21/06/2022
นอ เกอะญอพอ เครือข่ายผู้หญิงกะเหรี่ยง (Karen Women Organization) เสนอว่ารัฐไทยควรอนุญาตหรือมีนโยบายที่ให้ผู้ลี้ภัยได้สามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย พวกเขาต้องการความปลอดภัยและพื้นที่ที่ปลอดภัย และพวกเขาต้องการให้รัฐอนุญาตให้พวกเขาสามารถย้ายเมื่อมีภัยสงครามได้ เพราะส่วนใหญ่ IDPs ต้องการที่จะกลับคืนสู่ถิ่นฐาน หากสงครามสงบลง อยากให้กระบวนการในช่วยเหลือนั้นไม่ล่าช้าและมีประสิทธิภาพ หากยังไม่แก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ คาดว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของคนที่ลี้ภัยเข้ามาก็จะมากขึ้น ปัญหาก็จะมากขึ้น
Nei Neh Plo เครือข่ายคาเรนนี (Coordinating Team for Emergency Relief) กล่าวว่า เห็นได้ว่าสถานการณ์การย้ายมาในที่อื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น รัฐกะเหรี่ยงเป็นพื้นที่ที่ใกล้กับการข้ามดินแดน จึงเกิดปัญหาในเรื่องการช่วยเหลือทั้งด้านอาหารและพื้นที่ที่ปลอดภัยมาก จำนวนคนที่ลี้ภัยมาตอนนี้ประมาณ 2,700 คนที่ข้ามมาในรัฐกะเหรี่ยง ความจำเป็นในการช่วยเหลือเรื่องนี้คือควรจะสร้างความเข้าใจแบบพื้นฐานกับเรื่องนี้ และร่วมกันแก้ไขปัญหา เนื่องจากเป็นเรื่องที่ซับซ้อน อยากให้สังคมไทยเข้าใจว่าทำไมเขาจึงต้องเข้ามาในประเทศไทย ช่วยเหลือเบื้องต้นทางมนุษยธรรมตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล
ความเห็นในวงเสนอว่า เราควร reconisze ปัญหาเรื่องนี้ และตั้งคำถามกับนโยบายหรือกฎหมายที่กีดกันความช่วยเหลือให้กับผู้ลี้ภัย รวมถึงให้หน่วยงานท้องถิ่นได้รับรู้สถานการณ์นี้และร่วมกับช่วยเหลือ เราจะทำอย่างไรในการออกแบบยุทธศาสตร์เพื่อประสานและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
มากกว่านั้นความเห็นในวงคือการเรียกร้องให้เกิดเสรีภาพในการสื่อสาร รัฐไทยไม่ควรเซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพม่าและชายแดนไทย และเสนอว่าให้มีองค์กรรัฐในระดับกรมจัดการดูแลเรื่องนี้
มีการตั้งคำถามต่อว่านโยบายที่ออกมาจากข้อมูลที่ผิดพลาดรึปล่าว เหมือนลักษณะของงูกินหาง ระยะเวลาหนึ่งปีกว่า ๆ ที่ผ่านมา เรามี bad joke หนึ่งคือการที่เรามานั่งหารือกับคนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย มองว่าอาจจะต้องเปลี่ยนรัฐบาลก่อนจึงค่อยเปลี่ยนนโยบาย
และเสนอว่าควรมีศูนย์รวมข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ประเมินกลุ่มเป้าหมายให้ตรง เสนอโมเดลแม่ฮ่องสอนและความกล้าหาญของการจัดการท้องถิ่น
สมชาย ปรีชาศิลปกุล สรุปวงเสวนาในวันนี้ว่า เราอยากเห็นสังคมไทยแบบไหน เราพูดถึงมาตรการ แนวทางในการรับมือกับสถานการณ์แบบนี้ เช่น การกำหนดพื้นที่ปลอดภัย การจำแนกสถานะบุคคลของคนที่ข้ามแดนมา การให้ความช่วยเหลือในระดับพื้นที่ การทำงานที่สร้างการมีส่วนร่วม
เราเห็นการทำงานบางอย่างเกิดขึ้นได้ หน่วยงานของรัฐในระดับพื้นที่ ชุมชน แต่ว่าส่วนที่ทำงานได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าอำนาจรัฐเป็นอุปสรรคในการทำงาน ภายใต้รัฐไทยปัจจุบันที่มีอำนาจนำในเรื่องความมั่นคง
เราเห็นความเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ เรื่องในสังคมไทย เช่น การสมรสเท่าเทียม กระแสการรณรงค์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ จังหวัด คือมันกำลังสะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงที่มันจะเกิดขึ้น เราต้องเขี่ยเรื่องนี้ไปสู่สาธารณะมากขึ้น คิดว่าสังคมเห็นความสำคัญในการช่วยเหลือด้วยหลักการสิทธิมนุษยชน
หากเรามีรัฐบาลที่ไม่ได้เป็นไปตามปัจจุบัน น่าจะเกิดนโยบายชายแดนที่แตกต่างกว่าปัจจุบัน มองในแง่นี้ มองว่าสังคมไทยในช่วงข้างหน้า เรากำลังเดินหน้าไปสู่สังคมไทยที่ดีขึ้น สุดท้ายแล้ว นโยบายต้องเปิดรับให้คนเข้ามาสู่ในสังคมต้องเริ่มต้นพูดถึง นโยบายชายแดน นโยบายเพื่อนบ้าน เป็นสิ่งที่ต้องทบทวนมากขึ้น
กิจกรรมท้ายสุด ผู้เข้าร่วมรับชมการแสดง performance art จากศิลปินทวาย ณ ลานนิทรรศการภาพวาด
เรื่อง: กนกพร จันทร์พลอย
ภาพ: ปรัชญา ไชยแก้ว
#วันผู้ลี้ภัยโลก
#Lanner