พฤษภาคม 20, 2024

    สำรวจสัดส่วนของมนุษย์กับวัฒนธรรมป๊อป ใน ‘spirit atlas’ จาก 7 ศิลปินร่วมสมัยในความซ่อนเร้นของความคิด

    Share

    10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 18.00 น. Jing Jai Gallery (จริงใจแกลเลอรี) เปิดตัวนิทรรศการ “spirit atlas” ผลงานของกลุ่มศิลปิน 7 คน ว่าด้วยการจัดการสัดส่วนมนุษย์ในงานศิลปะจากแง่มุมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมป๊อป ที่ส่งผลกระทบทั้งทางความคิดไปจนถึงความเคลื่อนไหวในทางศิลปะระดับโลกและศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย

    โดยนิทรรศการนี้จะทำหน้าที่เป็นเหมือนแผนที่ทางภูมิศาสตร์ นำเสนอวัฒนธรรมป๊อปของประเทศไทยในแต่ละช่วงเวลาและเหตุการณ์ ผ่านผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปินแต่ละคน

    ยุรี เกนสาคู หนึ่งในศิลปินที่ร่วมจัดแสดงใน “spirit atlas” เล่าให้ฟังว่า การรวมตัวของศิลปินในนิทรรศการนี้เกิดจาก Producer ของงานที่ต้องการนำเสนอผลงานของศิลปินที่ทำงานด้าน Figurative Art ที่มีคาแรคเตอร์แตกต่างกัน มีเนื้อหาที่ไม่ใช่แค่การนำเสนอความงาม แต่ยังซ่อนเร้นความหมายเสียดสีสังคมไปด้วยในตัว

    “ผลงาน Figurative Art โดยทั่วไปของตนมักจะพูดถึงเรื่องสังคม การเมือง ไปจนถึงศาสนา ในงานนี้ได้นำเสนอผลงาน Bargaining with God and Satan ที่มีเนื้อหาทั้งด้านประวัติศาสตร์ศิลปะการ์ตูนในยุค 80 ประกอบกับประเด็นทางการเมืองและศาสนาด้วย”

    นิทรรศการ “spirit atlas” โดยทั้ง 7 ศิลปิน ได้แก่ สันติภาพ อินทร์กองงาม, ลำพู กันเสนาะ, ยุรี เกนสาคู, ลักษณ์ ใหม่สาลี, นักรบ มูลมานัส,  ปรีชา รักซ้อน และ ฟ้าวลัย ศิริสมพล จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ไปจนถึง 11 กุมภาพันธ์ 2567 ทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 17.00 น. และในวันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 08.00 – 17.00 น. เข้าชมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ณ จริงใจแกลเลอรี ภายในโครงการจริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่

    รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.facebook.com/profile.php?id=10009016935623

    Related

    60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง...

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...

    “ฝันเราไม่เคยจนตรอก” เชียงใหม่ส่งพลังบอลเกงกิ สมัครเพื่อโหวต สว. เปลี่ยนอนาคตประเทศ

    19 พฤษภาคม 2567 เครือข่าย Senate67 จัดกิจกรรม สมัครเพื่อเปลี่ยน: จังหวะนี้มีแต่พี่ที่ทำได้ บริเวณประตูท่าแพ...