกงยาวผ้าบลูยีน คาดเข็มขัดหนังสีน้ำตาล สวมเสื้อยืดคอกลมแขนสั้นสีเหลือง สวมเสื้อยืดวอร์มสีกรมทำมีลายเส้นจากต้นแขนถึงปลายแขนสีขาว 2 เส้น มีบาดแผล –

    1.บริเวณไหปลาร้าขวาห่างกึ่งกลาง 5 ซ.ม. ผิวหนังเป็นรูขอบรุ่งริ่ง ขนาด 2.5×2 ซ.ม. ลึกเข้าภายในกระดูกไหปลาร้าหัก

    2.บริเวณใต้มุมคางข้างขวาห่างกึ่งกลาง 5 ซ.ม. ผิวหนังเป็นรูขอบรุ่งริ่ง ขนาด 2.5×2 ซ.ม. ถูกกระดูกขากรรไกรแตก

    3.บริเวณมุมปากขวาด้านนอกผิวหนังขาดเป็นรู 1×0.5 ซ.ม.

    4.บริเวณมุมปากด้านบนผิวหนังขาดเป็นรูขนาด 1×0.5 ซ.ม.

    อ้างอิง

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...