พฤษภาคม 6, 2024

    “กระท่อมทุ่งเสี้ยว”

    Share

    21 สิงหาคม 2565

    บทกวีโดย ผการัมย์ งามธันวา​

    ภาพ: ประชาไท​

    บทกวีของชายหนุ่ม​
    สวมกอด บรรยากาศแปลก​
    อักษร สงบเสงี่ยม เจียมเสียง​
    ใต้โคนมะขาม กลางทุ่ง​
    กิ่ง ก้าน ใบ เติบโต​
    สู่วันขยาย ทับถม รอสลาย​
    ไปกับบทกวี สละสลวย​
    ในกระดาษ​

    “เหมือนดั่งดอกหญ้า”​
    บทกวีเกาะกุมกินใจ คนแสวงหา​
    เหนือความสูงชัน เงียบงันอรรถรส​
    รูปประโยค บรรเจิดไสว​
    กลางทุ่งดอกไม้สีน้ำตาล​
    ประดับโลก ข้ามห้วงเวลาแสนสั้น​
    แมงวาย ปลิวกระจาย​
    กลางเวิ้งทุ่งสันป่าตอง​

    บทกวีของชายหนุ่ม​
    ผู้ผ่าน มาและไป ตามทาง​
    แห่งความถนอม ครองตัว​
    โลกอุดมไปด้วยความซาบซึ้ง​
    หมุนตามแรงระทม สมสุข​
    เหวี่ยงบางทุ่งเสี้ยวกาลเวลา​
    เป็นไปอย่างพิศวง​

    21 สิงหาคม 2565 ครบรอบ 8 ปี การจากไปของ “ถนอม ไชยวงษ์แก้ว” นักเขียนแห่งกระท่อมทุ่งเสี้ยว​

    ถนอม ไชยวงษ์แก้ว เป็นกวี นักเขียน และนักดนตรี ผลงานสำคัญที่ได้รับรางวัลชมเชยจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ได้แก่ “ความอาดูรสูญสิ้น” (2527) และ “เหมือนดังดอกหญ้า” (2528) เมื่อปี 2552 สำนักวัฒนธรรมอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เคยยกย่องประกาศเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินดีเด่น สาขาวรรณศิลป์ ด้านกวีนิพนธ์ ​ โดยในปีเดียวกันยังได้รับประกาศเกียรติเป็นนักกลอนตัวอย่าง จากสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ​

    Related

    ชิวๆ กับความไม่แน่นอน: อารมณ์สายมูกับระบอบเวลาที่ยืดหยุ่น

    เรื่อง: ณีรนุช แมลงภู่* ในยุคสมัยที่การดิ้นรนทำมาหากินเพื่อให้อยู่รอดภายใต้เศรษฐกิจที่ผันผวนและอากาศแบบละติจูดเดียวกับ ‘สวรรค์’ เป็นประสบการณ์สามัญของคนทั่วไป เคยสงสัยไหมว่าทำไมเพื่อน ‘สายมู’ ของเราถึงยังมีเวลาไปกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพระดังทั่วไทย สวมชุดขาวร่วมพิธีกกรรมเสริมแต้มบุญ...

    โทษทีพี่ ‘ติด’ งาน

    เรื่อง: การัณยภาส ภู่ยงยุทธ์*  คุณติดโซเชียลมีเดียหรือไม่ หากคำถามนี้เกิดขึ้นก่อนปี 2009 ซึ่งเป็นปีที่เฟซบุ๊กนำปุ่มกดถูกใจมาใช้งาน คนส่วนใหญ่จะตอบปฏิเสธ หรือไม่ก็บอกว่าตัวเองก็แค่ชอบเล่นโซเชียลมีเดีย แต่ไม่ถึงกับขั้น “เสพติด”...

    ชีวิตบนเส้นด้ายของเกษตรกรหลังบ้านอีอีซี

    เรื่อง: กัมปนาท เบ็ญจนาวี เกษตรกรหลังบ้านอีอีซีส่วนใหญ่ถูกจำกัดในการเข้าถึงทรัพยากรและอำนาจหลังการปิดล้อมใหม่ โดยเฉพาะการขาดการเข้าถึงที่ดิน ทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงอำนาจในการมีส่วนร่วมกำหนดภูมิทัศน์การพัฒนาในท้องถิ่น ทำให้เกษตรกรมีเงื่อนไขที่จำกัดในการคาดเดาและกำหนดอนาคตของตนเอง จนนำไปสู่การก่อตัวขึ้นของสถานการณ์ความขัดแย้งและความแตกต่างทางสังคม มากกว่าจะเป็นผลลัพธ์ที่นำไปสู่การกระจายผลประโยชน์แก่ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม...