กลุ่มแรงงานจัดกิจกรรม ‘เสียงจากผู้ปลูกกุหลาบ’ รับดอกกุหลาบจากแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมดอกกุหลาบ

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา ตัวแทนแรงงานข้ามชาติ กลุ่มคนงานหญิงเพื่อความยุติธรรม และมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้จัดกิจกรรมแจกดอกกุหลาบในแคมเปญ #Whomademyflower พร้อมทั้งแจกการ์ดที่มีการเขียนคำขอจากแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมการเกษตรกุหลาบ เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 ข้อ ได้แก่

  1. เพื่อให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับที่มาของดอกไม้และสภาพการทำงานแรงงานของคนงานที่ผลิตดอกไม้
  2. เพื่อสนับสนุนสิทธิแรงงานและความปลอดภัยในที่ทำงานของแรงงานข้ามชาติ
  3. เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความท้าทายที่แรงงานข้ามชาติเผชิญในประเทศไทยและสนับสนุนการได้รับความคุ้มครองทางสังคม

โดยจัดกิจกรรมดังกล่าว ณ ประตูท่าแพ, อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ และวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่



ซึ่งทางมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ เผยถึงที่มีและความสำคัญของแคมเปญดังกล่าวว่า เกิดขึ้นมาจากการที่แรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมการปลูกกุหลาบอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ของการถูกเอารัดเอาเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นการจ้างโดยไม่มีค่าแรงขั้นต่ำ ไม่สามารถลาป่วย ไม่ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามเทศกาล รวมถึงต้องเผชิญกับความเสี่ยงถูกใช้แรงงานบังคับ ไม่มีการตรวจสวัสดิภาพในสถานที่ทำงาน เนื่องจากแปลงดอกไม้ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงแรงงานในแปลงดอกไม้ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึงการคุ้มครองทางสังคม หรือแม้แต่ความปลอดภัยในการทำงาน ที่แรงงานจะต้องสัมผัสและใช้สารเคมีจำนวนมากโดยไม่ทราบว่าสารเคมีที่ใช้คือสารเคมีชนิดใดโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน แคมเปญ #Whomademyflower จึงเป็นตัวแทนของการมองเห็น และการสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ และความพยายามที่จะปรับปรุงกฏหมายในประเด็นดังกล่าวต่อไป


ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากภูเขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

slot deposit pulsa
Wanita Karawang Jackpot 800 Juta dari Mahjong Ways 2