พฤษภาคม 18, 2024

    MAYDAY MAYDAY MAYDAY, WE’RE IN DANGER!

    Share

    เรื่อง: ปภาวิน พุทธวรรณะ 

    WE ARE THE 99%

    5 ไฮไลท์จากหน้าประวัติศาสตร์ 133 ปี 

    การต่อสู้ของชนขั้นกรรมาชีพในเมืองเบอร์ลิน เยอรมัน

    Mayday Mayday Mayday + ข้อความขอความช่วยเหลือ  ถูกใช้สื่อสารทางวิทยุ เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (SOS)  ที่ระดับนานาชาติเห็นร่วมกันว่าต้องใช้ยามฉุกเฉิน หรือเหตุด่วนร้ายแรงขีดสุดเท่านั้น อย่างเครื่องบินตกเกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือเรือใหญ่ประสบอุบัติเหตุใกล้อำปาง และถึงมีโทษเอาผิด หากใช้ไปเรื่อย สุ่มสี่สุ่มห้า

    Mayday – Asking for help in times of need by M.Nora Klaver.

    MAYDAY เกิดขึ้นในช่วง 1920 หลังผ่านยุคโทรเลข และการส่งสัญญาณวิทยุจากการเคาะรหัสมอสต์ถูกเปลี่ยนเป็นการส่งสัญญาณด้วยเสียงแทน มีข้อสันนิษฐานว่า Mayday ถูกคิดโดยคนควบคุมวิทยุสื่อสารสนามบิน Croydon ชาวฝรั่งเศส ชื่อว่า Frederich stanley muchford  หลังจากที่ Frederich หัวหมุนอยู่สักพักว่าจะใช้คำไหนดี จู่ ๆ ก็ปิ๊งไอเดีย เพราะนึกขึ้นได้ว่า เครื่องบินและผู้โดยสารที่บินลงครอยดอน ส่วนใหญ่บินมาจากประเทศฝรั่งเศส Frederich จึงตัดสินใจใช้คำว่า MAYDAY ที่สามารถพูดในภาษาอังกฤษได้ และยังพ้องเสียงในภาษาฝรั่งเศส ว่า M’aidez แปลว่า ช่วยด้วยโว้ย แบบตะโกน !   

    Frederich Stanley Muchfood ที่หอควบคุมวิทยุสื่อสาร ณ สนามบิน Croydon เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ by Historic Croydon airport.

    ดูเหมือน  Mayday เรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเดือนพฤษภาคมหรือวันสำคัญใด ๆ  ทว่าในอีกเรื่องหนึ่ง MAYDAY  เป็นอีกชื่อหนึ่งที่ถูกรู้จักกันว่ามันคือวันสำคัญระดับโลก คือ วันแรงงานสากล (International Worker’s day) ถูกจัดขึ้นทุก 1 พฤษภาคม เพื่อระลึกถึงช่วงเหตุการณ์สำคัญที่ล้อมปราบประท้วงมวลชนกรรมกรที่จัตุรัสเฮย์มาร์เกต อเมริกา ปี 1886 กรรมกรกว่าหลายแสนคนนัดกันหยุดงาน เพื่อเรียกร้องให้มีกฎหมายจำกัดชั่วโมงทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน 

    Eight- hour workday movement คือการทำงาน 8 พักผ่อน 8 และ ปล่อยจอยอีก 8 ชม.

    A year before the Haymarket Massacre, Samuel Fielden pointed out in the anarchist newspaper, The Alarm, that “whether a man works eight hours a day or ten hours a day, he is still a slave.”

    (1 ปีก่อนเกิดเหตุการณ์ลุกฮือของเหล่าชนชั้นกรรมาชีพที่จตุรัสเฮย์มาร์เกต Samuel Fielden เขียนปะหน้าหนังสือพิมพ์อนาคิสต์ ‘The Alarm’ ไว้ว่า “ไม่ว่าเราจะทำงาน 8 ชั่วโมงหรือ 10 ชั่วโมง ยังไงเราก็ยังเป็นทาสอยู่วันยังค่ำ” 

    (CREDIT: STOCK MONTAGE/GETTY IMAGES)

    วันที่ 1 พฤษภาคม หากไล่เรียงตามประวัติศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก  ก็ต้องนับว่า วัน ๆ นี้ผ่านช่วงอะไรมาหลายเหตุการณ์ อย่างช่วงสงครามโลก ยุคปฏิวัติ ลัทธิฟรานซิส ลัทธิสตาลิน และยุคสมัยแห่งกงล้อทุนนิยม

    1.1890: ยุคแห่งการเริ่มต้น 

    หลังจากที่การลุกฮือของนักสังคมนิยม และการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพ ในช่วง 1890 รุ่งเรือง MAYDAY ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดแรงงานตั้งแต่ 1899 และไม่กี่ปีให้หลัง อิทธิพลนี้กระแผ่ขยายไปทั่วโลก จนพรรคการเมือง Social Democratic ในเบอร์ลิน จัดการชุมนุม ที่ Nueu Welt   (แปลว่า โลกใบใหม่) การพูดคุยครั้งนี้ต้องจัดขึ้นแบบเป็นความลับ เพราะในสมัยนั้นการรวมตัวยังเป็นเรื่องห้ามในเมือง Wilhemine  ทุก ๆ วันที่ 1 พฤษภา ประชาชนจะแขวนธงสีแดงที่ปล่องไฟและหอคอยโบสถ์เพื่อเป็นการแสดงอารยขัดขืนเชิงสัญลักษณ์ 

    2.1916: Down with the war!  

    การเฉลิมฉลอง Mayday ได้หยุดชะงักลงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914 – 1918 ) แต่แล้วคืนหนึ่งก่อนวันที่ 1 พฤษภา 1916  มีกระดาษโฆษณาประหลาด แพร่กระจายทั่วเมือง เขียนไว้ว่า 

    _________________________________________________________________

    Whoever is against the war will appear on May 1 at eight in the evening. Potsdamer Platz (Berlin). Bread! Freedom! Peace!”

    ถึงใครก็ตามที่อยากให้สงครามนี้จบลง โปรดมารวมตัวกันในวันที่ 1 พฤษภา เวลา 20.00 ที่ถนน Potsdamer Platz

    _________________________________________________________________

    เมื่อเวลามาถึง ผู้คนกว่า 2 – 3 พันมารวมตัวกันที่จตุรัส ท่ามกลางฝูงชน มีชายวัย 45 ปี สวมเสื้อยูนิฟอร์มทหารสีเทา และแว่นตา พร้อมตะโกนก้องว่า “down with the war ! Down with the government” ขายผู้นั้นคือ Karl Liebknecht นักการเมือง นักทฤษฎีสังคมนิยมชาวเยอรมันและผู้ร่วมก่อตั้ง Spartacist League กับ โรซา ลักเซมเบิร์ก หลังจากนั้น Karl ต้องติดคุกแค่เพียงเพราะเขาตะโกนคำว่า “Down with the war” 

    Credit : Socialist Worker 
    Karl Liebknecht Memorial บนถนน Potsdamer Platz ในปัจจุบัน 

    3.1929: Mayday นองเลือด ถูกจารึกไว้ว่าเป็น 1 ในเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองเยอรมัน ช่วง 1918 – 1933

    เหตุการ์ณวันเฉลิมฉลอง Mayday ในปี 1929 นับว่าเป็นช่วงที่โหดที่สุด หลังจากหัวหน้าตำรวจที่ชื่อว่า Karl Zörgiebel สั่งห้ามทุกอย่างที่ส่อแววถึงการรวมกลุ่มกันในที่สาธารณะสีแดงอย่าง Wedding และ Neukölln (ชื่อย่าน) แต่แล้วเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม การรวมตัวเฉลิมฉลองของชนชั้นกรรมชีพหลายพันเลือกที่จะฝ่าฝืนคำสั่ง มีรายงานว่าระยะเวลาเพียง 3 วัน มีพลเมืองที่ถูกยิงเสียชีวิตกว่า 33 คน 200 คน บาดเจ็บสาหัส และมากกว่า 1 พันคนถูกนำตัวไปสอบสวนที่สถานีตำรวจ มีสื่อบางรายเขียนว่า จำนวนของผู้ตายไม่ใช่แค่อยู่ตามท้องถนน เพราะบางรายอยู่ในบ้านก็ยังถูกยิง

    Credit : A Very Bloody Mayday

    ตำรวจกล่าวหาว่า ฝั่งของผู้มาชุมชนเริ่มกระทำความรุนแรงก่อน พร้อมโชว์แผลที่ถูกกระสุนยางยิง 1 แผล วันต่อมา มีนักข่าวตามไปสืบ พบว่า เขาใช้ปืนยางยิงตัวเองก่อนวันที่ 1 พฤษคมจะมาถึงเพียง 1 วัน 

    หลังจากนั้นไม่มีใครเอ่ยถึงเหตุการณ์นี้อีกเลย แม้กระทั่งตำรวจ นักการเมือง ไม่มีเคยมีใครได้รับโทษจากการกระทำเกินกว่าเหตุของรัฐ 

    Credit : A very bloody May Day 

    4.1933: Nazi May Day 

    “The Nazis Stole May Day, But Socialists Took It Back”

     (นาซีขโมย mayday ไป แต่นักสังคมนิยมทวงคืนมันกลับมา) 

    ในช่วงยุค 1930s  เยอรมันเฉลิมฉลองวัน Mayday  ภายใต้เงาของเครื่องหมายสวัสดิกะ และฮิตเลอร์พยายามจะแบน วันแรงงานด้วยการครอบงำเบ็ดเสร็จแบบเผด็จการ หรือ ที่เรียกว่า Nazi Mayday  วันที่ 1 พฤษภาคม 1933 อด็อฟ ฮิตเลอร์ ยืนอยู่หน้าฝูงชนกว่า 500,000 คน ที่ สวนสาธารณะ tempelhof ในวันที่อากาศร้อนระอุ ผู้คนต่างเรียกอากาศแบบนี้ว่า “Hitler weather” (สภาพอากาศแบบฮิตเลอร์) ฝูงชนเต็มไปด้วยเหล่าแรงงาน คนทำงาน และสหภาพแรงงาน  ที่ต้องจ่ายค่าตั๋วเข้าชมฟัง speech ครั้งนี้ 

    View of Tempelhof Field in Berlin, Germany on May 1, 1933. (Keystone-France / Gamma-Rapho via Getty Images)

    ฮิตเลอร์มอง Mayday ว่า คือวันแห่งความเกลียดชัง (Day Of Hate) และการต่อสู้ระหว่างชนขั้นที่ไม่มีวันสิ้นสุด ทำให้ขณะนั้น ฮิตเลอร์กำกับแนวคิดและการเฉลิมฉลองวัน mayday ด้วยวิธีแบบฮิตเลอร์เอง ด้วยการประกาศว่า มาหยุดต่อสู้และสร้างความเกลียดชังระหว่างชนชั้นกันเถอะ พร้อมเปลี่ยนชื่อ Mayday กลายเป็น Nationaler feiertag des deutschen Volkes (วันหยุดงานแห่งชาติเยอรมัน) และจัดเทศกาลดนตรีเฉลิมฉลองพื้นบ้าน มีการเต้นระบำ รับประทานอาหาร พบปะสังสรรค์

    cr.Nationaler feiertag des deutschen Volkes

    ช่วงเดียวกัน ข้าราชการที่ทำงานสหภาพแรงงานของเยอรมนี  อยากจะปรับตัวให้เข้ากับแนวคิดรูปแบบใหม่ และสนับสนุนให้มีวันหยุดเพิ่ม แต่หารู้ไม่ว่า Mayday แบบนาซี ไม่ได้ช่วยอะไรเขาเลย วันต่อมา กองกำลังนาซีได้บุก เข้ายึดครองสํานักงานใหญ่ของสหภาพทั้งหมดและจับกุมผู้นำขององค์กรไป จากนั้นเข้าบริหารแทน แต่ก็ไปไม่รอด เพราะนาซีล้มเหลวที่จัดการบริหารองค์กรนี้ ฮิตเลอร์จึงตัดสินใจยุบองค์กรสหภาพการค้าไป 

    ลัทธินาซีทำลายสหภาพแรงงาน 
    credit : Local 150

    5.2023 : จวบจนปัจจุบัน (Untill The Very End)

    “As long as the struggle of the workers against the bourgeoisie and the ruling class continues, as long as all demands are not met, May Day will be the yearly expression of these demands. And, when better days dawn, when the working class of the world has won its deliverance then too humanity will probably celebrate May Day in honor of the bitter struggles and the many sufferings of the past.”

    Rosa Luxamburg 

    คำกล่าวของ Rosa Luxamburg ที่สรุปใจความไว้ว่า การเฉลิมฉลองวันแรงงาน จะไม่มีวันจบลงหากความเจ็บปวด และการกดขี่ของชนชั้นแรงงานยังมีอยู่ 

    น่าแปลกที่การเฉลิมฉลอง Mayday ใน Berlin ในปัจจุบันนี้กลายเป็น Events ที่ไม่ได้ Popular หรือพูดถึงขนาดนั้น แถมยังถูกเรียกเป็น 2 ชื่อ คือ Mayday และ Myfest อีกต่างหาก ในเว็บไซต์แนะนำการท่องเที่ยวเบอร์ลิน เขียนเตือนนักท่องเที่ยวที่เซนซิทีฟต่อภาพความรุนแรงให้ไปเฉลิมฉลองวันแรงงานที่ MyFest แทน ทำไมกัน 

    MyFest เป็นรูปแบบการเฉลิมฉลองวันแรงงานเช่นกัน แต่เป็นในแบบที่พาลูกตัวน้อย และสัตว์เลี้ยงไปด้วยได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะโดนแก๊สน้ำตา และพุไฟเมื่อไหร่ นั้นทำให้ MyFest ถูกพูดถึงกว่าวัน Mayday ในปัจุบัน ที่ไร้ความรุนแรง และจัดใน Berlin – Kreuzburg ผู้คน วัยรุ่น เด็ก คนไร้บ้าน ผู้หลี้ภัย แทบจะทุกคนในเบอร์ลิน ไปรวมตัวที่สวนสาธารณะและใช้เวลาร่วมกัน

    Görlitzer Park by Jack Wolf
    Credit : myfest celebration on labor day in Berlin, Kreuzberg
    Berlin, Germany – May 01, 2019: Crowd of people and police women at entrance to myfest celebration on labor day in Berlin, Kreuzberg

    เพราะเรา ( 99 %) คือคนทำงาน

    “มีมนุษย์เมื่อไหร่ ก็มีการใช้แรงงานทันที” – ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา

    เมื่อตัดผ่านเข้าสู่ประวัติศาสตร์ไทย งานศึกษากล่าวว่า การปฏิบัติการอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475 ถือเป็นวันนัดหยุดงานสไตร์สครั้งแรกที่เกิดขึ้น พร้อมพลิกโฉมของประวัติศาสตร์ไทยอย่างสิ้นเชิง เปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย โดยให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ คณะราษฎร ปลุกผู้คนให้ตื่นตัว และให้ความสำคัญถึง เรื่อง สิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียม 

    ที่มา : บันทึก 6 ตุลา 

    ขบวนการเคลื่อนไหวยุคแรก ๆ ที่สำคัญมาก ในห้วงเวลาที่รัฐไทยพยายามต่อสู้กับความยากจน สู่เศรษฐกิจกิจใหม่ที่ดีกว่า ผ่านนโยบายมุ่งส่งเสริมการลงทุน การปกครองแบบเผด็จการของรัฐบาล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ การกดขี่ระหว่างชนขั้นก็ค่อย ๆ แตกร้าวและสั่นคลอนรุนแรง กรรมกรถูกขูดรีดอย่างหนัก เพื่อหล่อเลี้ยงระบบนิเวศในประเทศให้ไหลไป คล้ายกับหยาดเหงื่อของพวกเขา  ไม่มีหลักประกัน ไม่มีสวัสดิการ ขบวนการแรงงานไทยจึงมีบทบาทอย่างเข้มข้นในข่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 จนถึงก่อนรัฐประหาร 6 ตุลา 2519 การนัดหยุดงานของกรรมกร เพื่อเรียกร้องค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนรัฐบาลเริ่มใช้นโยบายผ่อนปรนบางประการ อย่าง การออกกฎกระทรวงมหาดไทยวันที่ 16 เมษายน 2515 ที่ประกาศใช้ค่าจ้างขั้นต่ำครั้งแรก ให้ค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 12 บาทต่อวัน แต่ 4 ปีให้หลัง รัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ จากเดิมที่ แรงงาน 1 คน ควรจะได้รับค่าจ้างที่ดูแลครอบครัวได้ด้วย 3 คน เปลี่ยนเป็นครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพของแรงงานเพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการสากลขององค์กรระหว่างประเทศ และต่อมา ปี 2536 เหตุการณ์ที่นับว่าเป็นความสำเร็จในการต่อสู้ของแรงงานไทย นั้นคือ การต่อสู้เรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดสิทธิการลาคลอด 90 วัน ของกรรมกรหญิง 

    WE’RE THE 99 % 

    กล่าวถึง พวกเรา 99 % ไม่ยอมจำนนต่อการขูดรีดของคน 1% 

    ตัวเลขจากงานวิจัย Credit Suisse Global Wealth Data Book ให้ข้อมูลกับเราว่า ‘ประชากรที่รวยที่สุดร้อยละ 1 มีความมั่งคั่งเฉลี่ย 33 ล้านบาทต่อคน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของประชากรที่จนที่สุดร้อยละ 20 ถึง 2,500 เท่า…’ 

    สืบค้นข้อมูลจาก : global wealth report 

    การเกิดขึ้นของ WE’RE THE 99% จึงกลายเป็นพลังที่สำคัญมากของคนทำงาน ที่เห็นคนทำงานเป็นคนเท่ากัน และสังคมไทยไม่ได้อนุญาตให้พวกเราเท่ากันได้ขนาดนั้น อย่าง แรงงานข้ามชาติ แรงงานนอกระบบ  หรือการทำงานที่แม้กระทั่งตัวคนทำงานเองก็ไม่รู้ว่ากำลังทำงานอยู่ อย่างงานอาสาสมัคร จิตอาสา หรือนักศึกษาฝึกงาน ไม่ได้รับค่าจ้าง แต่ก็ต้องทำงานเหมือนกัน 

    การเกิดขึ้นของสหภาพแรงงาน ต่อสู้เพื่ออยากเห็นประชาธิปไตยในที่ทำงาน สร้างความเป็นเอกภาพของคนทำงานทุกทั่วทิศ และเรียกร้องปัญหาปากท้อง เศรษฐกิจ ค่าจ้างเป็นธรรมและสวัสดิการคนทำงาน พร้อมกับผลักดันการเมืองภาพใหญ่

    ที่มา : สหภาพคนทำงาน 

    อย่าง สหภาพคนทำงาน Workers’ Union, CUT สหภาพแรงงานสร้างสรรค์, Nurses Connect, สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน, สหภาพแรงงานบาริสต้า เชียงใหม่, สหภาพไรเดอร์ – Freedom Rider Union การรวมตัวกันของคนทำงานภายใต้คำว่า “สหภาพ” เป็นนัยยะที่หมายถึงการต่อสู้แบบรวมหมู่ เพราะ 99% ปัญหาเป็นของเราทุกคน ไม่ว่าเราจะทำงานเพื่ออะไรอยู่ เพื่ออุดมการณ์ ความฝัน คนที่รัก หรือแมวส้มที่นอนรออยู่บ้าน เราทุกคน (99%) ต่างเป็นผลพวงจากระบบ 


    เกี่ยวกับผู้เขียน  
    ปภาวิน พุทธวรรณะ โดยผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนานักสื่อสารทางสังคม (Journer) ภายใต้โครงการ Journalism that Builds Bridges (JBB) สะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง 5 สำนักข่าว คือ Prachatai, The Isaan Record, Lanner, Wartani และ Louder เพื่อร่วมผลิตเนื้อหาข้ามพื้นที่ และสื่อสารประเด็นข้ามพรมแดน สนับสนุนโดยสถานทูตของเนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และนิวซีแลนด์ รวมถึงยูเนสโกและโครงการร่วมที่นำโดย United Nations Development Programme (UNDP) ดูโครงการเพิ่มเติมได้ที่ https://journalismbridges.com

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...