พฤษภาคม 4, 2024

    ดูแลใจเด็ก ๆ ให้หลุดพ้นจากชีวิตแบด ๆ แซดอย่างบ่อยกันเถอะ

    Share

    ก่อนจะผ่านพ้นวันเด็กแห่งชาติไป มีเรื่องสำคัญที่ไม่อยากให้มองข้ามไป เพราะเรื่องนี้ก็สำคัญ ปัจจุบันวัยรุ่นไทยอายุระหว่าง 10 – 19 ปี จะพบว่ามี 1 ใน 7 คน และ 1 ใน 14 คนสำหรับเด็กในช่วงอายุระหว่าง 5 – 9 ปี มีความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ มิหนำซ้ำเมื่อปี 2564 ยังมีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าร้อยละ 17.6 ของวัยรุ่นอายุ 13-17 ปี มีความคิดที่จะฆ่าตัวตายอีกด้วย โดยการฆ่าตัวตายกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่สามของวัยรุ่นไทยไปในที่สุด

    แล้วอะไรที่ทำให้เด็ก ๆ ไม่ว่าจะทรงอะไรก็แซดกันบ่อยขนาดนี้ ก่อนอื่นเราอาจต้องมาทำความเข้าใจกันก่อน เพื่อที่จะได้ดูแล ชุบชูจิตใจเด็ก ๆ ไม่ให้ต้องแซด มีความสุขได้

    ข้อมูลจากการสำรวจภาวะสุขภาพนักเรียนทั่วโลกในส่วนของประเทศไทยเมื่อปี 2564 โดยกระทรวงสาธารณะสุข ทำให้พวกเราได้ทราบว่าปัญหาดังกล่าวนั้นมีปัจจัยอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรง การถูกกลั่นแกล้ง ความโดดเดี่ยว ความไม่แน่นอน รวมทั้งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  แต่น่าเสียดายที่ปัญหาดังกล่าวมักถูกบดบังเอาไว้ เนื่องจากการตีตราทางสังคมและการเข้าไม่ถึงข้อมูล การคัดกรอง การสนับสนุน ตลอดจนบริการด้านสุขภาพจิตที่เหมาะสม ทั้งหมดทั้งมวลนี้กลายทั้งบ่อเกิด และตัวเร่งปฏิกิริยาปัญหาสุขภาพจิตของเด็กๆและวัยรุ่นไทย ทำให้พวกเขาได้รับผลกระทบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล โรคเครียด รวมไปถึงโรคซึมเศร้า กลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรง ที่ส่งผลต่อสุขภาพ การเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชน รวมทั้งเป็นการจำกัดความสามารถของพวกเขาในการพัฒนาตัวเองอย่างเต็มศักยภาพ

    คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาวะสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทำให้ยุคนี้กลายเป็น ‘ยุคสมัยแห่งความวิตกกังวล’ จากความจำเป็นที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย แม้ว่าทุก ๆ คนจะมีขีดจำกัดเป็นของตัวเองก็ตาม และความกดดันที่เกิดขึ้นจากการต่อสู้ดังกล่าวก็ทำให้เกิดความวิตกกังวล ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่ายขึ้นภายในใจของทุกคน

    ดูแลใจเพิ่มพลังบวก ไม่สายเกินแก้

    โดยนอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานรัฐ ที่มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะในเชิงกฎหมายหรือนโยบายการบำบัดรักษา หรือการพัฒนาระบบการให้การรักษาและสนับสนุนทางจิตใจที่เหมาะสมแล้ว ผู้ใหม่แบบพวกเราเองก็สามารถช่วยเหลือเด็ก ๆ ได้ ด้วยการเพิ่มพลังงานบวก ลดพลังงานลบ หรือเข้าช่วยเหลือในยามที่พวกเขาหมดพลังได้หลากหลายวิธีง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็น

    1.การสังเกตุ การสังเกตเห็นทำได้ง่ายมาก โดยดูได้จากลักษณะทางกายภาพ แล้วค่อย ๆ ถามไถ่ โดยสามารถเริ่มพูดคุยผ่านบทสนทนาง่าย ๆ เช่น ‘ช่วงเป็นยังไง’ การเริ่มถามก็เปรียบเหมือนการเปิดประตูให้ระบายสิ่งที่อยู่ในใจ

    2.การรับฟัง คือการฟังอย่างเดียว เน้นย้ำว่าคือฟัง ฟังโดยไม่ตัดสิน รอฟังและอยู่เคียงข้าง มันจะช่วยให้เรารับรู้ว่าเด็ก ๆ ต้องการความช่วยเหลือแบบไหน เพียงให้เวลา และรอให้เด็ก ๆ ได้เล่าระบายทุกข์ ทั้งนี้เราต้องอยู่บนความเท่าทันตัวของตัวเองด้วย อย่าเผลอไปตัดสินและคิดแทน หรือแม้แต่เก็บเรื่องที่ฟังมานั่งจมกับตัวเอง

    3.ให้ความเข้าใจ อันนี้สำคัญมากลองเช็คว่าที่เราได้ยินและให้ความเข้าใจนั้นตรงกับเรื่องราวที่เด็ก ๆ เล่าให้ฟังไหม การพาตัวเองให้อยู่ในความอยากเข้าใจคือ อยากเข้าใจว่าเขากำลังเป็นอะไรอยู่ สถานการณ์ที่เขาเจอ สภาวะที่เขาเป็นนั้นรู้สึกอย่างไร ให้ลองเดาความรู้สึกและสิ่งที่เขาต้องการเป็นเชิงถามให้เข้ากับเรื่องราวของเด็ก ๆ ดู

    น่าจะดีไม่น้อยถ้าพวกเราช่วยให้เด็ก ๆ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขได้ ไม่ต้องแบด ไม่ต้องแซดกันบ่อย ๆ แล้วค่อย ๆ ขยายพื้นที่ปลอดภัยร่วมกันก็น่าจะดี หวังว่าโลกใบนี้จะใจดีสำหรับทุกคน


    อ้างอิง

    • Burnet Institute, Department of Mental Health, Mahidol University, UNICEF Thailand, รายงานสรุปการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ระบบและบริการสนับสนุนทางจิตใจและจิตสังคม สำหรับเด็กและวัยรุ่นในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก | รายงานฉบับประเทศไทย ดำเนินการศึกษาปี 2565, กรกฎาคม 2565

    Related

    นัดแสดงออกหน้าสถานกงศุลสหรัฐฯ เชียงใหม่ ร้องหยุดสนับสนุนสงครามในปาเลสไตน์

    4 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. เกิดการแสดงออกเรียกร้องเพื่อให้สหรัฐฯ ยุติการสนับสนุนการอิสราเอลทำสงครามในปาเลสไตน์ ณ...

    และนี่คือเสียงของ We are the 99% ฟังเสียง 6 แรงงานที่อยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดี

    เรื่อง: วิชชากร นวลฝั้น ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว 1 พฤษภาคม ของทุกปีคือวันแรงงานสากล (International Workers’...

    ค่าแรงมันร้าย กดขี่ขั้นโหด ถึงเวลา ‘สหภาพแรงงาน’

    เรื่อง: ปรัชญา ไชยแก้ว ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ร้อนแรงไม่แพ้อากาศประเทศไทย สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 ในงานเวทีวาระเชียงใหม่ Chiangmai...
    บทความก่อนหน้านี้
    บทความถัดไป