พฤษภาคม 21, 2024

    จำนวนต้นฉำฉา-สันกำแพงส่งท้ายปี 2566 พร้อมแนวทางฟื้นฟูดูแลในปีต่อไป

    Share

    กราฟิก: นราธิป  มีบุตร และทักษ์ดนัย เกตุสุวรรณ /Youth Teller

    ต้นฉำฉา (จามจุรี) บนถนนสันกำแพงสายเก่าสาย 1006 ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีความพยายามของเครือข่ายชาวบ้าน (กลุ่มอนุรักษ์มรดกสันกำแพง) ที่เป็นผู้ริเริ่มการอนุรักษ์ฉำฉาเพราะเห็นความสำคัญของความสวยงาม และความร่มรื่นของต้นฉำฉา  ร่วมกับภาคประชาสังคมทั้งหน่วยงานภาครัฐ  องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้ร่วมกันผลักดันให้มีการดูแลรักษาและฟื้นฟูฉำฉาอย่างถูกวิธี และรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนน

    โดยล่าสุดปี 2566  อ.บรรจง  สมบูรณ์ชัย  นักวิชาการหมอต้นไม้จาก คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้พานักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้   และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ตัวแทนชุมชน  และอาสาสมัครผู้สนใจทั่วไปมาร่วมสำรวจต้นฉำฉาบนถนนสันกำแพงอีกครั้ง  หลังจากที่เคยสำรวจไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน   เพื่อที่จะนำเสนอต่อ คณะกรรมการอนุรักษ์จามจุรี ที่แต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เดือนธันวาคม 2565  ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐส่วนต่าง ๆ  อาทิ แขวงทางหลวงชนบทที่ 2  สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มูลนิธิสื่อประชาธรรม  ชุมชนหกโหม้งโหล่งผญ๋า  โดยมีนายอำเภอสันกำแพงเป็นประธาน

    ทั้งนี้เพื่อให้มีการวางแผนฟื้นฟูฉำฉาอย่างถูกวิธี เพื่อสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ถนน และทำให้เกิดความร่มรื่น สวยงามเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของสันกำแพงในด้านการท่องเที่ยว พัฒนาเศรษฐกิจของสันกำแพง

    จำนวนต้นฉำฉา-สันกำแพงส่งท้ายปี 2566 พร้อมแนวทางฟื้นฟูดูแลในปีต่อไป

    https://youtu.be/4YqVVcGCoL0?si=zKP8kkn8xVOkkiX_


    บทความนี้เป็นผลงานผู้เข้าร่วมโครงการ Activist Journalist ที่จัดขึ้นโดยมูลนิธิสื่อประชาธรรม (Prachatham Media Foundation) และสำนักข่าวลานเน้อ (LANNER News Media) โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Citizen Accountability for Local governance Media (CALM)

    Related

    60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

    เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง...

    ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

    เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน...

    “ฝันเราไม่เคยจนตรอก” เชียงใหม่ส่งพลังบอลเกงกิ สมัครเพื่อโหวต สว. เปลี่ยนอนาคตประเทศ

    19 พฤษภาคม 2567 เครือข่าย Senate67 จัดกิจกรรม สมัครเพื่อเปลี่ยน: จังหวะนี้มีแต่พี่ที่ทำได้ บริเวณประตูท่าแพ...