เมษายน 20, 2024

    เมื่อสังคมโลก เรียกร้องการแยกขยะ จากพวกเราทุกคน

    Share

    เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการจัดการเสวนาในข้อหัว “เมื่อสังคมโลก เรียกร้องการแยกขยะ จากพวกเราทุกคน” โดยมี เปรม พฤกษ์ทยานนท์ จากเฟซบุ๊กเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป” เป็นผู้นำการเสวนา ณ Yorice Cafe จังหวัดเชียงใหม่ 



    ภายในการเสวนา เปรม พฤกษ์ทยานนท์ ร่วมแบ่งปันความคิดเห็นในประเด็นและความรู้ในการแยกขยะ เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิต และสังคมให้ดีขึ้น โดย เปรม เริ่มบอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นและแนวคิดของตนในการแยกขยะ ซึ่งเริ่มมาจากการที่ เปรม อยากปรับเปลี่ยนธุรกิจรีไซเคิลอย่างร้านของเก่าหรือร้านรับซื้อของเก่า ที่มีจำนวนมากอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่ช่วยบำรุงสิ่งแวดล้อมได้โดยการลดจำนวนขยะ ให้เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น นำไปสู่การก่อตั้งแฟนเพจ “ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป” เพื่อใช้เป็นพื้นที่สื่อสารในประเด็นดังกล่าว

    ประเด็นการแยกขยะถูกตั้งคำถามง่ายๆอย่างหนึ่งมาเป็นเวลานานแล้ว นั่นคือ “เราจะแยกขยะไปทำไม ในเมื่อขยะก็ไปกองรวมกันอยู่ดี” โดย เปรม ยอมรับว่านั่นเป็นข้อเท็จจริงที่ทุกคนเห็น ซึ่งตนเชื่อว่าเป็นปัญหาของระบบการจัดเก็บและคัดแยกขยะ ที่ขาดความสอดคล้องกัน ที่ถึงแม้พวกเราจะคัดแยกขยะ แต่ท้ายที่สุดขยะก็ถูกนำไปเก็บรวมกันอยู่ดีในระบบการจัดเก็บขยะ ทำให้เกิดความเคยชินที่จะไม่คัดแยกขยะ แต่ทางเลือกในการนำขยะออกจากบ้านยังมีตัวเลือกอื่นๆนอกจากการนำเข้าระบบจัดเก็บโดยเทศบาล อย่างการเอาไปขายที่ร้านรับซื้อของเก่า หรือรถซาเล้งรับซื้อขยะ ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ทำให้ขยะไม่ถูกในไปรวมกัน แต่ทางเลือกดังกล่าวก็เข้าถึงได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับการนำเข้าระบบจัดเก็บของเทศบาล

    เปรม ยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการผลิต ที่มีผลกระทบต่อการจัดการขยะ โดย เปรม มองว่าในกระบวนการผลิตส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพระหว่างใช้งาน แต่ไม่ได้คำนึงถึงการจัดการเมื่อสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นขยะมากนัก เกิดเป็นปัญหาการจัดการขยะในภายหลัง ซึ่งความซับซ้อนของเทคโนโลยีการผลิตที่ไม่ได้คำนึงถึงจุดนี้ ก็จะทำให้การจัดการขยะยิ่งซับซ้อนตาม 

    สามารถติดตามเนื้อหาการเสวนาเพิ่มเติมได้ที่

    https://www.facebook.com/Prachatai/videos/1230175944380319

    Related

    สงกรานต์เมียนมาในวันที่ดอกประดู่ไม่บาน

    เรื่อง: Lanner Burmaภาพ: วิศรุต แสนคำ /  ฮวาน (ไม่ใช่ชื่อจริง) /...

    ฝุ่นพิษข้ามแดนในห้วงยามที่ “ทุน” สยายปีก

    เรื่อง: กองบรรณาธิการ การเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจทุนนิยมในนามของเสรีนิยมใหม่ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำให้เอกชนเกิดแรงจูงใจเพื่อจะสามารถเข้าสู่การแข่งขันได้อย่างเสรีโดยปราศจากการผูกขาดโดยรัฐ จนเมื่อมีการเปิดให้ทุนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี จึงนำไปสู่ปัญหาการย้ายถิ่นฐานของธุรกิจเพื่อหลีกเลี่ยงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมหาศาล หนึ่งในปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ คือ “ปัญหาหมอกควัน”...