HIGHLIGHT

เจาะประเด็น

Opinion

60 กว่าปีที่รอคอย ขบวนความหวัง รถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ คุ้มไหมกับที่หวัง?

เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน “เชียงรายจะมีรถไฟแล้ว” ประโยคขายฝันที่ฉันได้ยินตั้งแต่เด็กจนตอนนี้ใกล้จะเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังไม่เคยเห็นรถไฟที่ว่านั้นสักที ด้วยภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ที่ยากลำบากต่อการก่อสร้างและความคุ้มค่าต่อการลงทุน ทำให้เส้นทางรถไฟสายเหนือของไทยสิ้นสุดอยู่เพียงที่ชานชาลาเชียงใหม่มาอย่างยาวนาน  จากทางรถไฟที่เฝ้ารอมาหลายสิบปี ผู้เฒ่าหลายคนล้มหายตายจากไปทั้งที่ยังไม่ได้เห็นแม้ร่องรอย คำบอกเล่าว่าทางรถไฟจะผ่านบ้านเราแล้ว ประโยคดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นจริง หลังสถานที่ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เริ่มการก่อสร้าง เปิดที่ดิน พร้อมเกรดปรับพื้นที่โครงการ คู่ขนานกับการเวนคืนที่ดินในขอบเขตโครงการ   เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เส้นทางรถไฟแห่งอนาคต โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาระบบรางภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย...

ไกลศูนย์กลาง: กลับไปอ่าน “แก้วหยดเดียว” ของศรีดาวเรือง: การตั้งคำถามต่อการไม่มีสวัสดิการของแรงงานไทยเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว

เรื่อง: ป.ละม้ายสัน เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีวันสำคัญของสามัญชนคนธรรมดาที่น้อยนักจะปรากฏได้ในปฏิทิน นั่นคือวันแรงงานสากล หรือเมย์เดย์ (May Day) ผู้เขียนจึงนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งที่ได้ถ่ายทอดชีวิตและน้ำเสียงของแรงงานจากวรรณกรรม แม้ว่าวรรณกรรมชิ้นนี้จะเก่าไปสักหน่อย แต่ก็ยังคงนำพาให้ได้เห็นร่องรอยเคล้าลางบางอย่างที่แช่แข็งและไปไม่ถึงไหนจวบจนปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้สิ่งที่เป็นหลักประกันต่อชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะเหล่าแรงงานที่แทบไม่มีหลักประกันใด ๆ ในชีวิต นั่นก็คือการตั้งคำถามต่อ ‘สวัสดิการของแรงงาน’ โดยประเด็นนี้มักเป็นเรื่องที่เราพูดคุยอยู่กันอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ผู้เขียนจึงอยากร่วมสนทนากับเขาบ้างผ่านการ “อ่าน” และตีความวรรณกรรมไทยที่มีอายุมากว่า 50...

ชุมชนริมทางรถไฟบุญร่มไทร กระจกสะท้อนความเลื่อมล้ำผ่านความเป็นเมือง

เรื่องและภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี ท่ามกลางตึกสูงตั้งตะหง่าน และความวุ่นวายในเมืองหลวง  การขยายตัวของเมืองและการพัฒนาเมือง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากมาย แต่นั่นก็ตามมาซึ่งปัญหาทางด้านสังคมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความเลื่อมล้ำทางรายได้ ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดี เมื่อความเป็นเมืองได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” จึงเป็นสิ่งที่รัฐพยายามจะพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ระดับประเทศ และต้องการไล่รื้อพื้นที่ของประชาชน รวมถึงชุมชนริมทางรถไฟ บุญร่มไทรแห่งนี้ โดยไม่สนถึงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนแม้แต่น้อย...

INTERVIEW

“ชาติพันธุ์ก็คือคน” ความฝันกะเบอะดิน

เรื่อง: นลินี ค้ากำยาน ภาพ: ธันยชนก อินทะรังษี “เราเชื่อว่าถ้าชุมชนเข้มแข็ง มีความฝันร่วมกันและยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่เอาเหมือง เขาก็ไม่สามารถทำอะไรได้อยู่แล้วเพราะเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ เราโดนพูดอยู่เสมอว่าเราสู้เขาไม่ได้หรอก เขาเป็นคนใหญ่คนโต มีเงินมีอำนาจ ที่เขาพูดมามันจริงหมดเลย แต่เราก็เป็นคนที่มีสิทธิ์เหมือนกัน ถึงแม้เราไม่มีอะไร เราก็เป็นคนหนึ่งที่อาศัยอยู่พื้นที่นี้ตั้งแต่เกิด ถ้าเราสามารถปกป้องพื้นที่ตรงนี้ได้ เราก็จะทำ” พรชิตา ฟ้าประทานไพร หรือ ดวง เยาวชนผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองกะเหรี่ยงโปว์และการจัดการทรัพยากร จากหมู่บ้านกะเบอะดิน...

Lanner Joy : จากใจผู้สร้างสเปซศิลปะ SOME SPACE ที่อยากเห็นเด็กศิลป์รุ่นใหม่ทำงานที่รักได้โดยไม่ต้องย้ายไปเมืองอื่น

เรื่องและภาพ: ศุภกานต์ วรินทร์ปราโมทย์ เป็นเวลานานแล้วที่ไม่ได้มาเยือนชุมชนควรค่าม้า ฐานทัพของ Addict Art Studio สตูดิโอที่ทำให้เทศกาลศิลปะชุมชนในเชียงใหม่กลายเป็นหมุดหมายประจำปีของใครหลายคน วันนี้เราได้กลับมาอีกครั้งเพื่อพบกับเพื่อนอีกคนหนึ่ง ที่เพิ่งรู้จักกันได้ไม่นานผ่านงาน Artist Residency เธอคนนี้เพิ่งย้ายมาอยู่เชียงใหม่ได้เพียงสามปีเท่านั้น แต่ทว่ากลับสร้างปรากฎการณ์ไว้มากมายในซีนศิลปะทดลอง  วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับศิลปินและคิวเรเตอร์ “ไอซ์” วิรินสิรี ชมเชย ผู้ก่อตั้ง ผู้เป็นทุกอย่างของ SOME SPACE...

แผน ‘NAP’ เครื่องมือด้านสิทธิมนุษยชนดักจับฝุ่นพิษข้ามแดน

เรื่อง: กองบรรณาธิการ ในช่วงที่หลายพื้นที่ในประเทศไทยเผชิญกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน หลายคนมักโฟกัสไปที่ฝุ่นจากการเผาไหม้ตอข้าวโพด แต่แท้จริงแล้วยังมีอีกหนึ่งแหล่งกำเนิดฝุ่นพิษที่น่ากังวลไม่แพ้กัน นั่นคือฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม อาจกล่าวได้ว่าฝุ่นพิษจากไร่ข้าวโพดข้ามแดนเกิดขึ้นเป็นฤดู แต่ฝุ่นภาคอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเกือบทั้ง 365 วัน ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่หลากหลาย ทั้งการเผาไหม้เชื้อเพลิง การหลอมโลหะ การพ่นสี การผลิตปูนซีเมนต์ ฝุ่นเหล่านี้ไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของประชาชนในบริเวณใกล้เคียงโรงงานแต่ยังสามารถฟุ้งกระจายไปไกล ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนในวงกว้าง ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรมมักประกอบไปด้วยสารพิษอันตรายหลายชนิด เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5...

Video & Podcast

spot_img

ศิลปะ-ศิลปิน

‘เพ็ญสุภา’ ตั้งข้อสงสัยพบ ‘พระพุทธรูปริมโขง’ เสนอจับมือค้นคว้าอย่างจริงจัง

จากกรณีที่มีการค้นพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่และวัตถุโบราณหลายชิ้น บริเวณเกาะกลางดอนผึ้งคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตรงข้าม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ล่าสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ อดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ได้ตั้งข้อสังเกตผ่าน Facebook ส่วนตัว ในการขุดค้นพบดังกล่าวไว้ดังนี้ 1. เนื้อพระพุทธรูปสำริด (องค์ที่มีขนาดใหญ่มาก จึงเรียกว่า พระเจ้าตนหลวง) เต็มไปด้วยคราบสนิมจับ กระจายทั่วทุกจุด มีรอยผุกร่อนแตกเป็นร่อง เป็นแผ่น หลายช่วง ซึ่งมองในระยะไกลจะไม่เห็น ต้องใช้กล้องเลนส์ซูมจึงจะเห็นชัด 2. วิธีการหล่อองค์พระใช้ “เดือย” รูปคล้ายนาฬิกาทรายซึ่งล้านนาเรียกว่า “แสว้” ปรากฏอยู่หลายจุด เนื่องจากเราถูกกำหนดพื้นที่ให้ถ่ายภาพได้ในระยะไกลเท่านั้น จึงมิอาจส่องรายละเอียดที่อยากดูได้ทั่วทุกจุด โดยเฉพาะด้านหลังที่ปล้องพระศอ มีเชือกกั้นไม่ให้เข้าไปชมด้านข้าง และด้านหลัง  3. ประเด็นการพบพระพุทธรูปจำนวนมหาศาลขนาดใหญ่น้อยคละกันหลายร้อยองค์ ที่ทยอยขุดพบเรื่อยมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษนี้ มิใช่เรื่องแปลก เพราะดินแดนบริเวณนี้เคยมีอารยธรรมรุ่งเรืองมาก่อน  4. โบราณวัตถุทั้งหมดมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะยุคล้านนารุ่งเรืองคือราว 500 ปีที่ผ่านมา มิใช่ศิลปะยุคสุวรรณโคมคำ ซึ่งเป็นเรื่องราวในตำนานหลายพันปี เพราะยุคนั้นยังไม่มีการสร้างพุทธศิลปะ แต่ด้วยเหตุที่สถานที่ของเมืองเชียงแสนบางส่วนได้สร้างทับซ้อนดินแดนเก่า ตามที่บางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเมืองสุวรรณโคมคำมาก่อนนั่นเอง จึงทำให้ผู้ที่เชื่อในตำนานสุวรรณโคมคำจึงเข้าใจว่าวัตถุที่ขุดพบทั้งหมดมีอายุหลายพันปี 5. พบร่องรอยหลักฐานด้านโบราณวัตถุ โบราณสถานสมัยล้านนา-เชียงแสน ร่วมสมัยกับองค์พระเจ้าตนหลวง จำนวนมากมายในเมืองต้นผึ้ง เก็บรักษาไว้ที่...

กาดหมั้ว

‘เพ็ญสุภา’ ตั้งข้อสงสัยพบ ‘พระพุทธรูปริมโขง’ เสนอจับมือค้นคว้าอย่างจริงจัง

จากกรณีที่มีการค้นพบพระพุทธรูปขนาดใหญ่และวัตถุโบราณหลายชิ้น บริเวณเกาะกลางดอนผึ้งคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ฝั่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตรงข้าม อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา ล่าสุดวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ อดีตหัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ได้ตั้งข้อสังเกตผ่าน Facebook ส่วนตัว ในการขุดค้นพบดังกล่าวไว้ดังนี้ 1. เนื้อพระพุทธรูปสำริด (องค์ที่มีขนาดใหญ่มาก จึงเรียกว่า พระเจ้าตนหลวง) เต็มไปด้วยคราบสนิมจับ กระจายทั่วทุกจุด มีรอยผุกร่อนแตกเป็นร่อง เป็นแผ่น หลายช่วง ซึ่งมองในระยะไกลจะไม่เห็น ต้องใช้กล้องเลนส์ซูมจึงจะเห็นชัด 2. วิธีการหล่อองค์พระใช้ “เดือย” รูปคล้ายนาฬิกาทรายซึ่งล้านนาเรียกว่า “แสว้” ปรากฏอยู่หลายจุด เนื่องจากเราถูกกำหนดพื้นที่ให้ถ่ายภาพได้ในระยะไกลเท่านั้น จึงมิอาจส่องรายละเอียดที่อยากดูได้ทั่วทุกจุด โดยเฉพาะด้านหลังที่ปล้องพระศอ มีเชือกกั้นไม่ให้เข้าไปชมด้านข้าง และด้านหลัง  3. ประเด็นการพบพระพุทธรูปจำนวนมหาศาลขนาดใหญ่น้อยคละกันหลายร้อยองค์ ที่ทยอยขุดพบเรื่อยมาเป็นเวลานานกว่าทศวรรษนี้ มิใช่เรื่องแปลก เพราะดินแดนบริเวณนี้เคยมีอารยธรรมรุ่งเรืองมาก่อน  4. โบราณวัตถุทั้งหมดมีอายุร่วมสมัยกับศิลปะยุคล้านนารุ่งเรืองคือราว 500 ปีที่ผ่านมา มิใช่ศิลปะยุคสุวรรณโคมคำ ซึ่งเป็นเรื่องราวในตำนานหลายพันปี เพราะยุคนั้นยังไม่มีการสร้างพุทธศิลปะ แต่ด้วยเหตุที่สถานที่ของเมืองเชียงแสนบางส่วนได้สร้างทับซ้อนดินแดนเก่า ตามที่บางท่านสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเมืองสุวรรณโคมคำมาก่อนนั่นเอง จึงทำให้ผู้ที่เชื่อในตำนานสุวรรณโคมคำจึงเข้าใจว่าวัตถุที่ขุดพบทั้งหมดมีอายุหลายพันปี 5. พบร่องรอยหลักฐานด้านโบราณวัตถุ โบราณสถานสมัยล้านนา-เชียงแสน ร่วมสมัยกับองค์พระเจ้าตนหลวง จำนวนมากมายในเมืองต้นผึ้ง เก็บรักษาไว้ที่...

คนล้านนา

spot_img

LATEST STORY

TAG CLOUD