คำสำคัญ: ตะวันแบม

สุ้มเสียงในวันที่ยังไม่มีชื่อเรียกLecture performance โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และลานยิ้มการละคร

“เวลาที่เราพูดถึงอำนาจตุลาการ เราจะคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย ในแต่ละประเทศก็มีการแบ่งสัดส่วนที่แตกต่างกัน แต่ประเด็นสำคัญคือ ความคิดนี้เพิ่งจะเข้ามาในไทยได้ไม่นานในสังคมไทย เวลาที่พูดถึงศาลหรือฝ่ายบริหาร ทั้งหมดนี้มันจะคานอำนาจกันเอง ซึ่งเป็นความคิดที่ใหม่และไม่อยู่ในความคิดของคนไทย คนส่วนมากคิดว่าอำนาจนั้นต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน...

ยืนหยุดทรราช สัปดาห์ที่ 42

เมื่อวาน (11 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 17.00 – 18.12 น....

‘ส่งสาสน์ ส่งศาล’ เขียนโปสการ์ดถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

7 กุมภาพันธ์ 2566 กลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดกิจกรรม ‘ส่งสาสน์ ส่งศาล’ เพื่อร่วมกันเขียนโปสการ์ดเพื่อส่งข้อความถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม และร่วมสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของตะวัน-แบม ที่มีต่อกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่เวลา 11.00 น. - 15.00 น. บริเวณหน้าศูนย์อาหาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งในขณะจัดกิจกรรมที่บริเวณหน้าศูนย์อาหารก็มีเจ้าหน้าที่ของทางมหาวิทยาลัยเข้ามาพูดคุยเพื่อขอให้ย้ายพื้นที่ในการทำกิจกรรม เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตใช้สถานที่ จึงไม่สามารถมาตั้งโต๊ะทำกิจกรรมได้ โดยทางนักศึกษาก็ยืนยันที่จะตั้งต่อตามกำหนดเวลาที่ได้ประกาศออกไปแล้ว ต่อมาเวลา 17.00 น. กลุ่มนักศึกษาได้ย้ายโต๊ะและอุปกรณ์มาที่บริเวณอ่างแก้ว และจัดกิจกรรมจนถึงเวลา 19.00 น.  หนึ่งในผู้ร่วมจัดกิจกรรมบอกกับผู้สื่อข่าว LANNER ว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่สืบเนื่องจากกิจกรรมวาดหวัง ที่จัดขึ้นที่ลานท่าแพ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมาแล้วนำภาพที่ได้จากกิจกรรมมาจัดทำเป็นโปสการ์ด เพื่อให้คนที่อยากส่งข้อความเข้ามาเขียน เพื่อที่เราจะได้ส่งข้อความของประชาชนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม และรับฟังเสียงประชาชนบ้าง ถึงแม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบัน ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลให้ประกัน ตะวัน โดยมีเงื่อนไข 1 เดือน และ แบม ไม่มีกำหนดเงื่อนไข โดยผอ.รพ.ธรรมศาสตร์ได้เป็นคนยื่นขอประกัน โดยระบุสุขภาพทั้งสองอยู่ในภาวะวิกฤต ทั้งนี้ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ประกันตัว สิทธิโชค โดยระบุไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม แม้สิทธิโชคจะประท้วงอดอาหารเข้าวันที่ 22 แล้ว และศาลอาญาก็ยังไม่ให้ประกันตัว 8 ผู้ต้องขังคดีการเมืองอีกเช่นกัน แม้ตะวัน-แบม จะได้รับการประกันตัวแล้ว แต่ทางกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็ยืนยันที่จะทำกิจกรรมนี้ต่อไปเพราะว่า ก็ยังคงมีเพื่อนคนอื่น ๆ ที่ยังคงไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมอยู่  ด้านของกลุ่มพลเมืองเสมอกัน We, The People ก็จัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชนัดพิเศษตลอดสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 7 - 11 กุมภาพันธ์ ณ ลานข่วงประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้ตะวันและแบมในช่วงวิกฤตชีวิต รวมไปถึงการสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ประกันตัวผู้ต้องขังทางการเมืองทุกคน โดยยืนตั้งแต่เวลา 17.00 น. -...

การอดอาหารประท้วงของตะวันและแบมเกี่ยวกับเราอย่างไร

เรื่อง: เล่าฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล น้องตะวันกับน้องแบมถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เพียงเพราะผู้ใหญ่ไม่ชอบใจ ก่อนหน้านี้ได้รับการประกันตัวออกมาสู้คดี แต่เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 ทั้งสองคนได้ตัดสินใจถอนประกันตัวเองแล้วกลับไปอยู่ในเรือนจำ พร้อมประกาศอดอาหารประท้วงและยื่นข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ศาลต้องไม่ถูกแทรกแซง 2. ยุติการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกต่อสู้เรียกร้องทางการเมือง 3. ทุกพรรคการเมืองต้องเสนอนโยบายยกเลิกมาตรา 112 และ 116 ประมวลกฎหมายอาญา การอดข้าวประท้วงของเด็กผู้หญิง 2 คน เกี่ยวข้องกับคนธรรมดาสามัญชนอย่างเรา ๆ ยังไง ถ้าพูดโยงมาให้ไกล้เคียงกับคนธรรมดาอย่างเรา ๆ มากที่สุด คือ สิทธิในการประกันตัวเมื่อถูกดำเนินคดีอาญา หลายคนอาจจะคิดว่าการถูกดำเนินคดีอาญาเป็นเรื่องไกลตัว ในฐานะที่เป็นทนายความทุกคนที่มาหาผมก็ล้วนคิดอย่างนี้ แต่แล้วพวกเขาก็ถูกจับกุมดำเนินคดีอาญา หลายคนไม่มีเงินประกันตัวออกมา หลายคนศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว หลายคนต้องกู้หนี้ยืมสินจำนวนมากเพื่อเอามาประกันตัว เรื่องปัญหาการประกันตัวในชั้นศาลและการแทรกแซงผู้พิพากษา เป็นปัญหาที่สำคัญมากสำหรับคนธรรมดาที่ถูกดำเนินคดีอาญา คดีหลายประเภทศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวหรือเรียกหลักทรัพย์ประกันตัวสูงมาก แม้ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะเพียงถูกกล่าวหาโดยยังไม่ได้พิสูจน์ถูกผิดเลย ศาลก็สั่งขังไว้ก่อน ซึ่งมีผลทำให้ได้รับความเสียหายและเสียเปรียบในการต่อสู้คดีเป็นอย่างมาก เมื่อไม่กี่วันมานี้มีคนโทรปรึกษาคดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาว่าพยายามฆ่าตำรวจ โดยเล่าว่าถูกตำรวจขับรถชนแล้วยิงได้รับบาดเจ็บแล้วยัดข้อหา แต่ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยอ้างว่าถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดร้ายแรง ทำให้ชาวบ้านถูกขังทันทีโดยยังไม่รู้ว่าใครถูกผิด  อีกเรื่องคือการแทรกแซงผู้พิพากษาที่ทำหน้าที่พิจารณาคดี หรือที่เรียกว่าคดีนโยบาย เช่น คดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ คดีของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คดียาเสพติด เป็นต้น ซึ่งคดีเหล่านี้ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยมักเป็นชาวบ้านคนธรรมดาและส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ถูกสังคมมองด้วยอคติ ซึ่งการตัดสินคดีเหล่านี้จะมีนโยบายหรือแนวทางการติดสินที่มุ่งสั่งจำคุก แม้จะถูกตัดสินจำคุกเพียงเล็กน้อยก็ตามศาลก็มีแนวโน้มที่จะไม่รอลงอาญา โดยเฉพาะคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ มักเป็นเรื่องป่าทับคนและมีคนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก คนที่ดำเนินคดีเป็นคนที่อยู่มาก่อน แต่ถูกทำให้ผิดกฎหมาย เวลาถูกดำเนินคดีก็มีนโยบายให้ลงโทษหนัก สำหรับข้อเรียกร้องอีก 2 ข้อ ล้วนเป็นความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยดีขึ้น  ผมคิดว่าในโอกาสนี้คนธรรมดาสามัญชนอย่างเรา ๆ จะต้องหันมาสนใจและร่วมกันสนับสนุนข้อเรียกร้องของตะวันและแบมอย่างจริงจริง จนถึงตอนนี้ (วันที่ 7 กุมภาพันธุ์ 2566) ท้องสองคนก็อดอาหารประท้วงมาเป็นวันที่ 20 แล้ว และได้ข่าวว่าอาการของทั้งสองคนกำลังทรุดลงอย่างน่าเป็นห่วง

ยืนหยุดทรราชนัดพิเศษตะวัน–แบม ยังไหวยันยืนรอคำสั่งศาล

6 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ลานข่วงประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่ กลุ่มพลเมืองเสมอกัน We, The People จัดกิจกรรมยืนหยุดทรราชนัดพิเศษ โดยยืนตั้งแต่เวลา 17.00 น. - 18.12 น. เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที สืบเนื่องจากสถานการณ์ที่ตะวัน-แบมและบาส อดอาหารและน้ำเพื่อเรียกร้องสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องหาทางการเมืองที่ถูกคุมขังและปฏิรูประบบยุติธรรมเป็นวันที่ 19 แล้ว โดยการยืนหยุดขังในครั้งนี้เป็นนัดพิเศษเพื่อให้กำลังใจตะวัน-แบม รวมถึงสิทธิโชคและบัสบาส บาสบัสที่กำลังอดอาหารอยู่รวมถึงนักโทษทางการเมืองที่ถูกละเมิดสิทธิการประกันตัวทุกคน พร้อมทั้งยังมีการ Performance จากผู้ที่มาร่วมยืนในครั้งนี้อีกด้วย อัพเดทอาการตะวันแบม “หนูยังไหวอยู่” 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 11.00 น. นายกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยผู้ปกครอง นางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ นางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน หน้าหอพักผู้ป่วยพิเศษยูงทอง 2 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ นายกฤษฎางค์ กล่าวว่า เมื่อวานนี้ (5 ก.พ.) ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้มีการโทรหาผู้ปกครองของทานตะวันและอรวรรณ เพื่อเดินทางมาเยี่ยมในวันนี้ เนื่องจากอาการทั้งสองน่าวิตก โดย ทาง รพ. ได้แถลงอาการล่าสุดของทั้งสอง ไปเมื่อช่วงเช้าโดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์   นายกฤษฎางค์ กล่าวว่า ตนได้เข้าเยี่ยมทานตะวันและแบม อาการของน้องทั้งสองคน ขอนอนคุยขณะปรึกษาคดีกัน มีอาการพูดช้า เวียนหัวตลอดเวลา โดยเป็นสาเหตุจากอาการน้ำตาลตก ซึ่งทั้งสองปฏิเสธการให้น้ำเกลือ วิตามิน แต่ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้มีการเตรียมการไว้ตลอดพร้อมใช้ ด้านการใช้ชีวิตปกติเปลี่ยนแปลงไป เช่นการลุกเดินลำบากมาก มีเลือดออกตามไรฟัน อาการปวดท้อง แสบท้องโดยรายละเอียดได้เป็นไปตามที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์แถลง ซึ่งคาดว่าอาการของทั้งสองคนลงไปอีกแต่ก็จะเร็วมากเป็นช่วงเวลาที่เหลืออยู่ไม่มากนัก  นายกฤษฎางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อช่วงเช้าตนได้เข้าไปพบผู้บริหารศาลอาญา และขอความกรุณา สำหรับข้อเรียกร้องของทานตะวัน และแบมในเรื่องของสิทธิการประกันตัว กรณีกลุ่มทะลุแก๊ส วันนี้ทางทนายความได้ยื่นประกันตัว ตนก็นำเรียนผู้บริหารศาลอาญาว่า จริงๆไม่ใช่วัตถุระเบิดประเภทร้ายแรง ซึ่งกลุ่มทะลุแก๊สถูกคุมขังมานานกว่า 300 วัน คดีของแต่ละคนยังไม่มีการพิจารณาคดี ขอให้ศาลท่านช่วยพิจารณาโดยทนายความได้ยื่นประกันตัวไปแล้ว  โดยอาทิตย์ที่ผ่านมานั้น เก็ท โสภณ เริ่มปรับลดเวลานอนให้น้อยลงเรื่อย ๆ จาก 8 ชั่วโมง เหลือ 5 ชั่วโมงและ 3 ชั่วโมง โดยทนายความผู้เข้าเยี่ยมสังเกตว่าวันนี้เขามีอาการเบลอ คิด พูด และตอบสนองช้ากว่าปกติ “ตนได้ถามนักกิจกรรมทั้งสองรายว่าให้รับการรักษาก่อนได้หรือไม่ เพราะเวลาที่เหลืออยู่อาจจะไม่พอ มันอาจจะเกิดการสูญเสีย โดยตะวันบอกว่า “หนูยังไหวอยู่ ถ้าไม่ไหว หนูจะหลับไปเลย แต่หนูจะรอว่าศาลอาญาจะให้ประกันกลุ่มทะลุแก๊สหรือไม่ โดยทานตะวันจะรอ ขณะนี้ยังไม่ขอรับความช่วยเหลือใดๆ โดยคาดว่าคำสั่งการประกันตัวจะออกภายในวันนี้ ซึ่งทานตะวัน ฝากบอกมวลชนว่า ไม่ต้องเป็นห่วง เขายืนยันจะรอคำสั่งของศาล ถ้าเขาต้องสูญเสียหรือแพ้ ขอให้ทุกคนต่อสู้เพื่อให้สิ่งที่เขาต้องการ” เก็ท-โสภณ และ ต้อม-จตุพล ประกาศอดนอนสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องตะวันแบม รายงานจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า ตั้งแต่พรุ่งนี้ (7 ก.พ.) เวลา 05.00 น. เก็ท โสภณ จะเริ่มประท้วงด้วยการ #อดนอน เพื่อสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้อง พร้อมทั้งส่งเสียงให้ศาลสร้างหลักประกันว่าผู้ต้องขังที่ถูกปล่อยตัวแล้วจะไม่ถูกขังอีก อย่างไรก็ตาม ต้อม-จตุพล ผู้ต้องขังในคดีชุมนุมที่ดินแดง ซึ่งถูกขังมานานเกิน 200 วัน ได้ร่วมทดลองปรับลดเวลานอนกับเก็ทด้วย โดยเขานอนเพียงวันละ 4 ชม. มานาน 3 วันแล้ว โดยในวันนี้ต้อมอาเจียนและมีอาการเบลอ รวมถึงอ่อนเพลียอ่อนน้อยอีกด้วย

ยืนหยุดทรราชสัปดาห์ที่ 41 ก้าวไกลแสดงจุดยืนหนุนข้อเรียกร้อง ตะวัน-แบม

https://youtu.be/0JBkXqyPm8k เมื่อวาน (วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566) เวลา 17.00 – 18.12...

วาดหวัง ส่งกำลังใจ จินตนาการ ความรู้สึกถึงตะวัน-แบม และนักโทษการเมือง

วันนี้ ( 3 กุมภาพันธ์ 2566 ) กลุ่มลานยิ้มการละครได้จัดกิจกรรม “วาด หวัง”...

‘คณะก่อการล้านนาใหม่’ ประกาศเจตนารมณ์สนับสนุนข้อเรียกร้อง ตะวัน-แบม

29 มกราคม 2566 คณะก่อการล้านนาใหม่ ภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม และเครือข่ายประชาชนในภาคเหนือที่ขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่างๆ ได้จัดเวทีสาธารณะ “ปีแห่งความหวังกับก้าวใหม่ของขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนภาคเหนือ” ณ...

ประชาชน น่าน-เพชรบูรณ์ ร่วมยืนหยุดขัง 

วันที่ 25 มกราคม 2566 เครือข่ายนักเรียนนักศึกษา-น่าน จัดกิจกรรม “ยืน-หยุด-ขัง” ณ...

เริ่มแล้ว ยืนหยุดขัง อุตรดิตถ์ อัพเดทอาการตะวันและแบมหลังถูกนำตัวเข้ารักษาใน ร.พ.ธรรมศาสตร์

26 มกราคม 2566 เมื่อวาน (25 มกราคม 2566) กลุ่มเยาวชนอุตรดิตถ์ปลดแอก คณะก้าวหน้าจังหวัดอุตรดิตถ์ และประชาชนในจังหวัดอุตรดิตถ์...

ลำปาง ยืน หยุด ขัง วันที่ 2

25 มกราคม 2566 วันนี้ (25 มกราคม 2566) กลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชน จัดกิจกรรม “ยืน...

เครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยแพร่ ร่วมเคลื่อนไหว ยืนหยุดขัง  สนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องตะวัน-แบม

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2566 กลุ่มเครือข่ายผู้รักประชาธิปไตยแพร่ จัดกิจกรรม “ยืนหยุดขัง 1.12 ชั่วโมง”...

ยืนหยุดขัง ลำปาง สนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องตะวันและแบม

24 มกราคม 2566 วันนี้ (24 มกราคม 2566) กลุ่มพิราบขาวเพื่อมวลชนร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม “ยืนหยุดขัง...

ประชาชน พิษณุโลก-นครสวรรค์ ร่วมยืนหยุดขัง อัพเดตตะวันและแบม ถูกนำตัวส่ง ร.พ.ธรรมศาสตร์ฯ แล้ว

24 มกราคม 2566 วันนี้ (24 มกราคม 2566) ประชาชนพิษณุโลก จัดกิจกรรม ยืน-หยุด-ขัง...

กป.อพช. แถลงเรียกร้องรัฐบาล ตุลาการ และพรรคการเมือง ยอมรับข้อเรียกร้องตะวันและแบม

24 มกราคม 2566 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)...

ยืนหยุดทรราช 1.12 ชั่วโมง นัดพิเศษอ่างแก้ว

นักศึกษากระทำ Performance รอบมช. 23 มกราคม 2566 นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แสดงออกผ่านการ Performance art โดยสวมใส่ชุดนักโทษและมีโซ่คล้องแขนและข้อเท้ากระจายตัวในเวลาไล่เลี่ยกันในหลายพื้นที่ทั่วมหาวิทยาลัยเชียงใหม่...