เมษายน 27, 2024

    7 ข้อโต้แย้งประเด็นข้อเสนอบริษัทฯ ตามหลักกฎหมาย หลัง บริษัทฯยื่นข้อเสนอให้กับชาวบ้านกะเบอดินอีกครั้ง​

    Share

    10/06/2022

    เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 บริษัทฯ ได้ยื่นขอเสนอให้กับชาวบ้านกะเบอดินอีกครั้ง หลังกรณีชาวบ้านกะเบอะดินและชาวอมก๋อย 600 กว่าคน ฟ้องศาลปกครองเชียงใหม่เพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA คดีหมายเลขดำที่ 1/2565​

    บทสนทนาของบริษัทฯ และผู้นำท้องที่ท้องถิ่นท่านหนึ่ง​
    – จะนำอีไอเอมาปรับปรุงใหม่โดยให้มหาวิทยาลัยนเรศวรทำและลงพื้นที่จริงทุกขั้นตอนให้ชุมชนได้รับรู้และมีส่วนร่วม​
    – จะขออนุญาตหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมป่าไม้ในการขนส่งเส้นทางใหม่ที่ไม่กระทบต่อชุมชนทางผ่าน ​
    – ระหว่างที่ขุดเหมืองจะแบ่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย 15% ในการบริหารจัดสรรงบประมาณในพื้นที่อื่น และให้ชุมชนกะเบอะดิน 10% เป็นกองทุนหมู่บ้าน​
    – หลังจากทำเหมืองเสร็จ คาดว่าจะใช้เวลา 5 ปีในการทำ เสร็จแล้วจะฟื้นฟู ทำบ่อกักเก็บน้ำ ทำรีสอร์ต สถานที่ท่องเที่ยว ฯลฯ ปลูกผักออร์เกนิค ผักอินทรีย์เพื่อสุขภาพของชุมชน​
    – จะพบปะหารือกับเยาวชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อให้รับทราบข้อเสนอทั้งหมด (เขาไม่ได้ผิดที่ออกมาคัดค้าน)​
    – ตอนนี้ทางบริษัทฯ เสียเงินไปมากแล้ว กว่า 20 ปีที่ตั้งใจจะสร้าง และฟ้องอุตสาหกรรม 3 ปี ยังไม่มีวี่แววอะไร ตอนนี้ต้องการได้ใบประทานบัตร เพื่อจัดกระบวนการและขั้นตอนต่อไป ​
    .​
    ข้อเสนอต่าง ๆ ที่ทางบริษัทเสนอมาชาวบ้านกะเบอะดินและชุมชนทางผ่านไม่ได้ต้องการ เพราะที่มีอยู่ทุกวันนี้ดีอยู่แล้ว เช่น วิถีชีวิต วัฒนธรรม ที่ดินทำกิน ยังยืนยันที่จะรักษาทรัพยากรที่ดินทำกินต่อไป​

    และเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ทางเพจ กะเบอะดิน ดินแดนมหัศจรรย์ ได้รายงานความคืบหน้าอีกครั้งดังนี้ 7 ข้อโต้แย้งประเด็นข้อเสนอบริษัทฯ ตามหลักกฏหมาย โดยทีมทนายความ​

    1.อีไอเอจะทำใหม่ต้องถอนหรือขอยกเลิกอีไอเอเดิมจาก สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)​

    2.หลังจากถอนอีไอเอแล้วต้องให้ สผ.และกพร.มีคำสั่งให้อนุญาตก่อน​

    3.การขอกรมป่าไม้เปลี่ยนเส้นทางขนส่ง จะต้องขอถอนคำขออนุญาตเดิม และเริ่มทำการขออนุญาตใหม่ ทำประชาคมใหม่ ขอมติสภาอบต.ใหม่​

    4.การแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้อบต. และชุมชน แบ่งจากรายได้ หรือกำไร หรือแบ่งจากมูลค่าของถ่านหิน มีอะไรเป็นหลักประกันในการแบ่งรายได้​

    5.เยาวชนเป็นส่วนหนึ่งการคัดค้าน ยังมีผู้ฟ้องคดีอีก 50 คน ผู้สนับสนุน 600 คน ไม่ว่ายังไงก็ต้องฟังเสียงของทุกคน​

    6.คดีปกครองไม่มีจำเลย มีแต่ผู้ถูกฟ้องคดี และเราไม่ได้ฟ้องบริษัทฯ แต่ศาลเรียกให้บริษัทเข้ามาเป็นผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกับหน่วยงานรัฐ เป็นคำสั่งของศาล​

    7.ผู้ที่มีความสำคัญที่สุดในการต่อสู้ครั้งนี้คือชาวบ้านทุกคน ถ้าไม่มีชาวบ้านก็ไม่มีการต่อสู้ เราคงเดินมาถึงวันนี้ไม่ได้​

    ความถูกต้องและแม่นยำที่สุดคือหลักความเป็นจริงตามกฎหมาย มิใช่ข้อเสนอที่เป็นเท็จเพียงเพราะต้องการถ่านหินการต่อสู้ครั้งนี้ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชนและชาวอมก๋อยทุกคน เชื่อมั่นพลังมวลชน จุดยืนเดียวของพวกเราคือ “ยุติเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย”​
    ภาพ: วรรณา แต้มทอง

    #กะเบอะดินดินแดนมหัศจรรย์​
    #ไม่เอาเหมืองแร่ถ่านหินอมก๋อย​
    #SaveOmkoi​
    #NoCoalMine​
    #แมแฮแบ​
    #Lanner

    Related

    อยู่-ระหว่าง-เหนือล่าง : เหนือล่างกับประวัติศาสตร์การเคลื่อนย้าย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย ภูมิภาคเหนือตอนล่างคือพื้นที่ระหว่างภาคกลาง (กล่าวโดยนัยคือกรุงเทพฯ) กับภาคเหนือ ภายใต้ประพัฒนาการของรัฐไทยที่เริ่มต้นในช่วงรัชการที่ 5 มาจนถึงตอนนี้ ภูมิภาคเหนือตอนล่างถูกละเลยไปจากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ไปจนหาความต่อเนื่องได้ยาก...

    ล้านนาบ่แม่นก้าคนเมือง : สังคมพหุวัฒนธรรมในล้านนา

    เมื่อวันจันทร์ ที่ 4 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักข่าว Lanner ร่วมกับภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา...

    จันเสนก่อนตาคลี เมืองโบราณที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก?

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน บริเวณภาคเหนือตอนล่างหรือกลางตอนบนในปัจจุบันมีแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกถึง 4) แห่ง ได้แก่ 1) อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย...
    บทความก่อนหน้านี้
    บทความถัดไป