พฤษภาคม 9, 2024

    นักเคลื่อนไหวไร้สัญชาติเปิดโพลล์อ่างแก้วมช. “คุณคิดว่าคนไร้สัญชาติควรมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งหรือไม่” ยันอยากแก้ปัญหาไร้สัญชาติ

    Share

    23 กุมภาพันธ์ 2566

    ภาพ : ปรัชญา ไชยแก้ว

    นักเคลื่อนไหวไร้สัญชาติ จัดกิจกรรมบอร์ดแสดงความคิดเห็นในหัวข้อ “คุณคิดว่าคนไร้สัญชาติควรมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งหรือไม่” ตั้งแต่เวลา 17.30-18.30 น. บริเวณ อ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีป้ายให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็น “คุณรู้จักคนไร้สัญชาติหรือไม่” “คุณคิดว่าคนไร้สัญชาติควรมีสิทธิ์ในการเลือกตั้งหรือไม่”  

    ภาพ : ปรัชญา ไชยแก้ว

    นายคำ(นามสมมุติ)นักเคลื่อนไหวไร้สัญชาติผู้จัดกิจกรรมได้พูดถึงเหตุผลที่จัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการพิสูจน์สัญชาติกันมานาน แต่ด้วยระยะเวลาในการพิสูจน์มันช้ามาก ทำให้เขายังอยู่แบบคนไร้สัญชาติ คนไร้สัญชาติที่มีรัฐไทยรับรอง อยู่ในรัฐไทย เป็นพลเมือง มีสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่ไม่ทั้งหมด ก็ถูกจำกัดเรื่องสิทธิในการเดินทางในอำเภอ จังหวัด และคิดว่าคนเหล่านี้ควรที่จะได้รับสิทธิในการเลือกตั้ง เพื่อที่จะเลือกผู้แทนที่มาแก้ปัญหาให้กับพวกเขา ในเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติ แก้ไขความล่าช้าของกระบวนการ ซึ่งบางคนใช้เวลาพิสูจน์หลาย 10 ปี ทั้ง ๆ ที่เขาเกิดที่ประเทศไทยและอยู่ที่นี่มาทั้งชีวิตตั้งแต่คนรุ่นก่อน ๆ 

    นายยอด(นามสมมุติ)ผู้จัดกิจกรรมอีกคนได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เราอยากรณรงค์ เราอยากเลือกผู้แทนของเรา เพราะนโยบายต่าง ๆ มันมีผลกระทบกับตัวเรา เราเลยอยากมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตของเราเอง เราอยากกำหนดการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติยังไง โดย กกต.ได้เอาเรา(คนไร้สัญชาติ)ไปเป็นจำนวนนับในการคำนวณเพิ่มและลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในหลายจังหวัด แต่เรากลับไม่มีสิทธิ์ในการออกไปเลือกตั้ง

    ภาพ : ปรัชญา ไชยแก้ว

    ทั้งนี้ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นที่เป็นคนไร้สัญชาติกล่าวว่า เราควรได้สิทธิการเลือกตั้ง เพราะคนไร้สัญชาติก็เสียภาษีเหมือนกับคนไทย และถ้ามีสิทธิในการเลือกตั้งคนไร้สัญชาติเองก็สามารถที่จะกำหนดคุณภาพชีวิตของตนเองได้ ทั้งนี้ถ้ามีสิทธิมีเสียงก็สามารถเลือกพรรคการเมืองที่ตอบสนองความจำเป็นในการใช้ชีวิตของคนไรสัญชาติ ซึ่งส่วนตัวที่เราพบเจอ เราอยากให้ค่าแรงที่มันสัมพันธ์กับค่าครองชีพรวมไปถึงรัฐสวัสดิการที่มันครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน

    ภาพ : ปรัชญา ไชยแก้ว

    ผู้เข้าร่วมอีกท่านได้กล่าวกับทาง Lanner ว่า คิดว่าคนไร้สัญชาติก็ควรจะมีสิทธิเท่ากับคนในประเทศ และการเลือกตั้งควรจะเปิดกว้างซึ่งเป็นสิทธิของทุกคน

    ภาพ : ปรัชญา ไชยแก้ว

    โดยตลอดการดำเนินกิจกรรม มีเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้ามาสอบถามผู้จัดกิจกรรมเป็นระยะ ๆ และอ้างว่าการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ผิดกฏของมหาวิทยาลัย

    กกต. ปรับสูตรนำราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทยคำนวณจำนวน ส.ส. แต่ยังไร้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง

    ภาพ : iLaw

    สมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย อดีต กกต. ตั้งข้อสังเกตว่า กกต. ชุดปัจจุบันได้นำจำนวนราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทยมาใช้คำนวณจำนวน ส.ส. ในแต่ละจังหวัดหลังประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งปี 2566 โดยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการคำนวณของ กกต. จะมีการเปลี่ยนแปลง ส.ส. ทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก อุดรธานี นครศรีธรรมราช และปัตตานี แต่คนไร้สัญชาติก็ยังไร้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง

    ขอบคุณข้อมูลจาก iLaw สามารถอ่านฉบับเต็มได้ที่ เลือกตั้ง 66: กกต. ดีดเขตเลือกตั้งพิสดาร รวมคนไม่มีสัญชาติไทยเข้ามาด้วย! ทำ 6 จังหวัดมี ส.ส. เพิ่มขึ้นหรือลดลงกว่าที่ควรเป็น

    Related

    ไม่ได้ร้องขอ หากแต่มาเพื่อบอกกล่าว ‘บุญร่มไทร’ คนจนเมืองริมทางรถไฟ ความเจริญที่ข้ามผ่านคนริมขอบ   

    เรื่อง : ปภาวิน พุทธวรรณะ ช่วงสายของวันธรรมดาทั่วไปในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทุกอย่างดำเนินไปตามครรลองอย่างที่มันควรจะเป็น รถไฟขบวนมหาชน หมายที่ 371 ได้ชะลอความเร็วเพื่อหยุดรับผู้คนเดินทางกลับบ้านสู่ภาคตะวันออก...

    ร้อยเรียงเรื่องเชียงแสน พลวัตการพลัดถิ่นฐานของผู้คนบนสายธารประวัติศาสตร์ สงครามและสนามรบ

    เรื่อง : นวลคำ ขะยอมแดง สุภาพชนคนเมือง “เชียงแสน” เป็นชื่อบ้านนามเมืองแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันในหมู่ผู้คนทั่วไปว่าคือชื่อของอำเภอชายแดนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป....

    ก้าวไปข้างหน้า กับความไม่แน่นอนของปัญหาไฟป่า-หมอกควันจังหวัดเชียงใหม่

    เรื่อง : ชยา วรรธนะภูติ ไฟ ฝุ่นและมลพิษใน “อุตสาหกรรมนิยมยุคปลาย” นับตั้งแต่เมื่อสองร้อยกว่าปีที่แล้ว ด้วยอิทธิพลของการล่าอาณานิคม การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติการเกษตรในทวีปต่างๆ...