พฤษภาคม 18, 2024

    WE! walk Maekha น้ำแม่ข่าในมุมที่ต่างออกไป

    Share

    30 มกราคม 2566


    29 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา We! Park, JaiBaan Studio, กลุ่ม Imagine Maekha, บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด, ภาคีภาคประชาสังคมเชียงใหม่ , สถาบันการศึกษา และตัวแทนชุมชน จัดกิจกรรม WE! walk Maekha กิจกรรมเดินสำรวจคลองแม่ข่า เพื่อทำความเข้าใจของคลองแม่ข่าในหลากหลายมิติ วิถีชีวิตชุมชนรอบคลองแม่ข่า การพัฒนาเมือง เศรษฐกิจ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ตั้งแต่ ลานจอดรถ ถ.อัษฏาธร สี่แยกจริงใจมาร์เก็ต ไปจนถึงสวนกาญจนาภิเษก

    ในกิจกรรมเริ่มต้นเดินตั้งแต่ ลานจอดรถถนนอัษฏาธร สี่แยกจริงใจมาร์เก็ต ลัดเลาะคลองแม่ข่าตั้งแต่สะพานอัษฎาธร วัดไชยศรีภูมิ ชุมชนช้างม่อย วัดเเสนฝาง ร้านชารมิงค์ ถนนท่าเเพ สะพานศรีดอนไชย สวนผักคนเมืองเชียงใหม่ สะพานเเม่ข่าระแกง ชุมชนระเเกง ชุมชนกำแพงงาม ชุมชนหัวฝาย ชุมชนห้าธันวา ชุมชนศรีปิงเมือง ชุมชนทิพย์เนตร ป้อมมะอ๊อก กำแพงดิน ไปจนถึงสวนกาญจนาภิเษก ระยะทางรวมกว่า 9 กิโลเมตร


    มีการแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วมใน 4 ประเด็น คือ สิ่งแวดล้อม การจัดการน้ำเสีย การจัดการที่อยู่อาศัยของชุมชนเรียบคลอง และโอกาสด้านเศรษฐกิจ โดยมีทั้งการเสนอแนวทางการจัดการและสิ่งที่ผู้เข้าร่วมพบเห็น ในด้านสิ่งแวดล้อมมีการซ้อนทับกันในหลายมิติทั้ง การจัดการน้ำ ทั้งด้านน้ำเสียและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ในด้านการจัดการที่อยู่อาศัย ที่ชุมชนยังต้องการใช้ชีวิตในสถานที่ และที่อยู่อาศัยมีความแออัด  การจัดการด้านน้ำเสียยังขาดการจัดการในหลากหลายเรื่องที่ยังไม่ได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการทำงานทับซ่อนกันหลายหน่วยงาน  การพัฒนามองข้ามวิถีชีวิตชุมชน และมองว่าพื้นที่รอบคลองแม่ข่าสามารถสร้างเป็นพื้นที่เศรษฐกิจได้ถ้าหากมีการจัดการที่ดี

    โดยตลอดการเดิน มีการรับฟังเสียงของแกนนำชาวบ้าน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เรียบคลองแม่ข่าและ บริเวณกำแพงดิน ซึ่งแต่ละชุมชนมีปัญหาหลากหลายมิติและไม่เหมือนกัน เนื่องจากการพัฒนาที่แยกส่วนร่วมไปถึงบริบทพื้นที่และชุมชนที่แตกต่างกัน อาทิ ชุมชนระเเกง ที่มีปัญหาขยะและอคติเรื่องน้ำเสียต่อชุมชน ชุมชนหัวฝายมีปัญหาเรื่องการพัฒนาที่รวดเร็วจนเกินไปทำให้ชาวบ้านปรับตัวไม่ทัน ชุมชนลำคูไหวที่มีปัญหาน้ำท่วมทุกปีเนื่องจากเป็นที่รับน้ำของเมืองฝั่งตะวันตก ชุมชน 5 ธันวา ที่มีปัญหาด้านขยะ และหลากหลายชุมชนที่มีปัญหาเรื่องการไล่รื้อที่ดินจากภาครัฐ

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...