เมษายน 27, 2024

    ตร.พิษณุโลก เรียกพยานแต่แจ้ง ม.112 นศ. ป.โท ม.นเรศวร เหตุแจกหนังสือในงานรับปริญญา

    Share

    12 มกราคม 2566


    น้องตี๋ (สงวนชื่อสกุล) นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อมทนาย เดินทางให้เข้าปากคำตามหมายเรียกพยาน ณ สภ.เมืองพิษณุโลก เมื่อพบพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สอบปากคำพร้อมแจ้งข้อกล่าวหา มาตรา 112 ทันที โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยข้อกล่าวหาสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ได้มีกลุ่ม NU-Movement โดยมีแกนนำคือ “น้องตี๋” ได้นำ “หนังสือบทปราศรัยคัดสรรคดี 112” มีข้อความว่า “ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่กษัตริย์ ตามที่เขาหลอกลวง” เล่มสีขาว มาเผยแพร่แก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมงาน โดยหลังรับทราบข้อกล่าวหา น้องตี๋ได้ให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือ ลงบันทึกประจำวัน และปล่อยตัวในภายหลัง

    เว็บไซต์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า 12 ม.ค. 2566 เวลา 11.00 น. ที่ สภ.เมืองพิษณุโลก “ตี๋” (สงวนชื่อสกุล) นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกพยาน เหตุเกี่ยวข้องกับการแจกหนังสือ “รวมคำปราศรัยคัดสรรคดี 112” ในงานรับปริญญาของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564

    ก่อนหน้านี้พนักงานสอบสวน ได้ออกหมายเรียกพยานลงวันที่ 26 ธ.ค. 2565 ให้ “ตี๋” ไปให้ปากคำในวันที่ 3 ม.ค. 2666 แต่เนื่องจากตี๋เดินทางกลับภูมิลำเนา ประกอบกับทนายความไม่สะดวก จึงขอเลื่อนนัดมาพบพนักงานสอบสวนในวันนี้

    สำหรับหมายเรียกพยานดังกล่าว ระบุว่า พ.ต.ท.กิตติศักดิ์ บุญเยี่ยม เป็นผู้กล่าวหา แต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้ต้องหา และข้อกล่าวหาไว้ในหมายแต่อย่างใด

    เวลา 11.00 น. “ตี๋” พร้อมกับทนายความและผู้ไว้วางใจ เดินทางเข้าให้ปากคำต่อ พ.ต.ท.มนู หรศาสตร์ รองผู้กำกับการ (สอบสวน) สภ.เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นผู้ออกหมายเรียกพยาน 

    เมื่อพบกับพนักงานสอบสวนแล้ว ตำรวจได้สอบปากคำ พร้อมกับทำการแจ้งข้อกล่าวหา “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในทันที โดยไม่ได้มีการแจ้งก่อนล่วงหน้า ว่าจะมีการแจ้งข้อหาทันที

    ข้อกล่าวหาโดยสรุประบุว่า เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ได้มีกลุ่ม NU-Movement โดยมีแกนนำคือ “ตี๋” ได้นำ “หนังสือบทปราศรัยคัดสรรคดี 112” มีข้อความว่า “ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่กษัตริย์ ตามที่เขาหลอกลวง” เล่มสีขาว มาเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปที่เข้าร่วมงานดังกล่าว 

    เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบหนังสือดังกล่าว อ้างว่ามีข้อความอันผิดต่อกฎหมาย โดยมีการยกบางส่วนของคำปราศรัยของแกนนำราษฎร 7 คน ในช่วงการชุมนุมเมื่อปี 2563-64 ที่ถูกกล่าวหาในข้อหาตามมาตรา 112 เผยแพร่ในหนังสือเล่มดังกล่าว มาประกอบข้อกล่าวหา ได้แก่ คำปราศรัยของพริษฐ์ ชิวารักษ์, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี, จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, พิมพ์ศิริ เพชรน้ำรอบ, อานนท์ นำภา รวมทั้งข้อความจากจดหมายเปิดผนึกถึงราษฎรชาวไทยถึงสถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2563  เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้มาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน

    หลังรับทราบข้อกล่าวหา ตี๋ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทางตำรวจได้ให้พิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา และลงบันทึกประจำวันไว้ ก่อนปล่อยตัวไปโดยไม่ได้มีการควบคุมตัวไว้

    ทั้งนี้ น่าสังเกตว่าคดีนี้เพิ่งมีการออกหมายเรียกพยานในช่วงปลายปี 2565 หลังเกิดเหตุตามข้อกล่าวหา ผ่านไปกว่า 1 ปี และตำรวจมีการแจ้งข้อกล่าวหาทันที แม้ไปพบตามหมายเรียกพยานก็ตาม อีกทั้งคำปราศรัยที่ถูกกล่าวหาในข้อหามาตรา 112 ในหนังสือเล่มดังกล่าว ยังไม่มีคำปราศรัยคดีใดที่ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิด และหนังสือเล่มดังกล่าวก็ไม่เคยถูกห้ามการเผยแพร่ตามกฎหมายแต่อย่างใด ขณะเดียวกันถ้อยคำปราศรัยทั้งหมดในหนังสือก็ไม่ใช่ข้อความที่ “ตี๋” เป็นผู้กล่าวแต่อย่างใด

    จากการติดตามของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน นับตั้งแต่การนำข้อหามาตรา 112 กลับมาบังคับใช้ในช่วงปลายปี 2563 มีนักกิจกรรมและประชาชนถูกกล่าวหาดำเนินคดีไปแล้วอย่างน้อย 227 คน ใน 245 คดีแล้ว

    ผู้สื่อข่าว Lanner ได้พูดคุยกับ น้องตี๋ กล่าวว่า การพัวพันกับคดีเป็นภาระมากยิ่งขึ้น จากการที่ต้องไปรายงานตัวตามกระบวนการทางกฎหมาย เหมือนกับตำรวจพยายามสร้างภาระให้มากยิ่งขึ้น

    Related

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...