คำสำคัญ: คณะราษฎร

It’s not my revolution: เมื่อวรรณกรรม ‘แซะพาวเวอร์’ สะกดประวัติศาสตร์

เรื่องและภาพ: กองบรรณาธิการ ความเข้าใจการปฏิวัติ 2475 ไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต้องพิจารณาในแง่พลังทางภูมิปัญญาด้วย สิ่งที่เป็นตัวแทนทางภูมิปัญญาที่ชัดเจนที่สุดก็คือ ‘วรรณกรรม’ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2568 ณ Museum of Broken...

ละลานล้านนา: เมื่อล้านนากลายเป็นสยาม การเปลี่ยนผ่านแห่งอำนาจภายใต้เงาอภิวัฒน์ 2475

เรื่อง: ปวีณา หมู่อุบล ในช่วงปลายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สยามต้องเผชิญกับแรงกดดันจากจักรวรรดินิยมตะวันตกอย่างหนัก ความจำเป็นในการธำรงเอกราชของชาติท่ามกลางการแข่งขันของชาติมหาอำนาจ ทำให้ชนชั้นนำสยามในขณะนั้นต้องเร่งปรับตัว พวกเขาเลือกแนวทางปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางกับหัวเมืองประเทศราช เพื่อให้ดินแดนเหล่านั้นรวมศูนย์อยู่ภายใต้ราชอำนาจสยามอย่างแนบแน่นยิ่งขึ้น หนึ่งในดินแดนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ “ล้านนา” อดีตอาณาจักรอิสระที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและวัฒนธรรมเฉพาะตน แม้จะยอมรับสถานะเป็นประเทศราชของสยามมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่การปกครองล้านนาในทางปฏิบัติยังคงมีความเป็นอิสระสูง การเข้ามาจัดระเบียบใหม่ของรัฐสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยระบบเทศาภิบาล และการแต่งตั้งข้าหลวงจากส่วนกลาง...

ภาพฝันที่ถูกล้อม อนาคตข้อท้าทายกระจายอำนาจในภาคเหนือ

เกือบ 2 ปีล่วงผ่าน การอ่าน “ประกาศคณะราษฎร” ในกิจกรรม “แห่ไม้ก้ำประชาธิปไตยปักหมุดกระจายอำนาจ” โดย “คณะก่อการล้านนาใหม่” เมื่อ 24 มิถุนายน 2566 เป็นเหตุให้ยังมีผู้ถูกดำเนินคดีจากการอ่านคำประกาศดังกล่าว กิจกรรมแห่ไม้ก้ำฯ เริ่มต้นที่หน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนจะเคลื่อนขบวนบรรทุกไม้ค้ำสะหรีซึ่งเป็นประเพณีล้านนาเดิมที่ผู้คนเอาไม้ง่ามไปค้ำที่ต้นโพธิ์ในวัดเพื่อสื่อถึงการค้ำจุนพุทธศาสนา...

ธิกานต์ ศรีนารา: มอง ‘คณะราษฎร’ มุมกลับ กับ “การวิพากษ์” ที่หายไป

เรื่อง: ปรัชญา ไชยแก้ว "คือด้านหนึ่ง 2475 มันสร้างแรงบันดาลใจทางการเมืองให้กับเยาวชน มีคุณูปการ แต่ว่ามันต้องมีด้านวิพากษ์ด้วย วิพากษ์มันหน่อย คือด้านที่วิพากษ์มันหายไปในสังคมไทย" ผ่านพ้นมาร่วมเดือนแล้วสำหรับวันครบรอบ 92 ปี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ที่เป็นหมุดหมายและสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ถึงแม้ในปี...

ขยายภาพ ‘2475’ นอกพระนคร ส่องเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ‘2476’ ระหว่างเจ้านายและข้าราชการในล้านนา

เรื่อง: ปวีณา หมู่อุบล ในวันที่ 24 มิถุนายนของทุกปี บนหน้าสื่อโซเชียลมีเดียของประชาชนภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างเรา ๆ ก็คงจะมีบทความประวัติศาตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ขนาดสั้นบ้างยาวบ้างแสดงขึ้นมาให้ได้อ่านกันไม่มากก็น้อย  แต่บทความเหล่านั้นโดยส่วนมากก็คงจะเป็นลำดับเหตุการณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเรื่องราวของบุคคลสำคัญผู้มีบทบาทเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นต้นว่า พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว...

รวมภาพงานฉลองรัฐธรรมนูญจังหวัดลำพูน

ภาพ:หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ เชียงใหม่ เมื่อครั้งปฏิวัติสยามในปี 2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย คณะราษฎรเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะปลูกฝังอุดมการณ์ประชาธิปไตยให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อรักษาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคง  งานฉลองรัฐธรรมนูญจึงเกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองและเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตยไปในตัว งานฉลองรัฐธรรมนูญไม่เพียงจัดขึ้นในกรุงเทพฯเท่านั้นแต่มีในจังหวัดอื่นๆ ด้วย ซึ่งภาคเหนือก็มีงานฉลองรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน จะเห็นได้จากภาพงานฉลองรัฐธรรมนูญที่จังหวัดลำพูนที่มีทั้งการเดินขบวนฉลองรัฐธรรมนูญ การจัดซุ้ม และงานเลี้ยงรื่นเริง  งานฉลองรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงเมื่อปี 2490 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายหลังสงครามโลกและการปฏิวัติโดยคณะรัฐประหารนำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณ

ตามรอยมรดกคณะราษฎร (บางส่วน) ในภาคเหนือ​

ตามรอยมรดกคณะราษฎร (บางส่วน) ในภาคเหนือ​