19 พฤศจิกายน 2517 ครบรอบ 49 ปีของการก่อตั้ง “สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย (สชท.)” ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดจากคำขวัญ “ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ” เพื่อทำให้สิทธิของชาวนาไทยได้รับการคุ้มครอง และเป็นการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมและประชาธิปไตย ที่นอกจากนี้ได้รวมกันเป็น “ขบวนการสามประสาน” ร่วมกับนิสิตนักศึกษา ปัญญาชน และกรรมกรเพื่อการประท้วงและเรียกร้องสิทธิของชาวนาชาวไร่ในประเทศไทย
จากชัยชนะของกลุ่มนักศึกษาและประชาชนหลังการต่อสู้อย่างดุเดือดในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เหตุการณ์นี้คือประกายความหวังที่ส่งให้ให้กลุ่มชาวนาชาวไร่ ที่ในตอนนั้นคือกลุ่มคน 80% ของประชากรทั้งหมด ตัดสินใจลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิของชนชั้นชาวนาที่กำลังเผชิญกับความยากลำบากเนื่องจากขาดที่ดินทำกิน ถูกเจ้าที่ดินและนายทุนขูดรีดฉ้อโกง
การชุมนุมครั้งแรกในกรุงเทพฯของกลุ่มคนที่เรียกได้ว่าเป็น “สันหลังของชาติ” เกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม 2517 เพื่อเรียกร้องสิทธิในการขายข้าวในตลาดโลกและประกันราคาข้าวแก่ชาวนา แต่ทางรัฐบาลของสัญญา ธรรมศักดิ์ ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชาวนาได้อย่างแท้จริงสักที ทำให้การชุมนุมยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องอีกหลายครั้ง ทั้งในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน จนในวันที่ 9 สิงหาคม 2517 กลุ่มชาวนาได้ประกาศ “นี่จะเป็นครั้งสุดท้ายของการชุมนุม” ย้ำจุดยืนข้อเรียกร้องให้แก้ไขปัญหา มิเช่นนั้น พวกเขาจะคืนบัตรประชาชน ลาออกจากการเป็นคนไทย และประกาศตั้งเขตปลดปล่อยตนเองโดยไม่ให้รัฐบาลเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง แม้จะมีความผิดฐานกบฏก็ตาม
หลังจากการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมที่ต่อมา พวกเขาร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2517 ซึ่งมีคำขวัญว่า “ที่ดินต้องเป็นของผู้ถือคันไถ” และมี “ใช่ วังตะกู” ชาวนาจากจังหวัดพิษณุโลกเป็นประธานคนแรก เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ร่วมกันระหว่างชาวนา นิสิตนักศึกษา ปัญญาชน และกรรมกรในนาม “ขบวนการสามประสาน”
การประท้วงและการต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ได้เชื่อมโยงกับศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย สหพันธ์นักศึกษาเสรี พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งสร้างแรงกดดันต่ออำนาจรัฐและทุน สร้างแรงกระเพื่อมต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจที่มีการกดขี่ชาวนาชาวไร่ และการรวมศูนย์อำนาจในที่ดิน ผ่านการผลักดันพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ 2517 และพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 อันเป็นชนวนแห่งการเผชิญหน้ากับกลุ่มเจ้าที่ดินรายใหญ่ กลุ่มอิทธิพลทางการเมืองและนายทุนท้องถิ่น
การต่อสู้ของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง และการแสดงความต่อต้านที่แข็งแกร่งได้ผลให้มีการตอบโต้ที่มีความรุนแรง เช่น การลอบสังหารชาวนาโดย “ขบวนการขวาพิฆาตซ้าย” ซึ่งผลให้ชาวนาถูกสังหารถึงจำนวน 46 ราย และเป็นจุดเริ่มต้นของการมีความวุ่นวายในสังคม ทั้งฝ่ายการเมืองและกลุ่มอนุรักษนิยม ส่งผลให้เกิดการล้อมปราบในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 และการยุติบทบาทของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่หลังจากเหตุการณ์ลอบสังหาร และเป็นจุดสิ้นสุดของเกมทายของ จำรัส ม่วงยาม ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2522
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ริเริ่ม “โครงการบันทึกประวัติศาสตร์สหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย” ได้กล่าวว่า “การต่อสู้เรื่องค่าเช่านาทำให้เกิดการเผชิญหน้าโดยตรงกับนายทุนเจ้าของที่ดิน ซึ่งร่วมมือกับกลไกรัฐท้องถิ่น ในขณะเดียวกันภาคนโยบายส่วนบนก็ดูเหมือนกับหลิ่วตาให้ความรุนแรง หรือการไม่แก้ไขปัญหาเหล่านั้นแม้ว่าจะมีพระราชบัญญัติค่าเช่านาแล้วก็ตาม แต่คิดว่าปัญหาใจกลางคือการรับไม่ได้ต่อการลุกขึ้นสู้ของชาวนาชาวไร่”
แนวคิดในการรำลึกเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโดยคนรุ่นใหม่และมีการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง กระแสดังกล่าวก็ได้ส่งผลให้มีงานวิชาการที่เกี่ยวข้องมากขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ และโครงการบันทึก 6 ตุลา นอกจากนี้ หนังสือบันทึกที่มีชีวิตอย่างคนในเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่เข้าสู่ช่วงอายุปลดเกษียณในปัจจุบันก็มีโอกาสได้มาร่วมรำลึก และร่วมกิจกรรมต่างๆมากขึ้น
มีการนำเสนอเรื่องของ “คนเดือนตุลา” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้ในการอ้างอิงนิสิตและนักศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น ที่ปัจจุบันกลายเป็นบุคคลสำคัญในหลายวงการ เช่น นักวิชาการ รัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน แต่แทบจะไม่ได้หมายความครอบคลุมกลุ่มชาวนาชาวไร่ในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นการพูดถึงแต่เพียงเหตุการณ์เดือนตุลา ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนกลางหรือกรุงเทพฯ ลืมเลือนเดือนตุลาที่มาจากภูมิภาคิอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ขวัญชีวัน บัวแดง ในงานเสวนาวาระครบรอบ 50 ปี ขบวนการ 14 ตุลา ได้ให้ความเห็นถึงความสำคัญในการรำลึกถึงและความเข้าใจในขบวนการชาวนาชาวไร่ และการตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ในในประเทศไทยในปี พ.ศ.2517 ไว้ว่า “เมื่อชาวไร่ชาวนาและสามัญชนทั้งหลายไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคนเดือนตุลา เรื่องการลอบสังหารผู้นำสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ 30 กว่าคนก็ไม่มีการรื้อฟื้นหรือรำลึกใดๆ อีกทั้งยังไม่มีการสอบสวน ซึ่งผู้นำสหพันธ์ชาวนาชาวไร่คือกลุ่มที่ท้าทายอำนาจ และเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ชาวนา หากไม่มีการพูดถึงเรื่องราวเหล่านี้ ก็จะไม่มีความยุติธรรมแก่พวกเขา”
อ้างอิง
ทีมข่าวที่ประกอบไปด้วยผู้คนหลากหลาย บ้างก็มาจากทะเล บ้างก็มาจากผู้เขา แต่สุดท้ายก็ลงเอยที่ภาคเหนืออยู่ที่ Lanner นี่แหละ...