เมษายน 27, 2024

    ชวนอ่านเงี้ยวเมืองแพร่ ‘กบฏหรือวีรบุรุษ’ ประวัติศาสตร์ของความย้อนแย้ง เนื่องในวาระครอบรอบ 120 ปี กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ พ.ศ.2445 ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคมเป็นต้นไป​

    Share

    24/07/2022

    วาระของการรื้อฟื้นประวัติศาสตร์การลุกขึ้นต่อสู้ในฐานะเมืองที่ก่อกบฏต่อต้านอำนาจรัฐที่พยายามรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง Lanner ได้รับเกียรติจาก ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เขียนหนังสือ กบฏเงี้ยว การเมืองของความทรงจำ ประวัติศาสตร์ขบวนการเคลื่อนไหวของ “คนล้านนา” หนังสือที่พยายามอธิบายวิธีวิทยาในการสร้างประวัติศาสตร์ ​ โดยเจาะไปที่เรื่องของกบฏเงี้ยว ในการรับรู้แบบที่รัฐไทยอยากให้รู้ ​ โดยหนังสือเล่มนี้พยายามอธิบายความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับบ้านเมืองในพื้นที่ต่างๆ กับชาติไทยในบริบทต่างๆ อันนำมาสู่การสร้างภาพลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ ดังเช่นการรับรู้เรื่องกบฏเงี้ยวที่รัฐไทยสร้างภาพความทรงจำว่า กบฏเงี้ยวยึดเมืองแพร่ โดย ดร.ชัยพงษ์ สำเนียง ได้ปรับเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือและและบทความพิริยวงศ์อวตาร: ‘วีรบุรุษ’ ‘กบฏ’ การประดิษฐ์สร้างตัวตนใหม่ทางประวัติศาสตร์. ​ ศิลปวัฒนธรรม ​ ปีที่ 34 ฉบับที่ 9 (ก.ค. 2556) หน้า 114-129 และเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมดเป็นบทความวิชาการขนาดยาวในชื่อ ​ “เงี้ยวเมืองแพร่ ‘กบฏหรือวีรบุรุษ’ ประวัติศาสตร์ของความย้อนแย้ง”​

    การศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อที่ตอบ ‘ปัญหาของอดีต’ หรือ ‘ปัจจุบัน’ ว่าเราอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร และ ‘การไม่รู้อดีตของตนจึงเป็นความเจ็บปวด เพราะการไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร ทำให้ไม่รู้ว่าปัจจุบันว่าจะอยู่อย่างไร และไม่อาจก้าวสู้อนาคตได้อย่างไร’ วิชาประวัติศาสตร์ในอดีตเราพยายามศึกษา ‘ประวัติศาสตร์จริงๆ อย่างที่เราเป็น’ ​ แต่ในที่สุดเราก็พบว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ย่อมมี ‘อคติ’ ‘ตัวตน’ ‘ภูมิปัญญา’ ‘บริบท’ ของคนศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับมิติที่ซับซ้อน ซ่อนเงื่อนปมประวัติศาสตร์ในหลายแง่มุมไม่มีความลงตัวนำมาสู่ความย้อนแย้ง ทำให้เกิดการตีความประวัติศาสตร์ชุดนั้นๆ ใหม่อย่างไม่สิ้นสุด อาทิเช่น ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ภายหลังทศวรรษที่ 2540 ​ ถือว่าเป็นยุคแห่งการ “ผลิตสร้าง” ภายใต้ “โครงเรื่อง” (plot) ที่หลากหลาย การสร้างประวัติศาสตร์เมืองแพร่ถูกผลิตสร้างภายใต้กระแสประวัติศาสตร์สามกระแส

    กระแสที่หนึ่ง ประวัติศาสตร์ชาตินิยมที่ถือเอา “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์” เป็นแกนในการอธิบายประวัติศาสตร์

    กระแสที่สอง ประวัติศาสตร์แบบท้องถิ่นนิยม ที่เน้นการอธิบายประวัติศาสตร์บนฐานของท้องถิ่น ​ และบางครั้งกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่นิยมท้องถิ่นจนสุดขั้ว และกระแสสุดท้ายเป็นประวัติศาสตร์ “พันทาง” ที่เป็นการผสมระหว่างกระแสประวัติศาสตร์ชาติ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนิยม ในที่นี้ขอเรียกว่า “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชาตินิยม”ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปรสำนึกทางประวัติศาสตร์ ที่สังคมการเมืองเปิดกว้างให้แก่การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากขึ้น นำมาสู่การสร้างและการรับรู้ประวัติศาสตร์เมืองแพร่จากคนหลากหลายกลุ่ม และมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์ที่เหมือนและแตกต่างกันของคนหลายกลุ่ม ทำให้โครงเรื่องประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่ไม่มีประวัติศาสตร์ชุดใดเป็นประวัติศาสตร์กระแสหลัก แต่ประวัติศาสตร์เมืองแพร่มีความเลื่อนไหลเปลี่ยนแปร ทำให้คนกลุ่มต่างๆในเมืองแพร่มี “ตัวตน” ภายใต้ประวัติศาสตร์ที่ตนผลิตสร้าง และทำให้ประวัติศาสตร์เป็นเวทีของการต่อสู้แย่งชิงการให้ความหมาย หมุดหมายของประวัติศาสตร์เมืองแพร่จึงมีการปักถอนอยู่ตลอดเวลา ​ ประวัติศาสตร์เมืองแพร่จึงมิได้อยู่ในฐานะชุดความรู้ที่ “ครอบงำ” แต่ในทางตรงกันข้ามประวัติศาสตร์หลากหลายชุด ภายใต้การผลิตสร้างในเงื่อนไขต่างๆนำมาสู่การ “ปลดปล่อย” คนเมืองแพร่ ให้ทุกกลุ่มมีที่ยืนใน “ประวัติศาสตร์เมืองแพร่” ​

    บทความนี้จึงเสนอการอธิบายประวัติสาสตร์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ ที่พรมแดนการรับรู้ทางประวัติศาสตร์มีการปักถอน และมีพลวัตภายใต้เงื่อนไขที่ซับซ้อนโดยแบ่งการนำเสนออกเป็นหัวข้อดังนี้
    1. กระแสประวัติศาสตร์กับการประดิษฐ์สร้างตัวตนใหม่
    2. กบฏเงี้ยวเมืองแพร่มายาภาพประวัติศาสตร์ชาติและความทรงจำของคนใน
    3. กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ : การปะทะของความทรงจำระหว่างประวัติศาสตร์ชาติและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
    4. โครงเรื่องประวัติศาสตร์กระแสท้องถิ่นชาตินิยม : ตราประทับความเป็น “กบฏ” ที่ต้องการปลดปล่อย​

    เขียนและเรียบเรียง : ชัยพงษ์ ​ สำเนียง อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร​

    #กบฏเงี้ยว​
    #Lanner

    Related

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...