พฤษภาคม 17, 2024

    ช่วงปลายอยุธยา “พิษณุโลก” มีสถานะอย่างไร

    Share

    สถานะของหัวเมืองฝ่ายเหนือช่วงปลายสมัยอยุธยา นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้อธิบายถึงลักษณะของรัฐอยุธยาในช่วงปลายและอำนาจของหัวเมืองฝ่ายเหนือไว้ว่า ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ อยุธยาและกำแพงเพชรเป็นเมืองหลวงคู่กับพิษณุโลกเพราะอยุธยาได้แยกสุโขทัยออกเป็นเสี่ยง ๆ เจ้าเมืองทั้งสองมียศเป็นพระยาเท่ากันตามทำเนียบ ร่องรอยศักดิ์ศรีเมืองกำแพงเพชรตามที่เหลือให้เห็นในทำเนียบศักดินาทหารหัวเมืองได้เป็นตัวบ่งบอกว่าครั้งหนึ่งกำแพงเพชรเลยจัดอยู่ในฐานะทัดเทียมกับเมืองพิษณุโลก และแม้แต่ปลายสมัยอยุธยาเมืองกำแพงเพชรก็ยังมีศักดิ์ศรีสูงในสายตาของราชการอยุธยา[1]

    (ภาพ:  แผนที่ประวัติศาสตร์ไทยแสดงอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา)

    ช่วงสงครามและการเสียกรุงฯ บทบาทของเจ้าพระยาพิษณุโลกช่วงปลายสมัยหรือช่วงเสียกรุงฯ ที่ขณะนั้นเป็นการเมืองแบบชุมนุมอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) มีบทบาททางการเมืองในแถบหัวเมืองฝ่ายเหนือเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการที่พระเจ้ากรุงธนบุรีตัดสินพระทัยปราบชุมนุมของเจ้าพระยาพิษณุโลกก่อนชุมนุมอื่น แม้สามารถกุมกลไกการปกครองท้องถิ่นของราชการอาณาจักรอยุธยาไว้ได้ เพราะดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเอกที่มีศักดิ์มากกว่าหัวเมืองเหนือทุกเมืองแต่กลไกท้องถิ่นของอยุธยานั้นมีขีดจำกัด[2]

    จุดมุ่งหมายของการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคของอยุธยาคือ การวางมาตรการที่จะจำกัดอำนาจของเจ้าเมืองไว้ให้อยู่เฉพาะในเขตเมืองของตนเองความแตกต่างระหว่างหัวเมืองเอกและหัวเมืองโทแทบจะไม่เหลือให้เห็นมากนัก ยกเว้นแต่เกียรติยศที่ว่างเปล่าไร้ความหมาย สถานะนั้นไม่มีความหมายนอกเขตเมืองพิษณุโลก ในขณะที่เจ้าพระยาพิษณุโลกต้องการจะมีอำนาจเหนือหัวเมืองเหนือทั้งหมด จึงจำเป็นที่เจ้าพระยาพิษณุโลกต้องเปลี่ยนสถานะของตนเองมาเป็นพระมหากษัตริย์ โดยอาศัยตำแหน่งนี้เท่านั้นที่เจ้าพระยาพิษณุโลกจะมีความหมายต่อผู้นำท้องถิ่นสุโขทัย, สวรรคโลก, กำแพงเพชร, ตาก ได้ รายงานของบุคคลร่วมสมัยกล่าวว่าพระยาพิษณุโลกได้กรีธาพลใหญ่ไปรบกับพระครูสวางคบุรีถึง 3 ครั้ง ไม่ชนะไม่แพ้กัน ท้ายที่สุด “พระยาพิษณุโลกครองราชย์สมบัติ 6 เดือน พระชนมพรรษาได้ 49 ปี ก็สวรรคตไปตามยถากรรม”[3] 

    อ้างอิง

    • [1] นิธิ เอียวศรีวงศ์, การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (กรุงเทพฯ: มติชน,พิมพ์ครั้งที่14,2562) หน้า101-102.
    • [2] เรื่องเดียวกัน, หน้า150-151.
    • [3] เรื่องเดียวกัน, หน้า150-151.

    Related

    “ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต...

    ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

    เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่...

    อยู่-ระหว่าง-เหนือ-ล่าง: ทำไมผมต้องข้ามจังหวัด​เพื่อไปดูหนัง และจะเป็นไปได้ไหมที่ผมจะได้เห็นโรงหนังอิสระทั่วไทย

    เรื่อง: ปองภพ ดั่นสมานฉันท์ชัย รถยนต์​ก็​ยัง​ไม่มี​ รถเมล์ก็​มา​ไม่ถึง​ เป็นเนื้อเพลงท่อนหนึ่งจากเพลงสาวดอย 4x4 ที่ขับร้องโดยคาราบาว เล่าถึงความยากลำบากของชีวิตที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ผ่านการไม่มีรถส่วนตัวและไม่มีขนส่งสาธารณะ​ที่เข้าถึงได้ง่าย...