พฤษภาคม 5, 2024

    ส่องแคมเปญซิ่งจาก Human ร้าย Human Wrong 5 The Team, Making Change

    Share

    21 กันยายน 2565

    “SYNC SPACE” มันจะดีนะ ถ้าพวกเรามีพื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ทุกคน

    Lanner ชวน “ไอซ์” กับ “ขวัญ” 2 สมาชิกจากทีม SYNC SPACE พูดถึงการตั้งกลุ่ม แคมเปญที่ทีมกำลังผลักดัน ก่อนจะชวนไปสนุกกันในงาน Human ร้าย Human Wrong 5 The Team, Making Change 24 กันยายน 2565 ตั้งแต่เวลา 13.00 – 19.00 น. ณ ลานเสี่ยว ซอยหลังวัดอุโมงค์

    ที่มาที่ไปของการตั้งกลุ่ม SYNC SPACE เนี่ย คืออะไร?

    ไอซ์: คือตอนนั้นที่เรา Workshop Human ร้าย 5 มันกาวมาก(ฮา) จริงๆ มันคือคำว่า ‘ซิง’ ซิงสเปซ เพราะเหมือนเราใช้ Concept ของการ Matching เข้ามา คล้ายๆ ปัด Tinder อะ แต่ในตอนนั้นมันเป็นไอเดียที่โคตรไวอะ แบบว่า เราอยากจับคู่นักสร้างสรรค์ ศิลปิน หรือคนทำงานออกแบบ ร่วมกับหลายๆ คน ทั้ง เจ้าของธุรกิจ หรือว่าคนอื่นๆ ในเชียงใหม่ที่มันพอจะ Sync ร่วมกันได้

    เรามองว่าคนทำงานออกแบบหรือศิลปินมันถูกตัดขาดออกไป ถูกละเลยในเชียงใหม่มาก โดนกดค่าแรง ไม่มีตัวตน แทบจะเป็นแรงงานที่มองไม่เห็น เราเลยมองว่าการ Sync ร่วมมือกันมันจะเพิ่มโอกาสได้ แต่ในตอนแรกที่เรามองว่าเป็น ‘ซิง’ มันเหมือนการ Matching กันระหว่างกลุ่มคนที่ไม่เคยทำอะไรด้วยกัน ประมาณนั้น แต่ด้วยความที่ ‘ซิงสเปซ’ มันไม่ค่อยน่าจำ แล้วมันก็กาวนิดนึง ก็เลยเปลี่ยนเป็น ‘SYNC SPACE’ ให้มันดูชิคคูลขึ้นมา

    ชวนเล่าแคมเปญหน่อย ว่าเรากำลังดันแคมเปญอะไรกันบ้าง

    ไอซ์: เรากำลังพยายามผลักดันให้รัฐซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ตามอำนาจ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณะได้มากขึ้น โดยปกติทั่วไปที่เราเห็นมันมีพื้นที่อยู่แล้วก็จริง ซึ่งมันถูกประกาศมาแล้ว อันนี้หอศิลป์ อันนี้ลานนั้นลานนี้ แต่ว่าในเชิงของการเข้าไปใช้งานจริงมันเกิดข้อจำกัด และมีการเซ็นเซอร์งาน พอช่วงหลังๆ มา เราจะเห็นได้เยอะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักกิจกรรมกลุ่มต่างๆ ที่จะเห็นว่าถูกกีดกันจากเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราไม่ได้แยกงานส่วนนี้ว่าเป็นอาร์ต เป็นงานสร้างสรรค์หรือไม่ แต่เรามองว่างานที่มันถูก Create มาแล้ว มันก็คืองานสร้างสรรค์ ซึ่งมันส่งผลต่อการพัฒนาเมืองกับคนอยู่แล้ว เราอยากให้พื้นที่เหล่านี้เปิดโอกาสให้คนที่สร้างผลงาน ไม่ว่าในเชิงไหนก็ตาม มีจุดยืนในสังคมจริงๆ เราก็เข้าไปทำงานกับเงื่อนไขโดยตรง เช่นเข้าไปในพื้นที่ที่บอกว่าเป็นพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรม แต่พอเข้าไปศึกษาเงื่อนไข มันมีเงื่อนไขชัดเจนว่าต้องส่งเสริมกลุ่มเศษรฐกิจสร้างสรรค์ หรือทำให้มันเข้ากับเขามากที่สุด ซึ่งเราว่าตรงนี้แหละ ทำให้เราแสดงออกได้ไม่เต็มที่ เพราะว่าคนรุ่นใหม่ บางทีก็อยากได้ที่ที่มันรองรับเขา เราก็เลยรู้สึกว่าเราทำงานกับเงื่อนไข มันก็จะนำไปสู่การต่อรองนโยบายของกลุ่มเรา ที่ว่าเราอยากให้มันเปิดกว้าง เปิดให้คนรุ่นใหม่กว่านี้

    ที่ผ่านมา ทำอะไรกันไปแล้วบ้าง

    ไอซ์: ก็ งานแรกที่เราทำเนาะ ก็คืองาน ซิ้งซิ่ง! Sync (Zing) Space สำหรับเรา มัน Impact นะ เพราะได้ดึงคนที่ไม่ใช่ศิลปินใหญ่ เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยเข้ามา แล้ว Concept มันก็คือดนตรีแจม ก็คือการที่คนมาร่วมเล่นดนตรีโดยที่ไม่ได้มีทักษะอะไรมาก เราก็เซ็ตเวทีให้ทุกคนเข้ามา เราก็มองว่าดนตรีกับเชียงใหม่มันเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน แทบจะทุกชุมชนเลย แล้วคนรุ่นใหม่ก็ยังต้องการเวทีของพวกเขาอยู่ เราก็ Experiment ดูว่าถ้าเราเปิดเวทีให้คนมาแจมจริงๆ เนี่ย มันจะเป็นยังไง เราก็ค่อนข้างสนุกนะ แต่เราก็รู้สึกว่ามันยังมีข้อกำจัดที่คนยังไม่ค่อยเก็ต เช่นเปิดหมวกยังไง พวกคุณทำอะไร แถมยังมาทำกันหน้าคุกหญิงเก่าอีกต่างหาก แต่ตรงนั้นมันเป็นพื้นที่ร้าง เราก็อยากจะทำให้พื้นที่ร้างมันถูกใช้งาน ด้วย Concept การใช้พื้นที่ของรัฐที่ถูกที่ร้างไว้ กับการ Jamming มันก็กลายเป็นการ Experiment ที่เรารู้สึกว่าน่าผลักดันให้เกิดขึ้น

    ขวัญ: นี่เกิดก่อนชัชชาติด้วยนะ (ฮา)

    ไอซ์: ไม่ค่อยอยากพูดว่าทำมาก่อน (ฮา) แต่ก็คือมาทำแล้วมันไม่ใช่กรุงเทพฯ หรือเมืองที่มันถูก Romanticize พยายามทำให้ Space มันสวยมากขึ้น สำหรับเชียงใหม่มันดูแปลกอะ แต่เราได้รับ Feedback มาจากคนต่างชาติ ว่ามัน Homey เพราะบ้านเขาเป็นแบบนี้โดยปกติ ซึ่งมันก็ทำให้คิดว่าการที่คนแปลกหน้าที่ไม่มีทักษะด้านดนตรีมาแจมกันในพื้นที่สาธารณะมันถึงดูแปลกในเชียงใหม่วะ มันควรเป็นเรื่องปกติอะ คือเราพูดกันว่าเชียงใหม่แม่ง Event เยอะ เป็นเมืองศิลปะ เป็นเมืองสร้างสรรค์ แต่ทำไมการแจมกันเล็กๆ น้อยๆ ถึงการเป็นเรื่องไม่ปกติ

    ขวัญ: แล้วท้ายที่สุด ตอนนี้เชียงใหม่ เทศบาลก็ทำดนตรีในสวนนะ แล้วเราก็ไป (ฮา)

    ไอซ์: เออ เราก็ไม่รู้นะว่าในบรรยากาศนั้นมันเป็นยังไง ท้ายที่สุดแล้วสิ่งที่ถูกเคลมมันก็คือชื่ออะ แต่เอาจริงๆ แล้วอะ มันสร้างปรากฎการณ์ให้คนเชียงใหม่ได้ขนาดนั้น หรือมันเป็นแค่ชื่อที่เขาลงทุนไปแต่ไม่ได้อะไรเลย มันก็ยังเป็นปัญหาอยู่

    ขวัญ: ในงาน ซิ้งซิ่ง! Sync (Zing) Space พอมันเป็นดนตรีแจม แล้วมันมีหนังพากย์ เราใช้ความที่แบบว่า อยู่ข้างถนนแล้วก็ดูหนังกันตรงคุกเก่ากันอย่างงี้ ซึ่งมันก็สนุก ตรงที่ว่ามันทำให้คนมาดูรู้สึกได้ว่ามันควรมีพื้นที่แบบนี้ขึ้น จากที่คุยกับรุ่นพี่รุ่นน้องที่มา เขาก็ชอบการดูหนังเป็น Community ด้านนอก มากกว่าการเข้าไปดูหนังในโรง แต่ในขณะเดียวกันเชียงใหม่มันไม่ได้มีแบบนั้น เขาอยากให้มันมี การที่เราทำตรงนี้มันทำให้เขานึกได้ว่าเชียงใหม่มันมีอะไรดีๆ อีกเยอะ

    แล้วอย่าง ‘ก่อร่างสร้าง space’ ละเป็นยังไง

    ไอซ์: Project นี้มันเป็นการร่วมมือกับ ‘Design Society’ เป็นกลุ่มเด็กสถาปัตย์ฯ เราให้เขาออกแบบบอร์ดหนึ่งที่เป็นเชียงใหม่ในแนวระนาบ ไม่ใช่แนว top-down อะ เป็น Street View แล้วให้คนมาเขียน แล้วในวันงานจริงก็มี Workshop เก้าอี้สาธารณะ คือเราอยากให้คนมาแสดงจุดยืนทางพื้นที่ผ่านการ Workshop แต่ทั้งหมดทั้งมวลของกิจกรรม เราก็จะเจอกับข้อจำกัดเสมอ เช่นพอมันกลายเป็น Event เกิดแล้วจบ ในเชียงใหม่มันทำ Event ง่ายมาก ที่จะทำยังไงให้มันเป็นระยะยาว ซึ่งอันนี้เราก็ชนเข้ากับข้อจำกัดทุกครั้งที่เราทำ Event คนมันจะเสียดาย กูอยากให้มีอีก แต่แล้วยังไงวะ มันไม่มีพื้นที่ให้มันมี

    ขวัญ: หรือการทำอะไรแบบดนตรีแจมที่คนต่างชาติมองเป็นเรื่องปกติ หรือการฉายหนังที่คนอยากให้เกิดขึ้นอีก สุดท้ายแล้วมันต้องมี Organize มาทำงานอะ ทำไมมันไม่เป็นเหมือนเรื่องปกติที่เขาออกไปข้างนอกแล้วก็ใช้พื้นที่วะ เพราะว่าการเข้าไปใช้พื้นที่สาธารณะในชีวิตจริงมันไม่ใช่เรื่องง่ายกับประชาชนหรือปล่าว เขาเลยไม่ได้ทำให้เป็นเรื่องปกติ

    พูดถึงโครงการ Human ร้าย Human Wrong 5 หน่อย เพราะเห็นว่าครั้งนี้มันไม่เหมือนครั้งก่อนๆ เพราะต้องมารวมทีมทำแคมเปญกัน พอเป็นแบบนี้แล้วเนี่ย กระบวนการทำงานกันเป็นทีม มันมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

    ไอซ์: คือมันเปิดประตูมาก จิตแตกเหมือนกันตอนเข้า Workshop ตอนนั้นเราก็ทำงานประจำอยู่ ก็รู้สึกว่าเหมือนโดนระบบทำร้ายอีกแล้ว คือทุกครั้งที่ทำงานประจำเราก็จะเจอปัญหาเดิมๆ อย่างการโดนกดอะไรบางอย่างเสมอ คือการทำงานเป็นครีเอทีฟ เราจะรู้สึกว่าเขายังมองว่าครีเอทีฟคือการทำงานแบบเครื่องจักร แต่จริงๆ แล้วมันคือการใช้เลือดเนื้อเชื้อไข ใช้พลังใจด้วย แล้วพอไปเข้า Human ร้าย เขาก็สอนกระบวนการ เช่นว่าจุดยืนของเราคืออะไร อะไรคือสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วเราเชื่อแล้วส่งผลต่อการทำงานของเรา ก็เลยเกิดการเถียงขึ้นในตัวเองมากว่า กูทำอะไรอยู่ทุกวันนี้ มันก็ยิ่งตอบคำถามเรา ว่าเออ ระบบที่เราอยู่มันขังอิสรภาพเราเยอะมาก หลังจากจบ Workshop ก็คือออกจากงานเลย เพื่อพิสูจน์อะไรบางอย่างว่าแบบ เออ กูคงเอาระบบแบบนั้นไม่ได้แล้ว รวมทีมกับเพื่อนๆ ในโครงการจนกลายเป็น SYNC SPACE ที่เป็นประเด็นที่อยากทำด้วย อยากพูดว่าการที่เราพูดหรือแสดงความเห็นอะไรไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าอยากลองสักครั้งหนึ่งก็ลองทำดู อันนี้คือที่อยากแชร์

    ส่วนที่อยากเม้าท์ เรารู้สึกว่าทุกครั้งที่ทำงาน คนมันหายไปเรื่อยๆ บางทีก็แอบรู้สึกเศร้า เพราะประเด็นมันก็ยากด้วย ต้องอธิบาย ต้องเอามานั่งคุยกัน แล้วบางทีคนในวงการศิลปะมีความคิดของตัวเองสูง เราก็ต้องพูดให้เข้าใจ บางคนเขาไม่เอารัฐเลย แต่ประเด็นของเรามันคือการให้ข้อเสนอนโยบายกับรัฐ บางคนก็บอก “ทำพื้นที่เองเลย” แล้วเรามองว่า การลืมสิทธิ์ของเรา ภาษีต่างๆ เราก็ต้องพูดอีกหลายๆ รอบว่าเราต้องไม่ลืมว่าเราต้องใช้พิ้นที่สาธารณะ SYNC มันเกิดขึ้นมาเพื่อให้เราคุยกับเขา ก็คือเราน้อยใจนะ แต่มันก็เป็นภารกิจไปแล้ว เป็นงานระยะยาว

    SYNC มันออกมาจาก Human ร้าย เหมือนแม่คลอดลูก แต่พอจบ Process การ Workshop มาแล้ว เวลาจะทำอะไรบางอย่าง เราต้องมาปรึกษาทีมงาน เขาเหมือนเป็นแม่เรา(ฮา) หลายครั้งก็มีคนมาชวนเราไปทำงานเยอะมากๆ กลุ่มองค์กรอื่นๆ นี่เข้ามาจีบ SYNC เยอะแยะ อยากรู้นั่นนี่นู่น เราก็สับสน เพราะเราใหม่มาก สรุปกูต้องไปคุยไหม ต้องนอกรอบไหม ทั้งนี้ทั้งนั้นจุดยืนของ SYNC SPACE ก็ต้องชัดว่าเราทำงานเพื่อประชาชน

    เชิญชวนคนมาร่วมงานวันที่ 24 หน่อย หรือจะเปรยๆหน่อยก็ได้ แบบไม่ละเอียด

    ไอซ์: บอกเลยว่า ‘ใหม่ ใหญ่ ยาก’ จริงๆ ต้องตัดหลายอย่างมากด้วยเพราะทรัพยากรคน คือจริงๆ อยากทำให้ยิ่งใหญ่ แต่พละกำลังและหน้าที่คนมันไม่พร้อมกัน ก็เลยลดสเกลลงมา แต่งานนี้เราอยากอธิบายให้ทุกคนฟังจริงๆว่า SYNC SPACE มันคืออะไรกันแน่วะ คือบางคนมันก็งงว่า SYNC SPACE คืออะไร ทำอะไร แล้วเราก็ยินดีมากถ้าคุณอยากเอาประเด็นเราไปทำงาน ก็มาเอาได้ เพราะมันโคตร Public เลย และอีก 2 ทีมก็รอทุกคนเข้าไปคุยด้วยอยู่นะ เรามองว่าประเด็นของทุกทีมมันน่าสนใจมาก มันอาจจะไม่ได้ใหม่ แต่ทุกคนมีของ อยากจะพูดกันทุกคน

    ขวัญ: มันเป็นเรื่องปกติที่คนไม่เคยคิดว่ามันปกติ เรื่องสิทธิเงี้ย แล้วมันก็สอดคล้องกับเรื่องที่เรามีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือคนสร้างสรรค์ในเชียงใหม่ใช่ไหม อย่าง SAAP 24:7 มันคือการเรียกร้องพื้นที่ให้นักศึกษา สุดท้ายแล้วเรามีเป้าหมายคือการเรียกร้องพื้นที่เหมือนๆ กัน ขนสุขสาธารณะก็ด้วย มาเจอกันได้

    เรื่อง: วัชรพล นาคเกษม

    ภาพ: วรรณพร หุตะโกวิท

    Related

    นัดแสดงออกหน้าสถานกงศุลสหรัฐฯ เชียงใหม่ ร้องหยุดสนับสนุนสงครามในปาเลสไตน์

    4 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 น. เกิดการแสดงออกเรียกร้องเพื่อให้สหรัฐฯ ยุติการสนับสนุนการอิสราเอลทำสงครามในปาเลสไตน์ ณ...

    และนี่คือเสียงของ We are the 99% ฟังเสียง 6 แรงงานที่อยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดี

    เรื่อง: วิชชากร นวลฝั้น ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว 1 พฤษภาคม ของทุกปีคือวันแรงงานสากล (International Workers’...

    ค่าแรงมันร้าย กดขี่ขั้นโหด ถึงเวลา ‘สหภาพแรงงาน’

    เรื่อง: ปรัชญา ไชยแก้ว ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ร้อนแรงไม่แพ้อากาศประเทศไทย สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2567 ในงานเวทีวาระเชียงใหม่ Chiangmai...